Motion graphic for flat design skills improvement

จัดทำโดย ณัชพล จันทร์สว่าง;สถาพร ศิลปี และ ฉัตรชัย ธนธรรมทัต

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เรื่อง การผลิตสื่อโมชันกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat design
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องกระบวนการผลิตโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat
design เพื่อศึกษาระดับคุณภาพของสื่อโมชันกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat design จากผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat Design

วิธีการศึกษาจัดทําโดย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก และข้อมูลเกี่ยวกับ Flat design กําหนดเนื้อหาและเทคนิคการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก โดยนําเสนอคํานิยามและความหมาย ประวัติของ Flat design ขั้นตอนการทําแบบรวดเร็ว การเปรียบเทียบกับภาพจริงและ Material design และสื่อที่นําไปใช้ โดยเริ่มจากการค้นคว้าข้อมูล เขียนสตอรี่บอร์ด การวาดภาพประกอบด้วยโปรแกรม Illustrator การนําภาพวาดประกอบมาขยับด้วยโปรแกรม After Effect อัดเสียงพากย์และตัดต่อสื่อด้วยโปรแกรม Premier Pro และการนําสื่อโมชั่นกราฟิกมาแก้ไขเพิ่มเติม สร้างวัตถุดิบและองค์ประกอบต่าง ๆ ของสื่อโมชั่นกราฟิก นําสื่อที่เสร็จเรียบร้อยไปประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเทคนิคสื่อโมชั่นกราฟิกจํานวน 5 ท่าน และวัดผลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการเรียนรายวิชาการออกแบบกราฟิก สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จํานวน 45 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย

ผลการศึกษาสรุปว่า ผลการวิเคราะห์คุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคสื่อโมชั่น กราฟิก ในด้านเนื้อหาและดําเนินเรื่อง อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี (4.55) ในด้านภาพกราฟิก อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี (4.80) ในด้านภาพกราฟิกเคลื่อนไหว อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี (4.60) ในด้านข้อความ ตัวอักษร อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี (4.40) ในด้านเสียงดนตรีประกอบ อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี (4.35) ในด้านเสียงบรรยาย อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี (4.25) และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 45 คน ในด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมีพึงพอใจ มาก (4.10) ในด้านการออกแบบ อยู่ในระดับมีความพึงพอใจ มาก (4.40) ในด้านภาพกราฟิกเคลื่อนไหว อยู่ในระดับมีความพึงพอใจ มาก (4.35) ในด้านเสียงดนตรีและเสียงบรรยาย อยู่ในระดับมีความพึงพอใจ มาก (4.30) ในด้านความคิดเห็นหลังรับชม อยู่ในระดับมีความพึงพอใจ มาก (4.40)

คําสําคัญ : สื่อโมชั่นกราฟิก, เพื่อการส่งเสริม, การออกแบบ, รูปแบบ Flat design


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat design
  2. เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบ flat design
  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังรับชมสื่อ การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบflat design

