THE PRODUCTION OF 3D CARTOON ANIMATION ON THE STORY OF CHILD ADDICTED TO THE GAME

จัดทำโดย วัชรินทร์ ศิระวัฒนานนท์

ปีการศึกษา 2556


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อผลิตสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง เด็กติดเกม โดยในมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอน และรูปแบบกระบวนการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อผลิตและทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นโดยใช้โปรแกรม Autodesk 3ds Max เนื้อเรื่องจะถูกถ่ายทอดผ่านการดำเนินเรื่องโดยเด็กผู้ชายหนึ่งคนที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายติดเกม สื่อให้เห็นถึงปัญหาของเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในยุคที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มีการแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว และปริญญานิพนธ์เรื่องนี้ได้มีการศึกษาวัดผลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยนักศึกษาจำนวน 30 คน มีอายุอยู่ในช่วง 19-26 ปี มาประเมินความพึงพอใจที่มีต่อตัวสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง เด็กติดเกม

ผู้จัดทำได้เล็งเห็นว่า การผลิตสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นด้วยโปรแกรม Autodesk 3ds Max นั้น นอกจากจะได้ศึกษาเรื่องการออกแบบและการปฏิบัติแล้ว ยังสามารถนำความรู้ที่ศึกษาไปใช้ในรูปแบบงานโฆษณาต่างๆได้ รวมถึงการสร้างเอฟเฟคให้กับงานภาพยนตร์ อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดในด้านอุตสาหกรรมเกมได้อีกด้วย

จากผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ในช่วงอายุระหว่าง 19-26 ปี ซึ่งมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (arithmetic mean = 4.84) ระดับความพึงพอใจด้านเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (arithmetic mean = 4.8) ระดับความพึงพอใจด้านการนำเสนออยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (arithmetic mean = 4.86) ระดับความพึงพอใจด้านเทคนิคอยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (arithmetic mean = 4.97) ระดับความพึงพอใจด้านดนตรีและเสียงประกอบอยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (arithmetic mean = 4.74) และได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการย่นเวลาลงมา เพิ่มเอฟเฟคให้มากยิ่งขึ้น และการเพิ่มเสียงให้กับตัวละคร


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อศึกษาการสร้างโมเดลด้วยโปรแกรม Autodesk 3ds MAX
  2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อแอนิเมชั่น
  3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อแอนิเมชั่น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ทราบถึงวิธีการสร้างโมเดลด้วยโปรแกรม Autodesk 3ds Max
  2. ได้ทราบถึงวิธีการควบคุมตัวละครให้เคลื่อนไหวได้
  3. ได้ทราบความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีมุมมองต่อองค์ประกอบเนื้อเรื่องและสภาพสิ่งแวดล้อมในสื่อแอนิเมชั่น เพื่อนำไปปรับปรุงให้งานมีคุณภาพ และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
  4. เพื่อส่งเสริมให้ตระหนักถึงปัญหาของการติดเกม

ขอบเขตของการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อสร้างโมเดลในสื่อแอนิเมชั่นที่มีความยาว 4 นาที โดยใช้โปรแกรม Autodesk 3ds Max ทำการสร้างโมเดลขึ้นมา โดยแยกออกมาเป็นในส่วนของตัวละคร และส่วนของฉากจะทำการ Render เป็นฉากแต่ละฉาก แล้วจึงนำมาเข้าโปรแกรมตัดต่อรวมกันเป็นการ์ตูนเรื่องที่มีความยาว 4 นาที เมื่อเสร็จแล้ว ทำการเปิดฉายกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เพื่อประคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อตัวสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น จากนั้นบันทึกลงแผ่น DVD และทำการฉายให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับชมและให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน พร้อมแสดงความคิดเห็นและดำเนินการคำนวณค่าเฉลี่ย

นิยามศัพท์เฉพาะ

โปรแกรม 3ds Max หรือ 3 Dimensions Studio Max หมายถึงโปรแกรมสร้างผลงานสามมิติและภาพเคลื่อนไหวสามมิติสำหรับตกแต่งภายใน ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ สร้างงานกราฟฟิค หรือการสร้างเกม และงานแอนิเมชั่นสามมิติ ซึ่งตัวโปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย

Bone หมายถึงอุปกรณ์หนึ่งที่มีลักษณะเหมือนกับกระดูก ใช้เป็นส่วนในการควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวละคร ซึ่งเราจะใส่ Bone ให้กับแต่ละส่วนของตัวละครเพื่อทำให้ชิ้นส่วนขยับไปมาได้


สรุป อภิปรายผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ

ในการศึกษาและจัดทำปริญญานิพนธ์ การผลิตสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง เด็กติดเกม ด้วยโปรแกรม Autodesk 3ds Max ได้มีการให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินผลและสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมสื่อ สรุปและอภิปรายผลได้ดังนี้

เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสือการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง “เด็กติดเกม”
ผู้ศึกษาได้ทำการใช้แบบสอบถาม ในการสอบถามระดับความพึงพอใจ หลังการทดลองใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง “เด็กติดเกม” สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองและสอบถามคือ กลุ่มนักศึกษาระดับชั้นปีการศึกษาที่ 1 ถึง 4 มีความสนใจและชอบเล่นเกม โดยมีอายุอยู่ระหว่างช่วง 19-26 ปี จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองรับชมสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าทางสถิติ ได้แก่ หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) และค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) แล้วสรุปให้อยู่ในรูปของตาราง และความเรียง สำหรับคำถามปลายเปิดทำการสรุปเป็นข้อ ซึ่งจากการศึกษา สามารถสรุปผลได้ดังนี้

สรุปผลการศึกษา

ผู้ศึกษาได้เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม 3dsMax ซึ่งผู้จัดทำได้มีโอกาสที่ได้ลองและได้รับประสบการณ์ในกระบวนการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่นตั้งแต่ต้นจนจบ

ผู้ศึกษาได้ศึกษาระดับความพึงพอใจของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่องเด็กติดเกม จำนวน 2 ท่าน มีความพึงพอใจในสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=3.93) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีระดับความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด
โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 3.5-4.75 โดยมีการจัดอันดับตามระดับความพึงพอใจเฉลี่ยในแต่ละด้าน ดังนี้

  1. องค์ประกอบด้านเนื้อหามีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.75) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของตัวสื่อมีความกระชับเข้าใจง่าย อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 4.5)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของเนื้อหามีความน่าสนใจสามารถดึง ดูดผู้ชมได้ อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 5)
  2. องค์ประกอบด้านการนำเสนอมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.5) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของการนำเสนอตัวละครและฉาก มีความเหมาะสม อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 3.5)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของระยะเวลาในการดำเนินเรื่องมีความเหมาะสม อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 3.5)
  3. องค์ประกอบด้านเทคนิคมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.5) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของตัวละครที่สร้างโดยโปรแกรม 3DS Max มีความน่าสนใจ อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 3.5)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของการเคลื่อนไหว ของตัวละครดูมีความเป็นธรรมชาติ อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 3.5)
  4. องค์ประกอบด้านด้านดนตรีและเสียงประกอบมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของเสียงเอฟเฟคที่ใช้มีความสัมพันธ์กับสื่อ อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 4)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของดนตรีที่ใช้มีความน่าสนใจ ดึงดูดผู้ชมได้อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย = 4)

ผู้ศึกษาได้ศึกษาระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ที่มี่ต่อการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง เด็กติดเกม โดยกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ถึง 4 อายุช่วง 19-26 ปี จำนวน 30 คน มีความพึงพอใจในสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องนี้อยู่ในระดับ “มากที่สุด” (ค่าเฉลี่ย=4.84) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีระดับความพึงพอใจ “มาก” ถึง “มากที่สุด” โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 4.7-4.97 โดยมีการจัดอันดับตามระดับความพึงพอใจเฉลี่ยในแต่ละด้าน ดังนี้

  1. องค์ประกอบด้านเนื้อหามีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.7) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของตัวสื่อมีความกระชับเข้าใจง่าย อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.7)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของเนื้อหามีความน่าสนใจสามารถดึง ดูดผู้ชมได้ อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.9)
  2. องค์ประกอบด้านการนำเสนอมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.86) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของการนำเสนอตัวละครและฉาก มีความเหมาะสม อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.9)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของระยะเวลาในการดำเนินเรื่องมีความเหมาะสม อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.83)
  3. องค์ประกอบด้านเทคนิคมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.97) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของตัวละครที่สร้างโดยโปรแกรม 3DS Max มีความน่าสนใจ อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.97)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของการเคลื่อนไหว ของตัวละครดูมีความเป็นธรรมชาติ อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.97)
  4. องค์ประกอบด้านด้านดนตรีและเสียงประกอบมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.74) มีรายละเอียดของการประเมินแต่ละข้อดังนี้
    1. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของเสียงเอฟเฟคที่ใช้มีความสัมพันธ์กับสื่อ อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.7)
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้ประเมิน ในด้านเนื้อหาในแง่ของดนตรีที่ใช้มีความน่าสนใจ ดึงดูดผู้ชมได้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.77)

อภิปรายผลการศึกษา

การศึกษาการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่นด้วยโปรแกรม Autodesk 3ds Max ได้ประเมินอยู่ในระดับดี ด้านเทคนิคที่ใช้นั้นได้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุดประเมินอยู่ในระดับดี สามารถสร้างตัวละครที่มีการเคลื่อนไหวที่ดูเป็นธรรมชาติ ส่วนรองลงมา คือ ด้านเนื้อหาของสื่ออยู่ในระดับดี กระชับ สามารถดึงดูดผู้ชมได้ และระยะเวลาของสื่อก็มีความเหมาะสม นอกจากนี้ในส่วนของดนตรีและเสียงประกอบก็ได้ใช้ดนตรีและเอฟเฟคที่มีความสัมพันธ์กับสื่อ ทำให้ช่วยดึงดูดผู้ชมได้ในระดับดี

