Motion Graphics Media Production About How to Design an Attractive Business Card

จัดทำโดย อัครชัย สัมฤทธิ์;ภาคภูมิ ชีพดำรงค์ และ ทาชินี สุขโข

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก 2) ผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ 3) ศึกษาระดับคุณภาพที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญ และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการศึกษาทำโดย ผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจและทำการประเมินคุณภาพสื่อผ่านแบบประเมินคุณภาพ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านเทคนิคการนำเสนอ รวมทั้งสิ้น 3 ท่าน และทำการประเมิน ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน รวบรวมผลการประเมิน และนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามวิธีทางสถิติ

ผลการศึกษาสรุปว่า ระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไร ให้น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ย 4.64 ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก และจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน พบว่า ระดับความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ยที่ 4.50 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด หลังจากผู้ชมได้รับชมสื่อแล้วคาดว่า สื่อทำให้ผู้ชมได้เข้าใจในกระบวนการออกแบบนามบัตร รวมไปถึงเกิดความรู้สึกที่อยากจะออกแบบนามบัตร และอาจนำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นได้ในอนาคต

คำสำคัญ: โมชั่นกราฟิก, การออกแบบ, นามบัตร


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก
  2. เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ
  3. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
  4. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ สำหรับกลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตการศึกษา

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    สำหรับการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ความยาวประมาณ 4 นาที เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการออกแบบนามบัตร ผ่านสื่อโมชั่นกราฟิก โดยมีลำดับหัวข้อในการศึกษา ดังนี้

    1. ความสำคัญของนามบัตร
    2. โปรแกรมที่สามารถใช้ออกแบบนามบัตร
    3. องค์ประกอบของนามบัตร
    4. การจัดวางข้อความบนนามบัตรที่มีขนาดเล็ก
    5. การเลือกใช้สีในการออกแบบนามบัตร
    6. การเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรในการออกแบบนามบัตร
    7. การเลือกวัสดุในการพิมพ์นามบัตร
  2. ขอบเขตด้านประชากร
    1. ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2560
    2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน
  3. ขอบเขตด้านเทคนิค การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก
    1. ใช้โปรแกรม Adobe Illustrator ในการออกแบบ
    2. ใช้โปรแกรม Adobe After Effect ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว
    3. ใช้โปรแกรม Sony Vegas ในการตัดต่อและใส่เสียงประกอบสื่อ

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. โมชั่นกราฟิก หมายถึง สื่อภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ โดยใช้กราฟิกมาทำการเคลื่อนไหวเพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่อยู่ภายใน ให้สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว
  2. นามบัตร หมายถึง สิ่งพิมพ์รูปแบบมาตรฐานที่มีขนาดเล็ก พกพาได้ โดยมีข้อมูลที่สำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารปรากฏอยู่ และใช้หลักการออกแบบเพื่อนำเสนอตัวตนของเจ้าของ
  3. การออกแบบ หมายถึง การวางแผนเพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยจินตนาการ หลักการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สามารถสื่อความหมายแก่ผู้รับสารได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทราบถึงกระบวนการในการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก
  2. ได้สื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ
  3. ทราบถึงระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญ
  4. ทราบถึงระดับความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากกลุ่มตัวอย่าง
  5. ทำให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงแนวคิดและกระบวนการในการออกแบบนามบัตร

สรุปผลคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญ

  1. ระดับคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ที่ 4.52 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.43 สรุปได้ว่า เนื้อหามีความน่าสนใจ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ปริมาณของเนื้อหาเหมาะสม มีวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาที่น่าสนใจ อยู่ในระดับ ดีมาก และความความเหมาะสมของเนื้อหากับกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงระยะเวลาของสื่อ อยู่ในระดับ ดี
  2. ระดับคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ที่ 4.58 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.26 สรุปได้ว่า ความเหมาะสมของการออกแบบ กราฟิกที่ใช้เข้าใจง่ายสื่อความหมายชัดเจน ใช้สีได้เหมาะสมน่าสนใจ ขนาดของตัวอักษร ตำแหน่งของตัวอักษร การจัดองค์ประกอบในฉาก ความละเอียดภาพ รวมไปถึงการเลือกตัวอย่างของนามบัตร อยู่ในระดับ ดีมาก และสีของพื้นหลัง สีของตัวอักษร รูปแบบตัวอักษรมีความเหมาะสมในระดับ ดี
  3. ระดับคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวและนำเสนอ
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ที่ 4.75 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.28 สรุปได้ว่า ความเหมาะสมของเทคนิคการเคลื่อนไหวและนำเสนอ ภาพรวมของสื่อ การเปลี่ยนฉากมีความต่อเนื่อง ความน่าสนใจและความเหมาะสมของการเคลื่อนไหวแต่ละฉาก อยู่ในระดับ ดีมาก
  4. ระดับคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเสียง
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ที่ 4.70 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.34 สรุปได้ว่า เสียงบรรยายชัดเจน เสียงดนตรีประกอบ เสียงเอฟเฟคมีความเหมาะสม น่าสนใจ และความสัมพันธ์ของภาพกับเสียงเอฟเฟค อยู่ในระดับ ดีมาก และความสัมพันธ์ของภาพกับเสียงบรรยาย อยู่ในระดับ ดี

สรุปผลความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ จากกลุ่มตัวอย่าง

  1. ระดับความพึงพอใจต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหา
    จากการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.54 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.07 สรุปได้ว่า เนื้อหาสามารถเข้าใจได้ง่ายและมีประโยชน์ อยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด และมีความน่าสนใจอยู่ในระดับพึงพอใจ มาก
  2. ระดับความพึงพอใจต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างด้านการออกแบบ
    จากการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.52 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.07 สรุปได้ว่า ภาพกราฟิกและตัวอย่างนามบัตรสามารถเข้าใจได้ง่าย สื่อนำเสนอได้น่าสนใจ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด และสีสันของกราฟิกน่าสนใจ ตัวอักษรมีขนาดเหมาะสมอ่านง่าย อยู่ในระดับพึงพอใจมาก
  3. ระดับความพึงพอใจต่อจากกลุ่มตัวอย่างด้านเสียง
    จากการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.40 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.10 สรุปได้ว่า เสียงเพลงประกอบ เสียงบรรยาย มีความน่าสนใจ เสียงบรรยายชัดเจน อยู่ในระดับ พึงพอใจ มาก
  4. ระดับความพึงพอใจต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างด้านการเคลื่อนไหว
    จากการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.61 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.17 สรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวของภาพไม่สะดุด อยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด และการเคลื่อนไหวของกราฟิกมีความน่าสนใจอยู่ในระดับพึงพอใจ มาก
  5. ระดับความพึงพอใจต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างด้านประโยชน์ที่ได้จากการชมสื่อ
    จากการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.38 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.08 สรุปได้ว่า ได้แนวคิดในการออกแบบนามบัตร อยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ตระหนักถึงความสาคัญของนามบัตร ได้แรงจูงใจในการเริ่มต้นออกแบบนามบัตร สื่อทำให้เข้าใจได้เร็ว และได้รับความเพลิดเพลิน อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก

อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษาการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ มีประเด็น ที่น่าสนใจมาอภิปรายดังนี้

  1. ระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ มีผลประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก มีผลการประเมินเฉลี่ยรวม 4.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.08 มีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพอยู่ที่ระดับคุณภาพดีมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าด้านความเหมาะสมของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.52 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.43 แสดงว่าคุณภาพโดยรวมมีคุณภาพระดับดีมาก ด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.58 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.26 แสดงว่า คุณภาพโดยรวมมีคุณภาพระดับ ดีมาก ด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวและนำเสนอ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.75 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.28 แสดงว่า คุณภาพโดยรวมมีคุณภาพระดับ ดีมาก และในส่วนของด้านเทคนิคเสียง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.70 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.34 แสดงว่า คุณภาพโดยรวมมีคุณภาพระดับ ดีมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานค้นคว้าอิสระของ ม.ล.ประกายพรึก จักรพันธุ์ (2552) เรื่องการออกแบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อการจำอักษรคันจิที่ว่า การเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงภาพนั้น เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจทางสายตาได้ดี สามารถกระตุ้นความสนใจและนำไปสู่การรับรู้ ซึ่งสามารถทำให้เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น ผลการประเมินคุณภาพสื่อภาพเคลื่อนไหวเพื่อการจำอักษรคันจิ ที่ประเมินโดยอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น 3 ท่าน มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.52 ซึ่งคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก
  2. ระดับความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ มีผลประเมินจากกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด มีผลการประเมินเฉลี่ยรวม 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับพึงพอใจ มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.54 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.07 แสดงว่าโดยรวมมีความพึงพอใจ มากที่สุด ด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.52 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.07 แสดงว่า โดยรวมมีความพึงพอใจ มากที่สุด ด้านเสียง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.40 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.10 แสดงว่า โดยรวมมีความพึงพอใจ มาก ด้านการเคลื่อนไหว มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.61 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.17 แสดงว่า โดยรวมมีความพึงพอใจ มากที่สุด และในส่วนของด้านประโยชน์ที่ได้จากการชมสื่อ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.38 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.08 แสดงว่าโดยรวมมีความพึงพอใจ มาก ซึ่งสอดคล้องกับสารนิพนธ์ของ ณัตพร วรคุณพิเศษ (2556) เรื่อง การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ว่า การออกแบบสื่อที่สวยงาม มีการนำเสนอที่กระชับ และตรงกลุ่มเป้าหมาย จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการประเมินพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ประเมินโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.16 ซึ่งมีความพึงพอใจ มาก

