The study and develop the packaging products of community products to enhance the quality and increase the potential for exportation 

นักวิจัย จันทร์ประภา พ่วงสุวรรณ  อัครเดช ทองสว่าง และมนทิพย์  ล้อสุริยนต์

ปีที่พิมพ์ 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าชุมชนให้มีศักยภาพอันจะนําไปสู่การส่งออก โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาตัวบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและนําไปสู่การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้ทําการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด ได้แก่ มะม่วงอบแห้ง ลําไย อบแห้ง และปลาร้าอบก้อน ซึ่งผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้ง และลําไยอบแห้ง เป็นสินค้าชุมชุนที่ยังไม่ได้มีหน่วยงานใดเข้าไปพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ สําหรับผลิตภัณฑ์ปลาร้าอบก้อนได้มีการพัฒนาตัวบรรจุภัณฑ์โดยทางเจ้าของผู้ผลิตในเบื้องต้นแต่ก็ยังมีปัญหาในด้านการพิมพ์และการใช้สีในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ในการวิจัยในครั้งนี้ได้มีการนําวิธีทางจิตวิทยาฟิสิกส์ (Psychophysical) มาใช้ในการหาสีที่จะนํามาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยใช้แนวคิดจากสีในความทรงจํา (Color memory) และการจินตนาการสี (Color imaginary) เมื่อนึกถึงผลิตภัณฑ์นั้น ๆโดยให้ผู้สังเกตเลือกสี ในความทรงจําจากสมุดสีมันเซลล์ (Munsell color book) เพื่อหากลุ่มโทนสีที่จะนํามาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจากผลการวิจัยในครั้งนี้เราได้กลุ่มสีที่เป็นตัวแทนหรือสามารถสื่อถึง ผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้ง ลําไยอบแห้ง และปลาร้าอบก้อน และการนําสีที่ได้จากการทดลองในขั้นต้นมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ก็สามารถทําให้เจ้าของผลิตภัณฑ์ยอมรับและมีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นทั้งในรูปแบบถุงและกล่องกระดาษ

คําสําคัญ: บรรจุภัณฑ์, สีในความทรงจํา, มะม่วงอบแห้ง, ลําไยอบแห้ง, ปลาร้าอบก้อน


 วัตถุประสงค์ 

เพื่อพัฒนาสินค้าชุมชนให้มีศักยภาพอันจะนําไปสู่การส่งออก โดยมุ่งเน้นกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีองค์ประกอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้กับสินค้าชุมชน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

  1. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับเทศกาลและแนวโน้มทางการตลาดรวมถึงเป็นไปตาม ข้อกําหนดต่าง ๆ ของการทําบรรจุภัณฑ์
  2. ศึกษาและจัดทํากระบวนการนําสินค้าส่งออกให้กลุ่มชุมชนหรือตัวแทนให้มีความเข้าใจและสามารถใช้ได้จริง

ขอบเขตการวิจัย

สินค้าชุมชนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งหมด 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มะม่วงอบแห้ง ลําไย อบแห้ง และปลาร้าก้อน วิธีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ประเด็นที่หนึ่งคือจะหากลุ่มสีที่อยู่ในความทรงจําหรือ ในจินตนาการของกลุ่มผู้บริโภคสินค้า ประเด็นที่สองพัฒนาบรรจุภัณฑ์รวมทั้งกราฟิกต่าง ๆ บนตัวบรรจุภัณฑ์โดยใช้กลุ่มสีที่ได้มาจากประเด็นที่หนึ่ง และให้สอดคล้องกับข้อกําหนดของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการส่งออก และประเด็นที่สาม คือ การหาความพึงพอใจของบรรจุภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นจากกลุ่มผู้ซื้อ สินค้า

คํานิยามศัพท์เฉพาะ

สีในจินตนาการ (Imaginary color) เมื่อนึกถึงผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเรานึกถึงสีใด หรืออยากจะให้มีสีใด

สีในความทรงจํา (Memory color) สีที่เราจําได้หรือเคยเห็นมาก่อน เช่น เมื่อนึกถึงกล้วย สีที่อยู่ในความ ทรงจําของเราก็คือสีเหลือง เป็นต้น

ระบบสีมันเซลล์(Munsell color system) ระบบสีที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ สีสัน (Hue) ความสว่าง (Value) และความอิ่มตัวสี (Chroma) โดยระบบสีนี้จะกําหนดค่าสีด้วย สัญลักษณ์ HV/C