จากการอภิปรายผลการศึกษาได้ความว่า การศึกษาการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่นนั้นได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถนำรูปแบบงานและนำเทคนิคไปพัฒนาต่อ โดยปรับใช้และแก้ไขให้เหมาะสมกับงานในแต่ละลักษณะตามประเภทของงาน

ปัญหาและอุปสรรค

  1. เนื่องจากโปรแกรม 3ds Max เป็นโปรแกรมที่ ผู้จัดทำได้มีโอกาสใช้งานเป็นครั้งแรก
    จึงทำให้การใช้งานในช่วงแรกไม่ค่อยสะดวกมากนักการแก้ปัญหา ผู้จัดทำได้เริ่มจากการอ่านคำแนะนำเริ่มต้น ที่สามารถอ่านคำแนะนำ และเลือกรับชมวิดีโอสอนการใช้งานโปรแกรมเบื้องต้น ซึ่งตัวคำแนะนำจะพบได้ เมื่อเริ่มเปิดโปรแกรมใหม่ทุกครั้ง และศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ
  2. ปัญหาเรื่องการควบคุมตัวละคร ที่ตัวผิวโมเดลหลุดจากแกนควบคุมตัวละคร ปัญหาที่เกิดจากตัว Bone ไปดึงผิวโมเดลบริเวณใกล้เคียง ทำให้ต้องใช้เวลาแก้ไขนาน ในบางกรณีทำให้ต้องลบ Bone ทิ้งทั้งตัวแล้วทำการเพิ่ม Bone ใหม่อีกครั้งการแก้ปัญหา ผู้จัดทำได้ทดลองและศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ทราบว่าในบางกรณี ผู้จัดจัดทำสามารถแก้ไข bone ในหมวดคำสั่ง parameter ของ bone ด้วยการคลิก edit enverlop และในอีกส่วนที่ต้องตรวจสอบคือ Paintweight ที่ทำหน้าที่สำหรับเก็บรายละเอียด บริเวณผิวระหว่างรอยต่อของกระดูกแต่ละท่อน ใช้สำหรับการแก้ปัญหา ผิวหรือบริเวณข้อพับที่เกิดรูปร่างยับผิดเพี้ยน
  3. ปัญหาเรื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ เมื่อเริ่มการทำงานในเรื่องของการตัดต่อและ Render ไฟล์งานจะใช้เวลานานเกิดอาการค้างและโปรแกรมบังคับปิดตัวเองอยู่บ่อยครั้ง เนื่องด้วยตัวคอมพิวเตอร์ยังมีความเร็วไม่เพียงพอในส่วนของ Cpu และ Ram ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของระยะเวลาในการทำงานและความเสถียรขณะใช้งานโปรแกรมการแก้ปัญหา ผู้จัดทำได้ทำการทดลองเปลี่ยน Graphic card จาก Intel(R) Graphics Media Accelerator HD เป็น ATI Mobility Radeontm HD5650 1024MB VRAM ได้ผลลัพธ์คือการทำงานของโปรแกรม 3ds Max แบบ Real time มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากนั้นจึงทำการแยก Render ในบาง Model เพื่อเป็นการลดปริมาณ Polygon ในฉากให้ลดลง

ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนระหว่างการดำเนินงาน ผู้เชี่ยวชาญได้ดูในส่วนการดำเนินเรื่อง ซึ่งได้แนะนำให้ปรับปรุงโดยเพิ่มฉาก และบรรยากาศสิ่งแวดล้อม เช่นผู้คนที่เล่นเกมอยู่ในร้านเกม ต้องเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับตัวดำเนินเรื่อง

ขั้นตอนหลังการผลิต ผู้เชี่ยวชาญได้มีความเห็นว่า ตัวชิ้นที่ที่ปรับปรุงแล้ว มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น ควรย่นเวลาที่ใช้ในการเล่าเรื่องให้ลดลง และปรับเนื้อหาให้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

  1. ตัวชิ้นงานแอนิเมชั่นนี้ คาดว่าจะนำไปปรับปรุงพื้นฐานในการปั้นโมเดลที่มีลวดลายมากขึ้น
  2. สำหรับการวิจัยครั้งถัดไป เป็นการปรับแต่งสำหรับตัวแกนควบคุมขั้นสูงในรูปแบบต่าง ๆ
  3. การทำแอนิเมชั่นมีความหลากหลายทางทักษะเฉพาะด้าน และยังมีอีกหลากหลายเครื่องมือ ที่ยังต้องเรียนรู้ และพัฒนาต่อไปได้อีก ซึ่งความรู้ที่มีจะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ในงานชิ้นอื่น ๆ ได้

รับชมผลงาน