Film Production using form editor for changing places

จัดทำโดย ชลิต โรจน์วัฒน์วิบูลย์, นายสุทร พินิจดำ และจิราวัฒน์ อิ่มสุข

ปีการศึกษา 2555


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

การศึกษาการใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit ผู้ศึกษาผลิตภาพยนตร์สั้นเรื่อง The Last Memory ความยาว 17 นาที ด้วยกล้อง 5D Mark II หลังจากที่ได้ทำการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นเสร็จ นำฟุตเทจที่ถ่ายมาตัดต่อด้วยโปรแกรม Final Cut Pro 10 คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษา รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาการใช้การตัดต่อแบบ Form Edit ในการผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อใช้เชื่อมโยงสถานที่ (FILM PRODUCTION USING FORM EDIT FOR CHANGING PLACES) ให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้ผลิตผลงานภาพยนตร์สั้นเพื่อสามารถสร้างภาพยนตร์สั้นโดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit โดยสามารถใช้เชื่อมโยงสถานที่ได้อย่างแนบเนียน หลื่นไหล โดยจัดฉายให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และกลุ่มผู้ชมจำนวน 30 คน ชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง The Last Memory และทำการประเมินผล โดยใช้แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit ในการผลิตภาพยนตร์สั้น แล้วเปรียบเทียบค่าสถิติเป็นร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า การผลิตภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ (FILM PRODUCTION USING FORM EDIT FOR CHANGING PLACES) มีผลประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์และด้านการตัดต่อเป็นไปตามมาตรฐานการใช้การตัดต่อแบบ Form Edit ในภาพยนตร์ได้ค่อนข้างดี ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

การผลิตภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถใช้การตัดต่อแบบ Form Edit เชื่อมโยงกับสถานที่ได้อย่างกลมกลืน และมีประสิทธิภาพ
  2. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการตัดต่อแบบ Form Edit ไปประยุกต์ใช้กับการตัดต่อในงานต่าง ๆ

ขอบเขตการศึกษา

การผลิตภาพยนตร์สั้น เรื่อง The Last Memory โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ ความยาว 17 นาที ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว Canon EOS 5D Mark II และชุดเลนส์ Canon พร้อมอุปกรณ์รองรับ จากนั้นถ่ายโอนสัญญาณภาพและเสียงลงในคอมพิวเตอร์แล้วตัดต่อด้วยโปรแกรม Final Cut Pro 10 แล้วถ่ายโอนเป็นสัญญาณภาพระบบ DVD แล้วประเมินผลการศึกษาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดต่อและผู้เชี่ยวชาญทางภาพจำนวน 3 คน วิเคราะห์ แล้วประเมินผลการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม โดยผู้ชมภาพยนตร์เป็นบุคคลทั่วไปจำนวน 30 คน แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


สรุปผลการศึกษา

จากการผลิตภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ คณะผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลเทคนิค Form Edit จากหนังสือและรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญทางด้านภาพและการตัดต่อ ผลการศึกษาปรากฏว่า คณะผู้จัดทำสามารถทำการผลิตภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ ได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการที่ได้ศึกษามาและสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิตได้เป็นอย่างดีตรงตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ทั้ง 3 ท่าน และนักศึกษาชั้นปีที่ 1–4 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำนวน 30 คน

โดยมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญได้แก่

  1. เกียรติศักดิ์ วิบูลย์ชาติ ผู้กำกับภาพยนตร์
  2. พีรวัฒน์ สังข์กลาง ช่างภาพภาพยนตร์
  3. สุชาติ แสงชู ตัดต่อภาพยนตร์

ส่วนที่ 1 สรุปผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน หลังจากชมภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่

จากการผลิตภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ ได้ผลสรุปจากการผลิตดังนี้ การตัดต่อในรูปแบบ Form Edit จะเป็นการตัดต่อที่แตกต่างจากการตัดต่อแบบอื่น เพราะการตัดต่อแบบ Form Edit ไม่ได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาในเรื่องของการตัดต่อ แต่เป็นรูปแบบการตัดต่อที่ต้องมี การวางแผนไว้ก่อนว่าภาพที่จะออกมาเป็นอย่างไร จะต้องกำหนดว่า จะนำวัตถุอะไร มาเชื่อมกับวัตถุอะไร เพื่อให้การเชื่อมสถานที่นั้นเป็นไปอย่างแนบเนียน ไหลลื่น และในการเชื่อมสถานที่นั้นควรจะใส่ความหมายที่ 2 ลงไปด้วย ความหมายที่ Support เรื่องราวในภาพยนตร์ จะทำให้ Form Edit โดดเด่น และทำให้คนดูจดจำ และการตัดต่อแบบ Form Edit สามารถนำมาช่วยยืดเวลาภายในเนื้อเรื่อง และย่นเวลาของการนำเสนอภาพได้

ประเด็นที่ทำให้ การตัดต่อแบบ Form Edit มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ควรคำนึงถึงเรื่องความหมายที่ 2 มา ช่วยSupport เนื้อเรื่องมากขึ้นกว่าที่จะใช้เชื่อมสถานที่เฉย ๆ
  2. วัตถุที่ใช้ควรจะมีลักษณะคล้ายกัน เพราะที่จะทำให้การเชื่อมไหลลื่น
  3. การใช้การเคลื่อนกล้องในการเชื่อมภาพสามารถทำให้เกิดความไหลลื่น สามารถเล่าเรื่องได้ อย่างต่อเนื่อง
  4. เสียงประกอบหรือเสียงดนตรีสามารถช่วยให้การเชื่อมทั้งสองซีนมีความต่อเนื่องกัน ทำให้อารมณ์ของภาพยนตร์ไม่สะดุด

ส่วนที่ 2 สรุปข้อมูลจากการทำแบบสอบถามของผู้ชมภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ จำนวน 30 คน

จากการศึกษา พบว่า การใช้เทคนิค Form Edit ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพยนตร์เพียงใด

ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 40 มีความเห็นว่า การใช้เทคนิค Form Edit ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพยนตร์อยู่ในเกณฑ์ ดี ค่าเฉลี่ยคะแนน 4.03 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนในความเห็นว่า เนื้อหามีความน่าสนใจ ระดับมาก และค่าเฉลี่ยคะแนนทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในระดับ มาก เช่นกัน

การใช้เทคนิค Form Edit มีความเหมาะสมกับเนื้อหาภาพยนตร์เพียงใด

ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 36 มีความเห็นว่า การใช้เทคนิค Form Edit มีความเหมาะสมกับเนื้อหาภาพยนตร์อยู่ในเกณฑ์ ดี ค่าเฉลี่ยคะแนน 4.03 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนในความเห็นว่า เนื้อหามีความน่าสนใจ ระดับมาก และค่าเฉลี่ยคะแนนทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในระดับ มาก เช่นกัน

การใช้เทคนิค Form Edit สามารถเชื่อมโยงสถานที่ได้มากน้อยเพียงใด

ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 43 มีความเห็นว่า การใช้เทคนิค Form Edit สามารถเชื่อมโยงสถานที่ได้อยู่ในเกณฑ์ ดี ค่าเฉลี่ยคะแนน 4.13 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนในความเห็นว่าเนื้อหามีความน่าสนใจ ระดับมาก และค่าเฉลี่ยคะแนนทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในระดับ มาก เช่นกัน