ขอบเขตการศึกษา

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก ความยาวประมาณ 6 นาที เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat design เพื่อส่งเสริมความรู้ ความหมาย เทคนิคพิเศษ และความ เข้าใจ
    1. คํานิยามและความหมายของ Flat Design
    2. ประวัติของ Flat Design
    3. การทํา Flat Design
    4. รูปแบบสื่อที่นํา Flat Design ไปใช้
    5. การเปรียบเทียบ ระหว่าง Flat Design กับ Material Design และ Reality Image
  2. ขอบเขตด้านเทคนิคการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกโดยการใช้โปรแกรม
    1. Adobe Illustrator ในการออกแบบ
    2. Adobe Aftereffect ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว
    3. Adobe Premier Pro ในการตัดต่อภาพและพากย์เสียง
  3. ขอบเขตด้านประชากรกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการเรียนวิชาการออกแบบกราฟิก สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี จํานวน 45 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. โมชั่นกราฟิก หมายถึง การทําภาพ 2มิติ หรือ กราฟิกต่าง ๆ มาเคลื่อนไหวเป็นแอนิเมชัน เพื่อการย่อข้อมูลที่มีปริมาณมากให้ผู้ชมเข้าใจได้อย่างง่ายในเวลาที่จํากัดด้วยการรับชม มีความชัดเจน ตรงประเด็น
  2. การส่งเสริม หมายถึง การสนับสนับสนุนในการให้ความรู้ ความเข้าในเรื่องนั้นแก่บุคคล เพื่อความเข้าใจ
  3. flat design หมายถึง การออกแบบที่ลดทอนลายระเอียดของวัตถุให้ดูแบนราบเรียบ ง่ายและให้ผู้ใช้เข้าใจ content ตรงกัน
  4. การออกแบบลายเส้น หมายถึง การใช้ความคิด ความรู้ และ ศิลป์เข้าด้วยกัน เพื่อสร้าง สรรค์ผลงานต่าง ๆ ในรูปแบบของลายเส้นที่ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือรูปทรงต่างๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เพื่อได้ทราบกระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat design เพื่อการนํามาประยุกต์ใช้ในโอกาสต่าง ๆ ต่อไป
  2. เพื่อได้สื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat design ที่มีคุณภาพ
  3. เพื่อทราบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ศึกษาการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ flat design
  4. เป็นแนวทางสําหรับการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมด้านการออกแบบ

สรุปผลคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ Flat Design (Motion Graphic For Flat Design Skills Improvement) จํานวนทั้งหมด 5 ท่าน สําหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสื่อนําชมเสมือนจริง ได้มีการแบ่งหัวข้อทั้งหมด 6 หัวข้อ ซึ่งได้สรุปใน แต่ละส่วนดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและการดําเนินเรื่อง
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อจากการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ Flat Design (Motion Graphic For Flat Design Skills Improvement) ในด้านเนื้อหา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.1 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อการดําเนินเนื้อหาเรื่อง Flat Design มีความเหมาะสม หัวข้อการเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่อง Flat Design ในแต่ละประเภท หัวข้อมีความต่อเนื่อง มีความเหมาะสม และหัวข้อเนื้อหาและการดําเนินของเรื่อง Flat Design สามารถดึงดูดความสนใจมีระดับคุณภาพดีมากที่สุด คือ อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.547 ตลอดจนหัวข้อเนื้อหาในแต่ละประเภทหัวข้อมีความกระชับและทําให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น อยู่ในระดับมีคุณภาพดี
  2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพกราฟิก
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อจากการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ Flat Design (Motion Graphic For Flat Design Skills Improvement) ในด้านภาพกราฟิก พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อภาพกราฟิกมีความสอดคล้องกับเนื้อหาเหมาะสม หัวข้อภาพกราฟิกสื่อความหมายได้ชัดเจนเหมาะสม มีระดับคุณภาพดีมากที่สุด คืออยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0 ตลอดจนหัวข้อภาพกราฟิกมีสีสันสวยงาม เหมาะสม และหัวข้อตําแหน่งในการจัดวาง องค์ประกอบภาพของภาพนิ่ง และภาพกราฟิกเหมาะสม อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี
  3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพกราฟิกเคลื่อนไหว
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อจากการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ Flat Design (Motion Graphic For Flat Design Skills Improvement) ในด้านภาพกราฟิกเคลื่อนไหว พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.282 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมีสีสันสวยงาม เหมาะสม หัวข้อตําแหน่งการจัดวางภาพเคลื่อนไหว เหมาะสมมีระดับคุณภาพดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.447 หัวข้อภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมีความต่อเนื่องเหมาะสม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก และหัวข้อสื่อ ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวสื่อความหมายได้ชัดเจน เหมาะสม คืออยู่ในระดับมีคุณภาพดี
  4. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านข้อความตัวอักษร
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อจากการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ Flat Design (Motion Graphic For Flat Design Skills Improve ment) ในด้านภาพข้อความตัวอักษร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.163 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าหัวข้อความเหมาะสม ของสีตัวอักษร มีระดับคุณภาพดีมากที่สุด คือ อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.547 ตลอดจนหัวข้อความเหมาะสมระหว่างสีตัวอักษรและสีพื้นหลัง หัวข้อความเหมาะสมของขนาดตัวอักษร และหัวข้อความเหมาะสมของรูปแบบตัวอักษรอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี
  5. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเสียงดนตรีประกอบ
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อจากการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบFlat Design (Motion Graphic For Flat Design Skills Improve ment) ในด้านเสียงดนตรีประกอบ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.191 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อความเหมาะสมของเสียงดนตรีประกอบอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.547 หัวความชัดเจนของเสียงดนตรีประกอบ หัวข้อความน่าสนใจของเสียงดนตรีประกอบ และหัวข้อเสียงดนตรีประกอบ ช่วยกระตุ้นให้จดจําข้อมูลและสร้างความสนใจให้กับผู้รับสื่อได้ง่ายขึ้น มีระดับคุณภาพดีที่สุด คืออยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี
  6. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเสียงบรรยาย
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริม การออกแบบรูปแบบ Flat Design (Motion Graphic For Flat Design Skills Improvement) ใน ด้านเสียงบรรยาย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.191 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อความเหมาะสมของเสียงบรรยายและหัวข้อความถูกต้องของภาษาที่ใช้ในเสียงบรรยายมีระดับคุณภาพดีมากที่สุด คือ อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.547 ตลอดจนความ ชัดเจนของเสียงบรรยาย และหัวข้อเสียงบรรยายช่วยกระตุ้นให้จดจําข้อมูลและสร้างความสนใจให้กับผู้รับสื่อได้ง่ายขึ้น อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดี

