PRODUCT A DOCUMENTARY ABOUT TOURING. THE ROI KHAM LAMPANG NHA

โดย อนุวัช เตชะรัตนพล และ นครินทร์ สมกุล

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ การผลิตสื่อสารคดีท่องเที่ยว เรื่อง ร้อยคำลำปางหนา ศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อ และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อ เป็นการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสารคดีท่องเที่ยว วิธีการศึกษา ประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเสียง 1 ท่าน ด้านกราฟิก 2 ท่าน และด้าน โปรดักชั่น 2 ท่าน และประเมินความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 70 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาสรุปว่าการผลิตสารคดีท่องเที่ยว เรื่องร้อยคำลำปางหนา มีผลประเมินจากผู้เชียวชาญด้านกราฟิก ด้านโปรดักชั่น ด้านเทคนิคพิเศษ และด้านเสียงอยู่ในระดับดี ซึ่งคิดเป็นเกณฑ์การประเมินที่อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างด้านกราฟิกอยู่ในระดับดีมาก ด้านโปรดักชั่น ด้านเทคนิคพิเศษ และด้านเสียงอยู่ในระดับดี ซึ่งคิดเป็นเกณฑ์การประเมินที่อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และจากการประเมินผลสามารถระบุได้ว่าการผลิตสารคดีท่องเที่ยวที่เนื้อหาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

คำสำคัญ : การผลิตสารคดี, สารคดีท่องเที่ยว, ร้อยคำลำปางหนา


วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง ร้อยคำลำปางหนา
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรายการสารคดีท่องเที่ยว เรื่อง ร้อยคำลำปางหนา

ขอบเขตของการวิจัย 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยกำหนดขอบเขตของการวิจัยดังนี้

1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

 ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรามงคลธัญบุรี  ปีการศึกษา 2558

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรามงคลธัญบุรี สาขามัลติมีเดีย รหัส 5601 จำนวน 39 คน รหัส 5621 จำนวน 31 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และโดยกลุ่มตัวอย่างจะต้องผ่านการเรียนวิชาเทคนิคพิเศษและการรวมภาพ ในปีการศึกษา 1/2558

 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คณะผู้วิจัยได้กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ดังนี้

1. สารคดีท่องเที่ยวเรื่อง ร้องคำลำปางหนา
2. แบบประเมินคุณภาพของรายการสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง ร้อยคำลำปางหนา สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
3. แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรายการสารคดีท่องเที่ยว เรื่อง ร้อยคำลำปางหนา สำหรับกลุ่มตัวอย่าง

2.ขอบเขตด้านเนื้อหา

การวิจัยเรื่องการผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง ร้อยคำลำปางหนา โดยมีเนื้อหารายการที่สำคัญ ๆ  ดังนี้

1. เที่ยวจังหวัดลำปางตามคำขวัญจังหวัด ซึ่งก็คือ ถ่านหินลือชารถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล อนุรักษ์ช้างให้ลือโลก
2. ข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา
3. ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานเซรามิค อำเภอเกาะคา
4. ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร
5. ข้อมูลเกี่ยวกับรถม้าลำปาง ฟาร์มมาสันลมจอย อำเภอห้างฉัตร
6. ข้อมูลเกี่ยวกับเหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ
7. ข้อมูลเกี่ยวกับกาดกองต้า อำเภอเมืองลำปาง
8. ข้อมูลการเดินทางของแต่ละสถานที่
9. ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมแต่ละสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยว

3.ขอบเขตด้านเทคนิค

การศึกษาวิจัยเรื่องการผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง  ร้อยคำลำปางหนา โดยมี การนำเสนอผ่านเทคนิคแบบ Mix Media ที่น่าสนใจดังนี้

1. การใช้ Motion Graphic มาช่วยเป็นตัวเล่าเรื่องให้กับรายการเพื่อให้เกิด ความน่าสนใจ โดยเทคนิคที่ใช้จะใช้ในช่วงของการเปิดสารคดีและแผนที่ในแต่ละสถานที่โดยในแต่ละสถานที่จะแสดงถึงระยะทาง และตำแหน่งที่อยู่
2. ใช้การย้อมสีภาพ เพื่อเพิ่มสีสันอารมณ์ให้เข้ากับภาพ เช่นช่วงสนุกสนาน เฮฮาก็ย้อมภาพเป็นสีสดใส ทำให้ดูไม่น่าเบื่อและมีความน่าสนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น

4.ขอบเขตผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย

– ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง จำนวน 1 ท่าน
– ผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิก จำนวน 2 ท่าน
– ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรดักชั่น จำนวน 2 ท่าน

