Study techniques for special effects of Composition Technique in fight scenes for make to real on action movie

จัดทำโดย ณรงค์วิทย์ บุญมณี, กิตติพงศ์ อินทรพานิช และชาญวิทย์ แจ่มเจริญ

ปีการศึกษา 2555


บทคัดย่อ (Abstract)

ผู้ศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้ในภาพยนตร์แอ็คชั่น โดยทำการผลิตภาพยนตร์แอ็คชั่น ความยาว 10 นาที ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon EOS 7D บันทึกลงใน CF Card ความจุ 32Gb มาทำการตัดต่อด้วยโปรแกรม Final Cut Pro และนำช่วงฉากยิงต่อสู้มาทำการซ้อนภาพและตกแต่งด้วยโปรแกรม After Effect CS 5 โดยการนำเอา Footage ลูกกระสุนปืน ไฟจากปากกระบอกปืน และเลือดที่ออกจากตัวนักแสดงที่มีการทำ Alpha Chanel เรียบร้อยแล้วมาทำงานซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้และบันทึกลงในแผ่น DVD และนำภาพยนตร์มาทำการประเมินผลโดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการซ้อนภาพ 1คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงภาพยนตร์ 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาพยนตร์ 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน 1 คนและสรุปผล

ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์ มีผลประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์และอาวุธปืนเป็นไปตามมาตรฐานการใช้เทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ


วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพเพื่อทำเทคนิคพิเศษในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่น

ประโยชน์ที่คาดว่าน่าจะได้รับ

สามารถใช้เทคนิคการซ้อนภาพเพื่อทำเทคนิคพิเศษในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่นด้วยโปรแกรม Adobe After Effect CS 5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการศึกษา

ผู้ศึกษามีความประสงค์ที่จะศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพเพื่อทำเทคนิคพิเศษในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่นโดยทำการผลิตภาพยนตร์แอ็คชั่น ความยาว 10 นาที ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon EOS 7D บันทึกลงใน CF Card ความจุ 32Gb มาทำการตัดต่อด้วยโปรแกรมFinal Cut Pro และนำช่วงฉากยิงต่อสู้มาทำการซ้อนภาพและตกแต่งด้วยโปรแกรม After Effect CS 5 โดยการนำเอา Footage ลูกกระสุนปืน ไฟจากปากกระบอกปืน และเลือดที่ออกจากตัวนักแสดงที่ได้มีการทำ Alpha Chanel เรียบร้อยแล้วมาทำงานซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้ แล้วนำเสียงที่ได้ศึกษาจากซาวน์ไคน์มาประกอบกับ Footage ลูกกระสุนปืน ไฟจากปากกระบอกปืนและเลือดที่ออกจากตัวนักแสดง และบันทึกลงในแผ่น DVD และนำภาพยนตร์มาทำการประเมินผลโดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการซ้อนภาพ 1คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงภาพยนตร์ 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาพยนตร์ 1 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน 1 คนและสรุปผล


สรุปผลการศึกษา/อภิปรายผล/ข้อเสนอแนะ

ในการศึกษาเรื่อง การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่น มีการกำหนดปัจจัยที่จะทำให้ฉากยิงต่อสู้ในภาพยนตร์แอ็คชั่นดูสมจริงดังนี้ ลูกกระสุนที่ออกจากปากกระบอกปืน ไฟที่ออกจากปากกระบอกปืน ควันไฟที่ออกจากปากกระบอกปืน และแอ็คติ้งของนักแสดงขณะยิงปืน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้ฉากยิงต่อสู้มีความสมจริง และสามารถที่จะสร้างอารมณ์ร่วมของผู้ชมไปกับภาพยนตร์แอ็คชั่นได้

จากการศึกษาเรื่อง การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้เพื่อสร้างความสมจริงในภาพยนตร์แอ็คชั่นจากการประเมินผลจากแบบสอบถามความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์แอ็คชั่นและเทคนิค จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการซ้อนภาพ 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน 1 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ 1ท่าน
โดยมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่

  1. ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร ตำแหน่ง อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
  2. นคร โฆสิตไพศาลตำแหน่ง Sound Design บริษัท Vanilla Sky Studio
  3. อภิชาติ ติ่งแก้ว ตำแหน่ง ข้าราชการทหารศูนย์สงครามพิเศษ
  4. โฆษิต ศรีรัตโนภาสตำแหน่ง Multimedia Designer