ผู้สังเกต (Subject) ผู้ที่มาร่วมในการทําการทดลอง หรือผู้ตอบแบบสอบถาม

จิตวิทยาฟิสิกส์ (Psychophysical) การทดลองทางจิตวิทยาที่ใช้ในการเลือกสีที่อยู่ในความทรงจํา ความคิด ของผู้สังเกตเมื่อนึกถึงผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้ง ลําไยอบแห้ง และปลา ร้าอบก้อน

ภาพคลี่ (2D) ภาพในลักษณะสองมิติของบรรจุภัณฑ์ที่มีลวดลายกราฟิก ก่อนนําไปขึ้น รูปเป็นบรรจุภัณฑ์ในลักษณะสามมิติ

ระบบการพิมพ์ (Printing system) หมายถึงระบบการพิมพ์ดิจิตอลและระบบการพิมพ์ออฟเซต

ระบบสี L*a*b*  ระบบสีที่มีค่าความสว่าง L* มีค่าตั้งแต่ 0-100 โดย 0 คือมืดสุด และ 100 หมายถึงสว่างสุด และค่า a* คือสีแดงเมื่อมีค่าเป็นบวก และเป็นสีเขียวเมื่อมีค่าเป็นลบ ค่า b* บอกถึงสีเหลืองเมื่อเป็นบวก และเมื่อเป็นลบจะบอกค่าสีน้ําเงิน


สรุปผลการทดลอง

การวิจัย เรื่อง พัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้าและเพิ่มศักยภาพเพื่อการส่งออก ได้มีวัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าชุมชนให้มีศักยภาพอันจะนําไปสู่การส่งออก โดยมุ่งเน้นกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงขั้นตอนการผลิตจัดมาตรฐานการผลิต เพื่อมุ่งเป้าการผลิตสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพ และนําไปสู่การส่งออก ให้กับกลุ่มชุมชน บรรจุภัณฑ์มีหน้าที่หลักในการปกป้องตัวผลิตภัณฑ์ และหน้าที่รองที่มีความสําคัญอย่างมากก็คือ การโฆษณา ซึ่งในตัวบรรจุภัณฑ์จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อสินค้า ตราสินค้า สัญลักษณ์ ทางการค้า รายละเอียดของตัวสินค้า รายละเอียดการส่งเสริมการขาย รูปภาพ ส่วนประกอบของสินค้า ปริมาตร หรือปริมาณ ชื่อผู้ผลิตสินค้า วันผลิต วันหมดอายุ ราคา การเก็บรักษา วิธีใช้สินค้า เป็นต้น โดย ส่วนใหญ่การออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นนอกจากการใส่ข้อกําหนดต่างๆ ไปในตัวบรรจุภัณฑ์แล้วยังจะต้องมีการคํานึงถึงการใช้สี การใช้ลวดลายกราฟิก เพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกับตัวสินค้าด้านในบรรจุภัณฑ์ เป็นที่ทราบกันดีว่าการรับรู้ในตัวบรรจุภัณฑ์โดยส่วนใหญ่จะมาจากการรับรู้ด้วยการมองเห็น (Perception) ซึ่งการรับรู้ด้วยการมองเห็นนั้นมีบทบาทในการดํารงชีวิตของมนุษย์ถึง 83 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นในงานวิจัย นี้จึงได้นําเทคนิคการค้นหาสีในความทรงจํา (Color memory) มาใช้ในการหาสีที่เรามีความทรงจํา หรือจินตนาการถึงเมื่อนึกถึงผลิตภัณฑ์ที่กําหนด ได้แก่ มะม่วงอบแห้ง ลําไยอบแห้ง และปลาร้าก้อนอบ จากผลการทดลองให้ผู้สังเกตแต่ละคนเลือกสีในความทรงจําต่อตัวผลิตภัณฑ์มาอย่างละ 5 สี จากสมุด มันเซลล์นั้น ทั้งสามผลิตภัณฑ์ผู้สังเกตได้เลือกสีสัน (Hue) จากสมุดสีมันเซลล์ในสี 10YR และ 7.5YR ที่ มีความถี่สูงสุดทั้งผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้ง ลําไยอบแห้ง และปลาร้าอบก้อน สําหรับในด้านความสว่าง (Value) ผู้สังเกตจะเลือกสีที่มีความสว่างค่อนข้างสูงสําหรับมะม่วงอบแห้งที่ 7-8 ในขณะที่ลําไยอบแห้ง และปลาร้าอบก้อน ค่าความสว่างของสีที่ผู้สังเกตมีความถี่ในการเลือกอยู่ในช่วง 3-4 เมื่อพิจารณาจาก ค่าความสว่างของสีที่ผู้สังเกตเลือกก็สามารถคาดเดาถึงความอิ่มตัวของสีได้โดยอัตโนมัติ โดยค่าความอิ่มตัว (Chroma) จะมีค่าค่อนข้างสูงสําหรับมะม่วงอบแห้งในช่วง 8-10 ในขณะที่ลําไยอบแห้งจะอยู่ที่ ประมาณ 6 และปลาร้าอบแห้งมีค่าความอิ่มตัวอยู่ที่ 4 ซึ่งจากผลการทดลองนี้บอกเป็นนัยว่าคนเราส่วนใหญ่จะนึกถึงสีจากตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มาเป็นตัวแทนสีของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งการแสดงขอบเขตสีที่เป็นตัวแทนของสีในความทรงจําหรือในจินตนาการนี้ก็จะช่วยทําให้เราใช้สีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ผู้บริโภคสามารถจดจําได้ว่าสีของบรรจุภัณฑ์ที่เห็นนั้นจะเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใด และทําให้ง่าย ต่อการจดจํา