อภิปรายผล

สามารถสรุปได้ว่า การผลิตภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อแบบ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ สามารถใช้เชื่อมโยงสถานที่ได้เป็นอย่างดีซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน (สัมภาษณ์ 1 เมษายน 2555 ) กล่าวว่า การตัดต่อแบบ Form Cut สามารถนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ได้ดี เพราะการตัดต่อแบบนี้จะช่วยเชื่อมระหว่าง สองช็อตได้อย่างไหลลื่น คนดูจะไม่รู้สึกถึงการตัดต่อ มีภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องที่ใช้เทคนิคการตัดต่อแบบนี้ ได้ดีและโดดเด่น และการตัดต่อแบบ Form cut ยังสามารถช่วยดึงดูดความสนใจของคนดูได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ สมเกียรติ วิทุรานิช (สัมภาษณ์ 30 ตุลาคม 2555 ) กล่าวว่า การทำ Form cut เพื่อใช้เชื่อมสถานที่นั้นหากผู้สร้างทำออกมาได้ดี แนบเนียน จะสามารถดึงดูดความสนใจของคนดูได้เป็นอย่างดี และในการเชื่อมสถานที่นั้นการใช้วัตถุที่ ซับพอร์ตกับเนื้อเรื่องภาพยนตร์ลงไปด้วย จะทำให้การสามารถเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน (สัมภาษณ์ 1 เมษายน 2555 ) กล่าวว่า การใช้ Form cut มาเชื่อมโยงสถานที่ถ้าหากผู้ผลิต นำวัตถุที่มีความหมายหรือ Support ต่อเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ มาเชื่อมเข้าด้วยกันจะทำให้การ Form cut ในช็อตนี้โดดเด่นอย่างมาก มันจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพยนตร์ได้ดี

ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ทำให้การผลิตภาพยนตร์โดยใช้รูปแบบการตัดต่อ Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ สร้างความดึงดูดผู้ชมมาก และทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมกับภาพยนตร์ขึ้นก็คือ การใส่ความหมายที่ 2 ลงไป ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ สุชาติ แสงชู (สัมภาษณ์ 8 เมษายน 2555) กล่าวว่า การใช้เทคนิค Form cut เพื่อเชื่อมสถานนั้นจะสมบูรณ์มาก และดีมากยิ่งขึ้นถ้าการเชื่อมนั้นแฝงความหมายที่ 2 ที่สามารถซับพอร์ตเรื่องราว หรือเนื้อหาในภาพยนตร์มันจะสามารถช่วยให้คนดูมีอารมณ์ร่วมกับภาพยนตร์มากขึ้น

ปัญหาในการศึกษา

ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนี้

  1. การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในเนื้อหาของเทคนิค Form Edit และขั้นตอนการถ่ายทำซึ่งข้อมูลในรูปแบบหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์นั้นหายากมาก จึงต้องทำการค้นคว้าโดยสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก
  2. ในส่วนของการเตรียมบทภาพยนตร์ ผู้ศึกษาต้องทำการแก้ไขบทให้มีเนื้อหาที่ลงตัวและเหมาะสมกับเทคนิค Form Edit เพื่อเชื่อมโยงสถานที่
  3. ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการถ่ายทำเทคนิค Form Edit คือ การถ่ายวัตถุที่นำมาเชื่อมโยงสถานที่ของท้ายช็อตหนึ่งเพื่อนำไปเชื่อมกับช็อตที่สองต้องเป็นรูปทรงเดียวกันซึ่งสามารถทำได้ยากมากจึงทำให้ใช้เวลาการถ่ายทำเป็นเวลานาน
  4. อุปกรณ์ในการบันทึกเสียงภาพยนตร์มีปัญหาทำให้เสียงในภาพยนตร์ขาดความมีมิติของเสียง จึงแก้ไขด้วยวิธีการพากย์เสียงนักแสดงและปรับแต่งเสียงด้วยการอีคิวเสียง

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรหามุมมองใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพมีการเล่าเรื่องอีกหลายรูปแบบ
  2. เสียงดนตรีและเสียงประกอบควรอัดเสียงบรรยากาศมาช่วยเพิ่มมิติของเสียง
  3. การใช้เทคนิค Form Edit ไม่ควรมีมากเกินไปควรเลือกใช้ Shot ที่ดีที่สุดมานำเสนอ
  4. ควรเพิ่มอารมณ์ของนักแสดงให้เหมาะสมกับภาพยนตร์รักเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในภาพยนตร์

รับชมผลงาน