THE PRODUCTION OF AUDIO DESCRIPTION FOR VISUALLY IMPAIRED

จัดทำโดย บุญฑริก พลอยศรีไพร;ภูวษา วุฒิพรสิริ และ สุภาสินี แย้มศรีบัว

หลักสูตร เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

สารนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง “ การผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพเพื่อผู้พิการทางสายตา (Audio Description) ”

วิธีการศึกษา ดำเนินการโดยการผลิตภาพยนตร์สั้นที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งด้านภาพและเสียง เรื่อง เศษหนึ่งส่วนสอง ความยาว 7 นาที 37 วินาที เพื่อเข้าสู่กระบวนการทำสื่อเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) นำสื่อภาพยนตร์ที่ได้ไปฉายให้ผู้พิการทางสายตา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ 1 ท่านได้รับชมและประเมินผลความพึงพอใจ แสดงความคิดเห็นต่อสื่อที่นำเสนอ

ผลการศึกษาพบว่า หลังจากที่ได้ทำการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ แล้วนำไปทดลองให้คนตาบอดชมแล้วได้ผลดังนี้ ผู้ชมที่เป็นคนตาบอด มีความต้องการชมภาพยนตร์ที่มีเสียงบรรยายภาพ เนื่องจากคนพิการจะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมกับคนไม่พิการ การบรรยายเสียงของผู้บรรยายจะต้องมีความชัดเจน โดยที่อาจจะใช้การพากย์ด้วย ควรเน้นให้เสียงบรรยากาศทำหน้าที่มากกว่าเสียงผู้บรรยาย ในการศึกษาครั้งนี้เป็นภาพยนตร์สั้นสะท้อนสังคมที่สอดแทรกข้อคิดการทำประโยชน์เพื่อสังคม จึงใช้ผู้บรรยายเสียงบรรยายภาพเป็นผู้หญิง ในการศึกษาครั้งนี้ เลือกใช้การบรรยายเสียงแบบที่ 2 คือ การบรรยายแบบตีความ


วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพให้กับผู้พิการทางการเห็น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถผลิตสื่อเพื่อผู้พิการทางการเห็นได้อย่างมีผลสำเร็จ

ขอบเขตของการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดยการผลิตภาพยนตร์สั้นที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งด้านภาพและเสียง เรื่อง เศษหนึ่งส่วนสอง ความยาว 7 นาที 37 วินาที เพื่อเข้าสู่กระบวนการทำสื่อเสียงบรรยายภาพ (Audio description) นำสื่อภาพยนตร์ที่ได้ไปฉายให้ผู้พิการทางสายตา 2 ทำนและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ 1 ท่าน ได้รับชมและประเมินผลความพึงพอใจ ความคิดเห็นต่อสื่อที่นำเสนอ


สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาเนื่องจากการผลิตภาพยนตร์จะมีวิธีการทำสื่อเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) อยู่ 2 วิธี คือ 1) การบรรยายแบบตรงตัว 2) การบรรยายแบบตีความ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้ศึกษาได้เลือกใช้วิธีการบรรยายแบบตีความ ดังนั้นข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญผลที่ออกมา แม้จะสนับสนุนการบรรยายแบบตรงตัวมากกว่าการบรรยายแบบตีความ แต่ทางคณะผู้จัดทำเห็นพ้องต้องกันว่า เนื่องจากภาพยนตร์นั้นมีความซับซ้อนในเรื่องของแนวคิด จึงเห็นควรว่า แนวทางในการบรรยายครั้งนี้เหมาะสมจะเป็นการบรรยายแบบตีความ หลังจากได้ผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพโดยได้ทำการทดลองให้กับคนตาบอด 2 ท่าน คือ 1) ดร. อิศวรา ศิริรุ่งเรือง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล 2) นายโกเมน บุญโต สำเร็จการศึกษาสาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ชมสื่อเสียงบรรยายภาพที่ได้ปรับแก้ไขจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลนารี เสือโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ

หลังจากที่ได้ทำการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพแล้วนำไปทดลองให้คนตาบอดชมแล้วได้ผลดังนี้