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ตลอกจนการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรคดังนี้

  1. ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการผลิตสื่อ เป็นเนื้อหาที่ไม่มีหลักการที่ชัดเจน สามารถประยุกต์เนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้ต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดเพื่อรวบรวมและสรุปออกมา โดยอาศัยหลักการจากทฤษฎีที่ใกล้เคียงและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเนื้อหาที่ต้องการได้
  2. ด้านของการออกแบบสื่อ เรื่องของสีสันที่เลือกใช้และโทนของงาน ต้องการให้ดึงดูดความสนใจของกลุ่มตัวอย่าง จึงต้องอาศัยกระแสความนิยมของโทนสีให้ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบัน และเหมาะกับช่วงวัยของกลุ่มตัวอย่าง
  3. ด้านการนำเสนอ เวลาที่ใช้นำเสนอและเนื้อหาไม่ค่อยสมดุลกัน เนื่องจากสื่อแทรกการสอนเข้าไป แต่ไม่ควรใช้เวลานาน ส่งผลให้เนื้อหาบางส่วนยังไม่ละเอียดพอ จึงได้ปรึกษากันและเลือกเนื้อหาส่วนที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้นเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าใจได้และไม่เกิดความเบื่อหน่ายขณะชมสื่อ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

จากการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง การออกแบบนามบัตรอย่างไรให้น่าสนใจ ตลอดจนการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง จนได้ผลสรุปทางการศึกษา ที่เสร็จสมบูรณ์ ได้เกิดข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการทาการศึกษาครั้งต่อไปรวมถึงการปรับปรุงผลงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

  1. ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ
    เนื้อหาบางจุดยังเปรียบเทียบได้ไม่ชัดเจน ควรเลือกเนื้อหาให้ดีและชัดเจนมากว่านี้ เนื่องจากเวลาของสื่อน้อย ทาให้เนื้อหาละเอียดไม่พอ แนะนาให้เพิ่มเติมช่องทางเพื่อรับข้อมูลที่ละเอียดกว่าในสื่อ
  2. ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง
    การนำเสนออาจจะดึงดูดความสนใจน้อยเกินไป อยากให้ตัวช่วยดึงดูดความสนใจมากกว่านี้ ซึ่งจะทาให้เกิดประโยชน์กับผู้ชมมากขึ้น
  3. ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    การใช้เสียงบรรยายยังห้วนเกินไป ควรตัดต่อเสียงให้มีท้ายเสียงมากกว่านี้ และกราฟิกของเนื้อหาในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของนามบัตร และยกตัวอย่างนามบัตรที่ตอบโจทย์ของกลุ่มตัวอย่างมากกว่านี้
  4. ข้อเสนอแนะจากคณะผู้วิจัย
    1. ด้านเนื้อหา
      เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของตัวอย่างนามบัตร ใช้นามบัตรที่เห็นได้ชัดเจนเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้แนวคิดที่ตรงเป้าหมายมากกว่านี้
    2. ด้านเทคนิค
      เพิ่มเติมกราฟิกในบางฉากเพื่อไม่ให้ฉากนั้น ๆ หยุดนิ่งโดยไม่เกิดประโยชน์ ออกแบบกราฟิกที่เข้าใจได้ง่ายและชัดเจนขึ้น เพิ่มเติมเทคนิค (Secondary) ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของสื่อ และเสียงบรรยายช้าเกินไปควรกระชับกว่านี้

รับชมผลงาน