PRODUCTION OF MOTION GRAPHICS IN THE TOPIC “ROO WAI MAI PID GORN KID JA TID YA PARA”

จัดทำโดย ศุภรัตน์ ขุนทอง;สิริกัลยา อิสราสุวิภากร;สุธิดา รัตนคช;ศตวรรษ ชลอทรัพย์ และ ชนิดา พูลมา

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์ การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” 2) เพื่อประเมินคุณภาพสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการศึกษาทำโดยการสร้างสื่อโมชั่นกราฟิก นาสื่อที่ได้ ไปตรวจสอบคุณภาพกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านสื่อโมชั่นกราฟิก และด้านแอนิเมชั่น จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่าง ประเมินความพึงพอใจ สื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด…ก่อนคิดจะติดยาพารา” โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 40 คน และนำผลมาวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาสรุปว่า สื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” พบว่า ผลการ
ประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจ มาก และผลการประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจ มาก โดยกลุ่มตัวอย่างรู้และเข้าใจวิธีในการทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้องมากขึ้น

คำสำคัญ: โมชั่นกราฟิก, ยาพาราเซตามอล


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา”
  2. เพื่อศึกษาคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” โดยการประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตการศึกษา

สื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” โดยจะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการรับประทานยาพาราเซตามอลอย่างถูกวิธี และโทษของยาพาราเซตามอลเมื่อรับประทานเกินขนาดอย่างต่อเนื่อง

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    1. สถิติการทานยาของคนในประเทศไทย
    2. สถิติจากการทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดและผิดวิธี
    3. ผลข้างเคียงที่เกิดจากการทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
    4. โทษของยาพาราเซตามอลที่เกิดผลกระทบต่อตับ
    5. ชื่อทางการค้าของยาแก้ปวดลดไข้ที่มีส่วนผสมหลักเป็นพาราเซตามอล
    6. ส่วนผสมหลักของยาพาราเซตามอล
    7. วิธีการทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง
    8. สรุปเนื้อหาที่เกี่ยวกับยาพาราเซตามอล
  2. ขอบเขตด้านประชากร
    1. ประชากร คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 40 คน
  3. ขอบเขตด้านเทคนิค
    1. โปรแกรมที่ใช้สาหรับออกแบบภาพกราฟิก คือ Adobe Illustrator
    2. โปรแกรมที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวสำหรับสื่อโมชั่นกราฟิกและแอนิเมชัน 2 มิติ คือ Adobe After Effect
    3. โปรแกรมที่ใช้สาหรับตัดต่อ คือ Adobe Premiere Pro

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. โมชั่นกราฟิก หมายถึง งานกราฟิก 2 มิติ ที่เคลื่อนไหวได้ โดยการนำมาจัดเรียงต่อกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ การผสมผสานกันระหว่างงานดีไซน์กับภาพเคลื่อนไหว
  2. ยาพาราเซตามอล หมายถึง ยาที่มีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ มักใช้เพื่อบรรเทาไข้และอาการปวดต่าง ๆ
  3. ติดยาพารา หมายถึง ผู้บริโภคที่มีอาการปวดหรือเป็นไข้ มักจะนิยมรับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดดังกล่าว โดยเลี่ยงการพบแพทย์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทราบถึงกระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก
  2. ได้สื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา”
  3. ทราบคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” จากผู้เชี่ยวชาญ
  4. ทราบผลความพึงพอใจของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” จากกลุ่มตัวอย่าง

อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ พบว่า การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” สื่อมีคุณภาพเหมาะสมในการนำไปเผยแพร่เพื่อให้ความรู้ ทั้งทางด้านเนื้อหาข้อมูล ด้านการออกแบบ ด้านการเคลื่อนไหว และด้านเสียง โดยทางผู้วิจัยได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ท่าน ทำการประเมินและเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละท่านก็ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อมาปรับใช้ในงาน เพื่อให้งานมีคุณภาพ จากนั้นทางคณะผู้จัดทำก็ได้นำมาปรับใช้และพัฒนาสื่อให้ได้คุณภาพมากขึ้นตามคำแนะนาของผู้เชี่ยวชาญ โดยในการผลิตสื่อนั้นมีการศึกษาทฤษฎีของการทำโมชั่นกราฟิก และด้านแอนิเมชั่น รวมถึงในด้านของการออกแบบฉาก ตัวละคร รวมทั้งสีที่ใช้ในสื่อเพื่อให้สื่อมีประสิทธิภาพ ในการถ่ายทอดข้อมูลมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ ธมลวรรณ รักพงษ์ และ ปรัศนี ยาประเสริฐ (2557) ศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาพาราเซตามอลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมในการใช้ยาพาราเซตามอล การวิจัยเป็นการสำรวจความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอลของนักศึกษา ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอล ระดับ ปานกลาง

สำหรับการผลิตสื่อนี้ ในการศึกษาขั้นตอนการผลิตสื่อเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูลในรูปแบบโมชั่นกราฟิกนั้น มีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ ภาสวัฒน์ เนตรสุวรรณ และ จิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์ (2557) ศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง การพัฒนาสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง พื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับหลักสูตรฝึกอบรม ของบริษัท ที สแควร์ ครีเอทีฟ จำกัด ได้สำรวจประสิทธิภาพของพนักงานและบุคลากร หาจุดอ่อนของระบบการทำงาน ความรู้พื้นฐานที่ต่างกันของบุคลากรภายในองค์กร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สื่อโมชั่นกราฟิกที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น มีความแปลกใหม่ เป็นที่ดึงดูดและน่าสนใจต่อผู้อบรม จึงทำให้สื่อชิ้นนี้สามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างดี และผลงานวิจัยในการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” พบว่า ด้านการนำเสนอเนื้อหาข้อมูลมีประสิทธิผลมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ด้านเสียงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 และในด้านประโยชน์ที่ได้จากสื่อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ซึ่งการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ไว้ไม่ผิด..ก่อนคิดจะติดยาพารา” มีการออกแบบที่มีทั้งการพัฒนาและออกแบบให้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจในการรับรู้จากสื่อได้ง่าย โดยรับรู้ได้จากภาพกราฟิกและเสียง ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจที่จะรับชมสื่อมากกว่าที่จะอ่านหนังสือ โดยในการออกแบบและทำสื่อนั้นมีความสอดคล้องเช่นเดียวกับงานวิจัยของ พงษ์พิพัฒน์ สายทอง ( 2557) ศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง การออกแบบอินโฟกราฟิกแอนิเมชั่นเพื่อการเรียนการสอน ได้ศึกษาข้อมูลและขั้นตอนการทำโมชั่นกราฟิก เพื่อนำมาสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะพัฒนาให้น่าสนใจและสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้มากขึ้น การวิจัยเริ่มโดยการหาข้อมูล ประเมินความต้องการของผู้เรียน กำหนดขอบเขต ตั้งเป้าหมายที่ของการจัดทำสื่อ ออกแบบการดำเนินเรื่องให้เข้าใจได้ง่ายด้วยภาพ คำบรรยาย กราฟิก และศึกษาขั้นตอนสำหรับสร้างสื่อโมชั่นกราฟิก อินโฟกราฟิก แอนิเมชั่นช่วยกระตุ้นความสนใจ และส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้เรียน ผลคือการออกแบบอินโฟกราฟิกข้อมูลหรือเนื้อหาไม่ซับซ้อน ผู้รับข้อมูลอาจรับรู้ได้ทันที หากเป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อนมาก ๆ การรับรู้ข้อมูลต้องอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ควรกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน


รับชมผลงาน