นิยามศัพท์ 

  1. สารคดี หมายถึง งานเขียนสร้างสรรค์ประเภทร้อยแก้ว ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง มุ่งเสนอความรู้ที่น่าสนใจ และความเพลิดเพลินในการรับชม โดยมีการใช้ภาษาที่ทันสมัย คมคาย งดงาม เร้าความสนใจ อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล หรือสถานการณ์
  2. สารคดีท่องเที่ยว หมายถึง รายการที่นำเสนอการท่องเที่ยวเกี่ยวกับจังหวัดลำปาง โดยผ่านคำขวัญจังหวัดลำปาง คือ ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล อนุรักษ์ช้างให้ลือโลก ซึ่งใช้โมชั่นกราฟิกเป็นเทคนิคพิเศษ
  3. ร้อยคำลำปางหนา หมายถึง คำพูดต่างๆ นา ๆ มากมายเป็นร้อยคำพูดเกี่ยวกับจังหวัดลำปาง
  4. โมชั่นกราฟิก หมายถึง งานกราฟิกที่เคลื่อนไหวได้ โดยการนำมาจัดเรียงต่อ ๆ กันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ การผสมผสานกันระหว่างงานดีไซน์กับภาพเคลื่อนไหว ก่อให้เกินเป็นตัวงานที่น่าสนใจขึ้นมา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

  1. ได้รายการสารคดีท่องเที่ยวที่ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์         ที่ดีให้กับจังหวัดลำปาง
  2. ได้ทราบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรายการสารคดีท่องเที่ยว เรื่อง ร้อยคำลำปางหนา
  3. เป็นแนวทางในการผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจต่อไป

 สรุปผลการศึกษา 

จากผลประเมินผู้เชี่ยวชาญ สรุปว่า การผลิตสารคดีท่องเที่ยว เรื่อง ร้อยคำลำปางหนา ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับดี สามารถใช้เป็นสื่อเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง ตามคำขวัญเพื่อชักจูงใจผู้คนที่สนใจมาท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง และเป็นสื่อที่นำมาใช้ได้จริง เนื้อหา และการนำเสนออยู่ในระดับดี การออกแบบกราฟิกอยู่ในระดับดี ด้านเทคนิคพิเศษทางโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) อยู่ในระดับดี และด้านเสียงประกอบ อยู่ในระดับดีเช่นกัน

จากการประเมินกลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน สรุปว่า การผลิตสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง ร้อยคำลำปางหนา ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับดี จากผลการประเมินด้านและการนำเสนออยู่ในระดับ ดี การออกแบบกราฟิกอยู่ในระดับดี ด้านเทคนิคพิเศษทางโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) อยู่ใน ระดับ ดี และด้านเสียงประกอบ อยู่ในระดับ ดี เช่นกัน

อภิปรายผลการศึกษา 

การผลิตสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง ร้อยคำลำปางหนา ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจาก อาจารย์ที่ปรึกษาและวัดผลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านเสียง ด้านกราฟิก และด้านโปรดักชั่น แล้วนำมาประเมินความพึงพอใจ กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำนวน 70 คน ซึ่งในตัวสื่อเป็นสื่อสารคดีท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง โดยมีที่หลัก ๆ ตามสถานที่ท่องเที่ยวในคำขวัญจังหวัดลำปาง และมีการนำเอาโมชั่นกราฟิกมาใส่ในตัวสื่อทำให้สารคดีมีความนาสนใจ และจากการประเมินอยู่ในระดับดี โดยแบ่งตามหัวข้อวิจัยที่นำไปประเมิน คือ ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ อยู่ในระดับดี ได้สอดคล้องกับแนวคิดของ ชนกพล ชัยรัตนศักดา , (2556: บทคัดย่อ) ในหัวข้อเรื่อง การศึกษารูปแบบและเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ศึกษาประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย ด้านออกแบบกราฟิก อยู่ในระดับ ดี ด้านเทคนิคพิเศษทางโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) อยู่ในระดับดี และในด้านออกแบบกราฟิก และด้านเทคนิคพิเศษทางโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) และได้สอดคล้องกับแนวคิดของ รุ่งนภา รุ่งบันลือศักดิ์ (2551 : บทคัดย่อ) ในหัวข้อการพัฒนาสารคดีเพื่อความน่าสนใจในการท่องเที่ยว และด้านเสียงประกอบ อยู่ในระดับดี ได้สอดคล้องกับแนวคิดของ ศศิธร สุดเจริญ (2556 : บทคัดย่อ) ในหัวข้อเรื่อง ศึกษาผลสำเร็จในกระบวนการ ผลิตสารคดีวิทยุ และสารคดี โทรทัศน์ ทำให้เสียบรรยายฟังแล้วไม่น่าเบื่อ ทั้งนี้ความคิดเห็นส่วนใหญ่พบว่า การผลิตสารคดีและเนื้อหาสารคดีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ

ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ

  1. ควรลำดับการนำเสนอเรื่องราวจากโครงหลักของการบรรยายเพื่อการเรียงลำดับของเรื่องอย่างชัดเจน
  2. เนื้อหาในเรื่องของการอธิบายใช้ได้ แต่เรื่องของภาพที่นำเสนอยังน้อยไปหน่อย
  3. ภาพน้อยไปหน่อย