เมื่อเราได้กลุ่มสีที่เป็นตัวแทนของสีในผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้ง ลําไยอบแห้ง และปลาร้าอบก้อนแล้วผู้วิจัยจึงได้นําสีดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ทั้งสาม ชนิด และงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการสอบถามความพึงพอใจกับผู้ประกอบการหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก เนื่องจากเป็นการใช้เทคนิคของการใช้สีที่อยู่ในกลุ่มของความทรงจําและในจินตนาการ ผู้วิจัยจึงต้องการ ให้เจ้าของผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจ ซึ่งในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดนี้เมื่อ พิจารณาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดจะผ่านการอบ การทําแห้ง ดังนั้นวัสดุที่เลือกใช้ในการทําบรรจุภัณฑ์ชั้นต้น ควรจะมีสมบัติการป้องกันความชื้นและอากาศที่จะเข้าไปทําให้ตัวผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหายได้ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองเป็นกล่องกระดาษ ผู้วิจัยได้พิจารณาถึงต้นทุนในการผลิตรวมถึง ระบบการพิมพ์ที่เหมาะสมกับวัสดุที่เป็นพลาสติก และที่เป็นกระดาษ ดังนั้นจึงได้ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ออกมาเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ในรูปแบบถุงพลาสติกที่มีการปิดด้วยการใช้ซิปล็อค ซึ่งจะมีการใช้งานที่ง่ายเมื่อทานไม่หมดก็สามารถปิดเพื่อป้องกันความชื้นได้ และที่สําคัญการใช้ถุงพลาสติกเคลือบฟอยล์ที่มีซิปล็อคนี้ไม่จําเป็นต้องมีการใช้พลาสติกสําหรับเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นแรก และในรูปแบบกล่องกระดาษ

เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตมียอดการจําหน่ายไม่สูงมากดังนั้นการพิมพ์ตรงลงบนตัวพลาสติกที่เป็นถุง ซิปล็อคจึงทําให้มีการลงทุนล่วงหน้า ผู้วิจัยจึงได้นําเสนอวิธีการพิมพ์ลงบนสติ๊กเกอร์และนําไปติดบนตัว ถุงพลาสติกแทน ก็จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต และสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลของตัวบรรจุภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มาก สําหรับบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ จะพิมพ์ด้วยระบบการพิมพ์ออฟเซตที่มีจํานวนพิมพ์ค่อนข้างมากในการเริ่มต้น แต่งานที่ออกมาจะมีคุณภาพสูง การผลิตบรรจุภัณฑ์รูปแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากเมื่อทําการพิมพ์เสร็จก็จะต้องนําแผ่นพิมพ์ไปทําการอัดตัดตามแม่แบบ (Diecut) ให้เป็นภาพคลี่ก่อนนําไปขึ้นรูปใช้งานจริง แต่กล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษจะมีข้อดีในเรื่องของการซื้อเพื่อไปเป็นของฝากตามเทศกาลต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องมีการนําไปห่อเป็นของขวัญอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้การออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ทางการขาย แต่สิ่งที่ควรคํานึงเนื่องจากทั้งสามผลิตภัณฑ์ที่ผู้วิจัยได้ทําการพัฒนานี้ล้วนแล้วแต่เป็นของที่ไว้สําหรับบริโภคดังนั้นการพัฒนากระบวนการผลิตจนสามารถได้การรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. ก็จะทําให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีความน่าเชื่อถืออีกทางหนึ่งด้วย