สรุปผลการศึกษา

การนำเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้มาใช้ในภาพยนตร์ทีมพิฆาตเหนือเมฆนั้น สามารถทำออกมาได้ดี สามารถดึงอารมณ์ร่วมกับผู้ชมได้เป็นอย่างดีทำให้ผู้ชมตื่นเต้นไปกับการแสดงของนักแสดง เทคนิคพิเศษต่างๆ ซึ่งลักษณะและท่าทางของนักแสดงก็ทำออกมาได้สอดคล้องกับการยิงปืนซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเป็นการยิงปืนจริง และทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับการแสดงที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ๆ ที่ทำออกมาในรูปของการซ้อนภาพสามารถนำมาปรับใช้กับฉากการแสดงต่างๆได้เป็นอย่างดีเรียกได้ว่า ในภาพยนตร์แอ็คชั่นนั้นสามารถนำเอาเทคนิคพิเศษทางด้านภาพที่เกิดขึ้นนำมาปรับใช้ในการถ่ายได้ เช่น การเคลื่อนที่ของกล้อง ขนาดของภาพที่หลากหลาย ซึ่งในขั้นตอนของการทำงานในขั้นของหลังการผลิตภาพยนตร์จะมีความยุ่งยากและซับซ้อน เช่น การถ่ายทำฉากที่กำลังเดินของนักแสดงจะต้องมีการบันทึกหลาย ๆ มุมกล้อง หลาย ๆ ขนาดภาพเพื่อเวลาที่นำมาทำการตัดต่อจะมีฟุตเตจที่สามารถนำไปใช้ในการตัดต่อที่มากขึ้น และสามารถสร้างสรรค์ฉากแอ็คชั่นที่มีความสนุกและตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น แต่ผลที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์นั้นทำให้เห็นว่าเทคนิคของการซ้อนภาพลูกกระสุนปืน ควันไฟจากปากกระบอกปืน ประกายไฟจากปากกระบอกปืน หรือแสงไฟที่เกิดจากการยิงปืน ก็สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดี อาจจะไม่คล้ายกับการยิงปืนจริงแต่ว่าสามารถทำให้ผู้ชมนั้นรู้สึกว่าลูกกระสุนที่ออกจากปากกะบอกปืนนั้นเป็นการยิงออกมาจากกระบอกปืนจริงๆ องค์ประกอบที่สำคัญในการทำให้ลูกกระสุนปืนมีความสมจริงก็คือท่าทางของนักแสดงที่กำลังแสดงถึงท่าทางของการยิงปืน ซึ่งลักษณะและท่าทางของนักแสดงก็ทำออกมาได้สอดคล้องกับการยิงปืนซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเป็นการยิงปืนจริง และทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับการแสดงที่เกิดขึ้นในเวลานั้น

