Technique over layer falling on the program Adobe After Effect CS4

จัดทำโดย  จิราเมธ มืดอินทร์, ธนินทร์ ศุขมณี และบัณฑิต ประกอบชาติ

ปีการศึกษา 2556


บทคดัย่อ

สารนิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการใชเ้ทคนิคเทคนิคการซ้อนภาพนักแสดงตกจากที่สูงโดยใช้โปรแกรม Adobe After Effect CS4 วิธีการศึกษาเป็นการสร้างภาพยนตร์สั้นด้วยกล้อง Canon DSLR 7D และนำมาตัดต่อภาพและเสียงด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS4 แล้วเลือกช่วงการทำเทคนิคการซ้อนภาพมา Composite ด้วยโปรแกรม Adobe After Effect CS4 บนระบบปฏิบัติการ Microsoft Window 7 โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Intel Quad Core 3.00 GHz Hard drive 500 GB Ram 2 GB Video Display GTX Geforce 450 1GB และบันทึกในรูปแบบ DVD จากนั้นทำการจัดฉายให้กลุ่มผู้ชมจำนวน 50 คนแล้วทำการประเมินความสมจริงด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น โดยคิดค่าสถิติเป็นร้อยละ

ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อการใช้เทคนิคการซ้อนภาพนักแสดงตกจากที่สูงโดยใช้โปรแกรม Adobe After Effect CS4 ในการผลิตภาพยนตร์สั้น เรื่อง ทางออก ทำให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจมากขึ้นและส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ชมที่ชมภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้


วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษากระบวนการใชเ้ทคนิคภาพซ้อนภาพของฉากคนตกจากที่สูง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถใชเ้ทคนิคซ้อนภาพเพื่อสร้างสรรคภ์ายในฉากใหม้ีความตื่นเตน้มากขึ้น

ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพเพื่อสร้างสรรค์ภาพในฉากที่ไม่สามารถถ่ายทำได้จริง ด้วยโปรแกรม Adobe After Effect CS4 โดยการผลิตภาพยนตร์สั้นความยาว 10 นาที ด้วยกล้อง Canon DSLR 7D และนำมาตัดต่อภาพและเสียงด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS4 แล้วเลือกช่วงการทำเทคนิคการซ้อนภาพมา Composite ด้วยโปรแกรม Adobe After Effect CS4 บนระบบปฏิบัติการ Microsoft Window 7 โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Intel Quad Core 3.00 GHz Hard drive 500 GB Ram 2 GB Video Display GTX Geforce 450 1GB และบนัทึกในรูปแบบ DVD จากนั้นทำการจัดฉายให้กลุ่มผู้ชมจำนวน 50 คนแล้วทำการประเมินความสมจริงด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น โดยคิดค่าสถิตเป็นร้อยละ


สรุปผลการศึกษา/อภิปรายผล/ข้อเสนอแนะ

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า จากเทคนิคการซ้อนภาพนักแสดงตกจากที่สูงโดยใช้โปรแกรม Adobe After Effect CS4 เรื่อง ทางออกสุดท้าย ทำให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจมากขึ้น และมีความ เหมาะสมกับการนำไปใช้ในภาพยนตร์ที่ไม่สามารถถ่ายทำในสถานที่จริง สามารถสรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะได้ด้งนี้

จากการศึกษาพบว่า การใชเ้ทคนิคภาพซ้อนสามารถสร้างความน่าสนใจ ความกลมกลืนกับฉาก ให้กับภาพยนตร์จากการประเมินจากกลุ่มผู้ชมรวมทั้งหมดจำนวน 50 คนโดยการคำนวณเป็นสัดส่วนร้อยละ แบ่งเป็นผู้มีความรู้ทางด้านภาพยนตร์และผู้ไม่มีความรู้ทางด้านภาพยนตร์ ผลที่ได้ จากการประเมินภาพยนตร์มีความน่าสนใจร้อยละ 44 ภาพยนตร์มีความสมจริงร้อยละ 30 การซ้อน ภาพให้ดูกลมกลืนกับฉากร้อยละ 26 สรุปได้ว่า เทคนิคการซ้อนภาพนักแสดงตกจากที่สูงโดยใช้ โปรแกรม Adobe After Effect CS4 มีความน่าสนใจในระดับหน่ึงและมีความเหมาะสมกับการนำใช้ในภาพยนตร์ที่ไม่สามารถ่ายทำในสถานที่จริง

