Production of instructional media “Aperture in photography” In web forms

จัดทำโดย ยลดา ทองเชื้อ;วีรุทัย อุทัยธรรม;ณัฐพล ชัยสุวรรณ์

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้จัดทำขึ้นตามหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผู้วิจัยได้จัดทำ ปริญญานิพนธ์เรื่อง การผลิตสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียน และหลังการเรียนจากการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ ของกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่1 สาขาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน

ผลการประเมินคุณภาพการผลิตสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าเฉลี่ยด้านภาพรวมของเว็บไซต์ อยู่ในระดับ ดีมาก (?̅=5.00) ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดีมาก (?̅=4.56) ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี (?̅=4.24) และด้านการออกแบบและจัดรูปแบบเว็บไซต์ อยู่ในระดับดี (?̅=4.21)

ผลการประเมินแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผลคะแนนก่อนการเรียน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.53 คะแนน ผลคะแนนหลังการเรียน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.47 คะแนน ซึ่งผลต่างของผลคะแนนหลังการเรียนลบผลคะแนนก่อนการเรียนมีค่าเฉลี่ยของผลคะแนนหลังการเรียนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.93 คะแนน

คำสำคัญ: สื่อการเรียนการสอน, รูรับแสงในการถ่ายภาพ, เว็บไซต์


วัตถุประสงค์งานวิจัย

  1. เพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ โดยใช้ เทคนิค Parallax Scrolling
  2. เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
  3. เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ สำหรับกลุ่มตัวอย่าง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย

  1. ได้สื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ ที่ช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในบทเรียน
  2. ทราบระดับคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์
  3. ทราบผลเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อน และหลังเรียนสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์
  4. เป็นแนวทางในการผลิตสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบเว็บไซต์โดยใช้เทคนิค Parallax Scrolling

ขอบเขตงานวิจัย

  1. ด้านประชากร
    1. ประชากร
      ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่1 สาขาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558
    2. กลุ่มตัวอย่าง
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่1 สาขา เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน
  2. ด้านเนื้อหา
    1. ขนาดรูรับแสงของกล้องถ่ายภาพ
    2. ไดอะเฟรม
    3. เปลี่ยนแปลงหน้ากล้อง (f/stop)

นิยามศัพท์

  1. อินโฟกราฟิก หมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศในลักษณะของข้อมูลและกราฟิกที่อาจจะเป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ ฯลฯ ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน สามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจความหมายของข้อมูลทั้งหมดได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำเสนอมาช่วยขยายความเช้าใจอีก (จงรัก เทศนา. มปป, ออนไลน์)
  2. Parallax Scrolling หมายถึง การเปลี่ยนหน้าของเว็บไซต์ไปตามการเคลื่อนไหวของเมาส์ ไม่ว่าจะเป็นการคลิกลาก การขยับ หรือการลากเมาส์ เป็นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ไปตามการเคลื่อนที่ของเมาส์

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
    จากผลการศึกษาการผลิตสื่อการเรียนการสอนเรื่อง “รูรับแสงในการถ่ายภาพ” ในรูปแบบเว็บไซต์ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้

    1. ควรศึกษาการใช้โปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อในการทำวิจัยครั้งต่อไปเว็บไซต์จะได้มีลูกเล่นที่หลากหลายมากกว่านี้
    2. ควรศึกษาเนื้อหาของข้อมูลในส่วนของเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเว็บไซต์
  2. ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
    1. ควรใส่เสียงดนตรีประกอบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการดึงดูดความสนใจของสื่อ
    2. ควรจัดเนื้อหาในแต่ละหน้าให้มีความเหมาะสมไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป
    3. ควรเพิ่มลูกเล่นในการเคลื่อนที่เมาส์ให้มากกว่านี้
  3. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    1. ควรเพิ่มเสียงบรรยายประกอบ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
    2. ควรใส่ลูกเล่นให้ผู้ชมเกิดความอยากรู้ อยากลองว่าต้องทำอย่างไรต่อไปในการใช้สื่อเว็บไซต์

ผลงานนักศึกษา