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อส่งเสริมการออกแบบรูปแบบ Flat Design (Motion graphic
for flat design skills Improvement) ตลอดจนการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรค์ดังนี้

  1. การหาข้อมูลของ Flat Design ในเรื่องประวัติศาสตร์มีหลากหลายแบบมีการวาง Timeline ไม่ตรงกันระหว่างข้อมูลในหนังสือ เว็บไซต์ที่เป็นบล็อกเกอร์ที่มีชื่อของผู้เขียน และเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่นําเสนอข้อมูลการดีไซน์ จนบ้างครั้งทําให้สับสน
  2. ในการทําสื่อในแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาในการทํางานค่อยข้างมาก จึงทําให้เวลา ไม่เพียงพอในการทําสื่อโมชั่นกราฟิก ให้สมบูรณ์ที่สุด
  3. การให้เวลาของผู้เชี่ยวชาญภายในหนึ่งอาทิตย์ตรงกับการแก้ไขตัวสื่อโมชั่นกราฟิก หลังจากผ่านการตรวจของอาจารย์ที่ปรึกษาจนทําให้มีการเลื่อนวันและเวลา
  4. ทักษะและประสบการณ์ในการถ่ายทําสื่อโมชั่นกราฟิก การบันทึกเสียงบรรยาย และการทําสื่อนําชมเสมือนจริงอย่างมีไม่เพียงพอ จึงทําให้ได้สื่อนําชมเสมือนจริงที่มีสมบูรณ์ไม่มากนัก