ปัญหาที่เกิดในการทำงานในโปรแกรม Adobe After Effect

ผลจากโปรแกรม Adobe After Effect ที่ทำให้ตึกและส่วนอื่น ๆ ของ Background ดูแบนจากตัวโปรแกรม Adobe After Effect เป็นโปรแกรมที่อยู่ในรูปแบบของ 2D จึงทำให้ตึกที่ประกอบขึ้น ใหม่ใน After Effect นั้นไม่มีความเป็นมิติ ภาพดูแบนไม่สมจริง ไม่สามารถทำเป็น 3D ได้ในโปรแกรม Adobe After Effect

ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ

ธัญวรัตน์ ระวังภัย กล่าวว่า ในส่วนของ Effect ตอนช่วงท้าย ภาพดูโดดไปหน่อยค่ะ ดูไม่ค่อยสมูทกับบรรยากาศ การปรับสีของตัวละครและบรรยากาศด้านหลงัสามารถทำได้ดีค่ะ สมูทดูเป็นสีเดียวกัน แต่ในส่วนของขอบตัวละครดูแข็งมาก น่าจะ soft หน่อย ปรับเบลอหน่อยเพื่อให้ตัวละครดูสมูทกับบรรยากาศมากขึ้น สำหรับมุมกล้องฉากที่มองจากด้านบนเห็นระยะความสูงของตึก แต่อารมณ์ภาพสามารถทำออกมาได้ดี สาเหตุที่ฉากนี้ดูโดดอาจเป็นเพราะไม่ได้จัดแสง ตอนถ่ายในบลูสกรีนหรือป่าวไม่แน่ใจนะคะ แต่เงามันผิดธรรมชาติกับบรรยากาศอยู่ แสงที่ตกบนตัวละครในฉากนี้น่าจะสว่างเกือบหมด เพราะตัวละครหันหน้าเข้าหาแสง ฉากอื่น ๆ ก็คล้าย ๆ กันค่ะ ถ้าปรับในส่วนของเงาตัวละครอีกนิด งานน่าจะออกมาสมูทมาก ๆ

สิริกานต์ อุดมทศพรกุล กล่าวว่า มีการซ้อนภาพที่ดี ไม่มีขอบสีติดมากับตัวละคร การกัดสีดูกลมกลืนและเป็นธรรมชาติ แต่ยังให้ความรู้สึกว่า การซ้อนภาพของภาพยนตร์เรื่องนี้ดูไม่สมจริงมากนัก ในฉากของผู้ชายที่ยืนอยู่บนระเบียง ซึ่งในตอนต้นเรื่องจะสังเกตว่า ท้องฟ้าที่ใช้เป็นท้องฟ้าจริง ๆ แต่ในตอนท้ายเรื่องดูเหมือนว่า ตัวละครตัวนี้กําลังยืนอยู่ในห้อง ๆ หนึ่ง ไม่ได้ยืนอยู่บนระเบียงเหมือนในตอนต้นเรื่องที่ให้ความรู้สึกว่า ตัวละครตัวนี้กําลังยืนอยู่บนระเบียง ให้ความรู้สึกที่เป็นจริง ภาพดูนุ่มนวลและไม่ขัดตา แต่โดยรวมแล้วมีการดำเนินเรื่องและมุมภาพที่ดีค่ะ

ปัญจพงศ์ หนองแสง กล่าวว่า ควรปรับปรุงโดยเริ่มจากทำสัดส่วนภาพให้ถูกต้องและควร Render โดยเลือกตัว Encode ใหเ้หมาะสม เพื่อไม่ให้ภาพเป็นเส้นขณะมีการเคลื่อนไหว การตัดต่อทำได้ดีแล้ว การซ้อนภาพควรกัดขอบให้กลมกลืนมากขึ้น ถึงแม้ส่วนเส้นผมจะทำได้ยาก แต่ส่วนลำตัวก็ยังดูคมเกินไป และมุมกล้องกระตุกอยู่บ้าง โดยรวมค่อนข้างดีสำหรับนักศึกษา