อภิปรายผล

ทำให้สรุปได้ว่า นำเทคนิคการซ้อนภาพในฉากยิงต่อสู้มาใช้ในภาพยนตร์ทีมพิฆาตเหนือเมฆนั้น มีความสมจริงอยู่พอสมควร เนื่องด้วยฟุตเตจกระสุนปืนที่นำมาใช้สอดคล้องกับกับอาวุธปืน แต่ในส่วนของลูกไฟที่ออกจากปากกระบอกปืนหรือแสงไฟที่สร้างบรรยากาศในการยิงปืนยังต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสมจริงมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ โฆษิต ศรีรัตโนภาส (สัมภาษณ์, 2556) ที่กล่าวว่า ยังขาดความสอดคล้องทั้งแสงตกกระทบและความสว่างเมื่อเปรียบเทียบกับบรรยากาศโดยรอบ เมื่อสิ่งเหล่านี้ขาดความสมจริงสิ่งที่จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สนุกและน่าตื่นเต้นมาขึ้นก็คือ เทคนิคของการถ่ายทำ การตัดต่อ การใส่เสียงประกอบต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างให้ภาพยนตร์แอ็คชั่นมีความสมจริงยิ่งขึ้น ดูน่าตื่นเต้นน่าติดตาม สอดคล้องกับคำกล่าวของ นคร โฆสิตไพศาล (สัมภาษณ์, 2556) ที่กล่าวว่า ควรมีการเพิ่ม Shot ให้มากว่านี้ เพิ่มมุมกล้องต่าง ๆ ที่หลากหลายให้มากกว่านี้ เสียงประกอบบางเสียงดังเกินไป เสียงปืนยังไม่เหมาะสมกับปืนที่ใช้ยิง ปรับให้เสียงปืนที่เกินกว่าจริงให้ใกล้เคียงมากกว่านี้ ซึ่งลักษณะของภาพเหล่านี้จะส่งผลต่ออารมณ์ทางภาพสามารถดึงดูดอารมณ์ของคนดูให้มีอารมณ์ร่วมตาม มีความน่าตื่นเต้นที่ทำให้คนดูติดตาม การแสดงของนักแสดงก็ส่งผลต่อความสมจริงของภาพยนตร์เช่นกัน เนื่องจากลักษณะการแสดงการดีดของปืนขณะยิงต้องสอดคล้องกับการยิงปืนจริง ๆ หรือการถูกศัตรูยิงจะต้องล้มลงให้ดูเหมือนโดนลูกกระสุนยิงจริง ๆ สอดคล้องกับคำกล่าวของ ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร (สัมภาษณ์, 2556) ที่กล่าวว่า หัวหน้าผู้ร้าย หรือบรรดาสมุนที่ถูกยิงจากปืนยาว (Sniper) เพราะผู้ถูกยิงจะถูกแรงปะทะของกระสุนปืนด้วย แต่เคยดูภาพยนตร์บางเรื่องผู้ที่ถูกยิงจากระยะไกลมาก ๆ จะล้มลงก่อนได้ยินเสียงดังของกระสุนปืน 3 วินาที

ปัญหาในการศึกษา

ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้

ปัญหาในขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production)

  1. ข้อมูลของทีมหน่วยรบพิเศษในประเทศไทยมีน้อย ทำให้หาข้อมูลได้ยาก จึงต้องใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก
  2. บทภาพยนตร์ต้องมีความสอดคล้องกับลักษณะของลูกไฟ ที่จะนำมาซ้อนภาพ

ปัญหาในขั้นตอนการถ่ายทำ (Production)

  1. นักแสดงที่มีน้อยทำให้ไม่เพียงพอที่จะมาเป็นตัวประกอบในการถ่ายทำ
  2. เวลาที่ใช้ถ่ายทำเป็นเวลากลางคืนทำให้ไฟที่ใช้ในการถ่ายทำไม่เพียงพอซึ่งบางช็อตมืดจนเกินไป
  3. สถานที่ถ่ายทำเป็นสนามยิงปืนบีบีกันที่มีบังเกอร์ที่ใช้หลับลูกกระสุนปืนเต็มไปหมด ทำให้ต้องมีการหลบมุมกล้องเพื่อหลีกเลี่ยงบังเกอร์ที่มีอยู่เต็มสนามบีบีกัน

ปัญหาในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ (Post-Production)

  1. เนื่องจากภาพยนตร์ที่ถ่ายมาเป็นเวลากลางคืนทำให้การซ้อนภาพลูกกระสุนปืนทำได้ยากเนื่องจากหาความเปรียบต่างของสีเพื่อที่จะซ้อนลูกไฟหรือลูกกระสุนปืนทำได้ยากมาก
  2. ฟุตเตจที่ใช้ในการซ้อนภาพไม่ว่าจะเป็นลูกไฟ ลูกกระสุนปืน หรือเสียงที่ใช้ประกอบนั้นมีน้อยซึ้งต้องดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมและต้องเสียเงินเพื่อซื้อเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งก็มีราคาแพง

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรมีการเพิ่ม Shot ให้มากว่านี้ เพิ่มที่มีความหลากหลายต่าง ๆ ให้มากกว่านี้
  2. เสียงประกอบบางเสียงดังเกินไป เสียงปืนยังไม่เหมาะสมกับปืนที่ใช้ยิง ปรับให้เสียงปืนที่เกินกว่าจริงให้ใกล้เคียงมากกว่านี้
  3. ควรจะมีการศึกษา ภาพยนตร์เพิ่มเติมให้มากกว่านี้เพื่อศึกษามุมกล้องและเทคนิคพิเศษอื่น ๆ

รับชมผลงาน