ด้านออกแบบกราฟิก

  1. กราฟิกไม่ดึงดูด
  2. ตัวอักษรควรใส่สีสันดีกว่าขาวดำ
  3. ควรใส่ Transition ในการเคลื่อนไหวของกราฟิก

ด้านเทคนิคพิเศษทางโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic)

  1. มีลูกเล่นน้อยไป
  2. ควรเพิ่มโมชั่นกราฟิก เพื่อความน่าสนใจมากขึ้น

ด้านเสียงประกอบ

  1. เสียงมีจุดผิด เสียงขาดหาย
  2. ควรมีการเรียงลำดับและท่อนของเสียงประกอบให้เข้ากับโครงหลัก
  3. Sound Voice ถ้อยคำการอ่านยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่

 ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง 

  1. ควรวางพื้นฐานของเรื่องให้ดี เพื่อการลำดับต่าง ๆ จะได้มีความต่อเนื่อง
  2. ควรถ่ายภาพมาให้เยอะกว่านี้ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดต่อ และความเข้าใจของคนดู

ข้อเสนอแนะจากกรรมการ

  1. เนื้อหาและเวลาควรกระชับมากกว่านี้
  2. การเคลื่อนไหวของโมชั่นกราฟิกดูไม่ลื่นไหล
  3. ข้อมูลของแต่ละสถานที่ควรเจาะลึกมากกว่านี้

 ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย 

  1. ควรวางแผนงานให้ดี ค้นคว้าข้อมูลด้านการท่องเที่ยวว่าช่วงเดือนนี้มีเทศกาล อะไรบ้าง ช่วงเวลาไหนควรไปหรือไม่ควรไป เพื่อที่จะได้ประหยัดงบประมาณในส่วนของค่าเดินทาง หรือ สอบถามจากเพื่อนหรือผู้รู้ในท้องถิ่นว่าแต่ละเดือนมีกิจกรรมอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เตรียมการได้อย่างถูกต้อง
  2. ควรมีการใช้มุมกล้องที่หลากหลาย ใช้ขาตั้งกล้องทุกครั้งในการถ่ายทำ หากมีการใช้
    โดรนในการถ่ายภาพมุมสูง ก็จะทำให้มีมุมมองใหม่ช่วยให้สารคดีท่องเที่ยวมีความน่าสนใจ ทางด้านบทของผู้ดำเนินรายการก็ควรเขียนบทให้มีความสนุกสนาน ทำให้ผู้รับชมมีความเพลิดเพลิน นำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวลำปางให้ดูน่าท่องเที่ยว ที่ใครได้รับชมสารคดีท่องเที่ยวนี้แล้ว อยากจะมาเที่ยว ลำปาง
  3. ในฐานะผู้วิจัย คิดว่า สารคดีของเรายังขาดความน่าสนใจ ตรงที่ตัวสารคดีใช้การดำเนินเรื่องโดยใช้เสียงบรรยายเพียงอย่างเดียว ทำให้ดูไม่น่าสนใจ เราจึงคิดว่าหากผู้ดำเนินรายการที่เป็นคนท้องถิ่นของลำปางมาเป็นคนนำเที่ยวน่าจะมีความน่าสนใจและความสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ คณะผู้วิจัยจึงอยากนำปัญหาเหล่านี้แนะนำ เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยว นำไปพัฒนาต่อ

ปัญหาและอุปสรรค 

  1. สมาชิกเวลาไม่ตรงกันทำให้ไม่ครบองค์ประชุม
  2. รูปแบบรายการที่คิดไว้กับรูปแบบที่ออกมาไม่เหมือนกัน
  3. ตามหาบุคคลที่จะมาอัดเสียง voice over ที่มีความน่าเชื่อถือยาก
  4.  การทำงานไม่เป็นไปตามตารางการถ่ายทำ ทำให้แผนคลาดเคลื่อน
  5. ระยะทางในการเดินทางไปสำรวจพื้นที่ ไปถ่ายทำ ไปถ่ายแก้งาน ใช้งบประมาณเยอะ
  6.  สภาพอากาศไม่เป็นใจขณะถ่ายทำ
  7. อุปกรณ์บางอย่างชำรุดขณะถ่ายทำ ทำให้เสียเวลาในการทำงาน
  8. ถ่ายฟุตเทจมาไม่เพียงพอต่อการตัดต่อ ทำให้ภาพบางมุมไม่สวย
  9. สคริปรายการหล่นหายช่วงที่ไปถ่ายทำ
  10. ลืมบันทึกงานและคอมพิวเตอร์มีอาการแฮงค์บ่อยทำให้งานล่าช้า
  11. ตามหาผู้เชี่ยวชาญที่ตรงตามผลงานยาก

รับชมผลงาน