  1. ผู้ชมที่เป็นคนตาบอด มีความต้องการชมภาพยนตร์ที่มีเสียงบรรยายภาพ เนื่องจากคนพิการจะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมกับคนไม่พิการ ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อได้ เพราะ หลายข้อจำกัดที่มีและบนความต้องการที่แท้จริง มีสื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทางการมองเห็นและการได้ยิน เป็นการเปิดโอกาสได้นำข้อมูลข่าวสารนั้นไปใช้พัฒนาตนเองและสังคม
  2. การบรรยายเสียงของผู้บรรยายจะต้องมีความชัดเจน โดยที่อาจจะใช้การพากย์ด้วยน้ำเสียงของผู้บรรยาย เป็นกราฟเส้นตรงและ Speed เท่าเดิม อาจจะทำให้คนฟังรู้สึกเบื่อ เสียงบรรยายเบาอาจจะทำให้คนที่มองไม่เห็นภาพจะนึกไม่ออกถ้าไม่ได้ฟังจากคนพากย์ ต้องทำเสียงบรรยากาศ เก็บรายละเอียดเสียงของแต่ละฉากให้ดี ควรเน้นให้เสียงบรรยากาศทำหน้าที่กว่าเสียงผู้บรรยาย (อ้างอิง : นายโกเมน บุญโต, สัมภาษณ๑ วันที่ 19 มีนาคม 2561)
  3. ผู้ที่บรรยายอาจเป็นเพศหญิงหรือชายก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของภาพยนตร์ (Genres) ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์แอคชั่น หรือรายการที่มีเนื้อหาหนัก ควรให้ผู้บรรยายเป็นเพศชาย แต่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นภาพยนตร์สั้นสะท้อนสังคมที่สอดแทรกข้อคิดทำประโยชน์เพื่อสังคม จึงใช้ผู้บรรยายเสียงบรรยายภาพเป็นผู้หญิง เพศของผู้บรรยายอาจเกี่ยวข้องกับประเภทรายการบางประเภท เช่น รายการเกี่ยวกับแฟชั่นสตรี รายการสำหรับเด็กที่ผู้พิการทางการมองเห็นต้องพึ่งเสียงบรรยายภาพที่เป็นเพศหญิง (อ้างอิง : ภัทธีรา สารากรบริรักษ์ ,2558 )
  4. การบรรยายเสียงบรรยายภาพ สามารถบรรยายได้ 2 แบบ คือ 1) การบรรยายแบบตรงตัว 2) การบรรยายแบบตีความ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ เลือกใช้การบรรยายเสียงแบบที่ 2 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ได้แนะนำว่า สามารถทำได้เช่นกัน แต่เสียงบรรยายภาพมักนิยมใช้แบบที่ 1 เนื่องจากเป็นการทำให้ผู้ชมที่เป็นผู้พิการทางสายตาได้รับอรรถรสจากความเข้าใจของตนเอง ไม่ได้ถูกสรุปความหรือการตีความจากเสียงบรรยายภาพ แต่อาจารย์ ดร. อิศวรา ศิริรุ่งเรือง ก็ได้ให้ความเห็นว่าวิธีการบรรยายทั้ง 2 แบบนั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ดร. อิศวรา ศิริรุ่งเรือง, สัมภาษณ์ วันที่ 19 มีนาคม 2561)

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

  1. ในการศึกษาครั้งตํอไปอาจใช้วิธีการบรรยายเสียงบรรยายภาพแบบตรงตัวเพื่อตอบสนองความนิยมของผู้พิการทางการเห็น เนื่องจากเป็นการทำให้ผู้ชมที่เป็นคนตาบอดได้รับอรรถรสได้จากความเข้าใจของตนเอง
  2. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาถึงการใช้ผู้บรรยายชายหรือหญิง ในภาพยนตร์ประเภทต่าง ๆ (Genres) จะมีผลตํอผู๎ชมที่เป็นคนพิการทางการเห็นหรือไมํ
  3. ในการศึกษาครั้งตํอไปอาจเพิ่มความหลากหลายของประเภทภาพยนตร๑ ในการเลือกนำมาทำสื่อเสียงบรรยายภาพ
  4. ในการศึกษาครั้งตํอไปอาจเพิ่มวิธีการบรรยายแทนเสียงโดยการใช๎ภาษามือ ประกอบรํวมกับเสียงบรรยายภาพ (Audio Description)
  5. ในการศึกษาครั้งต่อไปหรือการทำงานร่วมกับคนพิการ มีความจำเป็นต้องเข้าใจวัฒนธรรมหรือวิถีการใช้ชีวิตของกลุํมผู๎รับสารให๎มีความเข๎าใจมากขึ้นหรือใกล๎ชิดกับคนพิการมากขึ้น เพื่อเอื้อประโยชน๑ตํอคนพิการและผู๎จัดทำ
  6. การทำงานด้านสื่อมวลชนควรคำนึงในบางประเด็น รวมถึงการเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ของคนพิการเป็นกลุ่มที่มีความเฉพาะ เช่น การเรียกขาน การกำหนดอัตลักษณ์ มีความอ่อนไหวและมีวัฒนธรรมที่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งประเด็นเหลำนี้ต้องทำความเข้าใจและผู้จัดทำหรือสื่อมวลชนมีส่วนช่วยในการสร้างบรรทัดฐานที่ดีและถ่ายทอดต่อไปให้สังคมรับรู้

รับชมผลงาน