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาและการดําเนินเรื่อง ข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญไม่ตรงกับหนังสื่อที่เราใช้อ้างอิงในเรื่องของ timeline Flat Design ของ Amber l. Tunner ตรงช่วงของ Microsoft และ Apple ว่า apple มาก่อน Microsoft แต่ของ Amber l. Tunner เป็น Microsoft มาก่อน Apple
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพกราฟิก ภาพมีความเหมาะสมสามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย การออกแบบไปด้วยกันกับเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม
    3.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพกราฟิกเคลื่อนไหว มี Death Air บางScene น่าจะมีการเพิ่มobject หรือน่าจะมีการเล่นกับ object ที่กําลังจะมาเพื่อให้ไม่เกิด Death Air ควรมีการ move camera เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในบาง Scene การเคลื่อนไหวมีอะไรให้น่าติดตามอยู่เสมอไม่น่าเบื่อดูเพลิน
    4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านข้อความ ตัวอักษร เรื่องของตัวอักษร มีสีที่กลืนกับพื้นหลังจนมองไม่เห็นในบางScene ไปปรับสีก็จะ ดีขึ้นมาก
    5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียงดนตรี
      เสียงดนตรีฟังง่ายสบายหูไม่ขัดกับเสียงบรรยายและเสียงดนตรีมีระดับที่ต่ํากว่าเสียงบรรยายถือว่าดี เสียงเอฟเฟ็คมีความดังระดับเดียวกับเสียงบรรยายควรลดระดับลงมาให้เกือบเท่ากับเสียงดนตรีประกอบ
    6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียงบรรยาย
      เสียงบรรยายไม่ควรอยู่ในระดับเสียงเดียวกันกับเสียงเอฟเฟ็ค ควรเพิ่มความดังกว่านี้จะดีมาก เวลาอัดเสียงควรอยู่ในห้องแคบหรือหาผ้ามาคุมจะช่วยเรื่องนี้ได้ เสียงบรรยายควรเน้นคําช่วงที่เป็นภาษาทางเทคนิคเพื่อให้คนจดจําได้ง่าย
  2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาข้อมูล
      เนื้อหามีความเข้าใจง่าย น่าสนใจ เนื้อหาครอบคลุม อธิบายflat design ได้ดี
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบ
      มีความสวยงามเข้ากับเนื้อเรื่องดูได้ทุกเพศทุกวัย Graphic มีความน่าสนใจ
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพกราฟิกเคลื่อนไหว
      ดูเพลินไม่น่าเบื่อ มีความต่อเนื่องดี สวยงามและน่าสนใจ
    4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียงดนตรีประกอบและเสียงบรรยาย
      เพลงกับเสียงบรรยายไปทางทิศเดียวกัน น่าสนใจเสียงบรรยายอาจฟังดูเนิบ ๆ ไปบ้าง
    5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านความคิดเห็นหลังรับชมสื่อ
      หลังรับชมแล้วสามารถเข้าใจได้
    6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่น ๆ
      ระยะของการนาเสนอสื่อในวีดีโอมีระยะเวลาที่ยาวเกินไปจนบางที่ทําให้เบื่อได้
  3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้วิจัย
    1. ข้อมูลเกี่ยวกับ Flat design ในตลอดทําปริญญานิพนธ์มีการเปลี่ยนแปลงและมีข้อมูลใหม่ ๆ มาตลอด ผู้วิจัยต้องทําการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะให้ปัจจุบันที่สุด และมาปรับปรุงบทและทิศทางของวีดีโออยู่ตลอดเวลา
    2. การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) มีข้อจํากัดปัญหาทางด้านโปรแกรมที่ ใช้ในการทําจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของโปรแกรมที่ใช้ในการทํา และโปรแกรมเสริมที่ สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น
    3. การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) ต้องมีอุปกรณ์ที่เพียงพอ และ สนับสนุน เพื่อความสะดวกในการสร้างภาพเคลื่อนไหว
    4. ควรศึกษาทิศทาง ความนิยม ที่ใช้ในการออกแบบอยู่เรื่อย ๆ และควรศึกษารูปแบการออกแบบใหม่ ๆ จะพัฒนางานการออกแบบของเราเพื่อตอบสนองกับผู้ใช้ทั่วไป
    5. เมื่อข้อมูลไม่แน่ชัดควรรีบหาผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่ค้นคว้าข้อมูลจะช่วยให้ข้อมูลไป ทิศทางเดียวกัน
  4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการ
    1. เรื่องของฟอนต์ในบาง Scene นั้นเด่นแย่งความสนใจของตัวงาน น่าจะทําให้ตัวเล็กลง และฟอนต์ควรจะมีแบบเดียวกัน จะทําให้ดีขึ้น
    2. เรื่องของเสียงดนตรี เสียงเอฟเฟ็ค และเสียงบรรยาย ไม่ควรอยู่ในระดับเดียวกันควรจะลดเสียงดนตรีประกอบ เสียงเอฟเฟ็ค ให้อยู่ในระดับที่ตํากว่าระดับเสียงบรรยาย
    3. สื่อมีความยาวที่นานแต่เมื่อดูแล้วไม่น่าเบื่อด้วยการมี Secondary รองรับโดยปกติทั่วไปถ้าสื่อโมชั่นมีความยาวมักจะน่าเบื่อแต่สื่อโมชั่นกราฟิกนี้แก้ปัญหาได้ดี

รับชมผลงาน