Users’ Attitudes towards Signpost System in Rajamangala University of Technology Thanyaburi

นักวิจัย ศรชัย บุตรแก้ว และวิภาวี วีระวงศ์

ปีที่จัดพิมพ์ 2558


บทคัดย่อ (Abstract) 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบันของป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและเพื่อศึกษาต้องการและความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการพัฒนาป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 400 คน กลุ่มที่ 2 อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 333 คน กลุ่มที่ 3 ประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพในปัจจุบันเกี่ยวกับป้ายนำทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและแบบสอบถามความคิดเห็นคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับปรุงป้ายนำทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจต่อป้ายำทางในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าในด้านความสวยงามมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ในภาพรวมผู้ใช้บริการทั้งหมดมีความต้องการปรับปรุงป้ายนำทางภายในมหาวิทยาลัยในประเด็นที่สำคัญได้แก่ ในตอนกลาง คืนควรมีไฟส่องสว่างชัดเจนที่ป้ายนำทาง คิดเป็นร้อยละ 89.91, ป้ายนำทางควรมีสีสันสดใสคิดเป็น ร้อยละ 81.27, และเห็นว่าป้ายนำทางควรมีมากกว่า 1 ภาษา คิดเป็นร้อยละ 81.03 และในภาพรวม เห็นว่าควรมีการปรับปรุงป้ายนำทางภายในมหาวิทยาลัยคิดเป็นร้อยละ 75.57

คำสำคัญ:  การสำรวจความคิดเห็น, ระบบป้ายสัญลักษณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบันของป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อศึกษาต้องการและความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการพัฒนาป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อการพัฒนาปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. ได้แนวคิดกรอบการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่ตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการภายในมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี

ขอบเขตการศึกษา 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ผู้ใช้บริการป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2557 จ านวน 22,878 คน

กลุ่มที่ 2 อาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปี การศึกษา 2557 จ านวน 1,887 คน

กลุ่มที่ 3 ประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น

กลุ่มที่ 1 นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2557 จำนวน 400 คนได้มาจาการการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)

กลุ่มที่ 2 อาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2557 จ านวน 333 คนได้มาจาการการสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multi-stage Sampling)

กลุ่มที่ 3 ประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 100 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Selection)

 นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการศึกษา 

  1. ป้ายสัญลักษณ์ หมายถึง แผ่นเครื่องหมายแสดงวัตถุ รูปร่าง หรือตัวอักษร
  2. ป้ายสัญลักษณ์บอกทาง หมายถึง แผ่นเครื่องหมายแสดง วัตถุ รูปร่าง หรือตัวอักษร เพื่อแสดงเส้นทางจราจร หรือที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ๆ ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง
  3. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ทัศนะ หรือความชอบใจต่อป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  4. ความคิดเห็น หมายถึง การแสดงออกด้านความรู้สึกความเชื่อ หรือการตัดสินใจต่อป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  5. ผู้ใช้บริการ หมายถึง  อาจารย์  พนักงานมหาวิทยาลัย นักศึกษาประชาชน หรือบุคคลทั่วไปที่มาติดต่อราชการ ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สรุปผล

  1. ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อสภาพในปัจจุบันของป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในระดับปานกลาง
  2. ผู้ใช้บริการมีความต้องการและความคิดเห็นต่อการปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 75.57

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 

จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่านักศึกษาอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและผู้ใช้บริการทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีความพึงพอใจต่อป้ายสัญลักษณ์นำทางภายในมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.43, S.D=.211) เนื่องจากการออกแบบป้ายสัญลักษณ์ที่ดีควรจะต้องมีคุณสมบัติของป้ายสัญลักษณ์ที่ดี จะต้องมองเห็นได้ง่ายอ่านและเข้าใจได้ง่าย สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับแนวความคิดของ เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา (2543) คือ ป้ายสัญลักษณ์ที่ดีจะต้องมีความโดดเด่นแยกจากสภาพแวดล้อมและป้ายจะต้องสามารถทำให้ผู้มองสามารถอ่านเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในป้ายได้อย่างครบถ้วน ตีความหมายได้อย่างถูกต้อง ไม่ทำให้เกิดความสับสนหลังจากการมองเห็นและการอ่านป้าย ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ป้ายสัญลักษณ์มีประสิทธิภาพแบ่งออกเป็น รูปร่างของป้าย วัสดุสำหรับป้าย สีของป้าย อักษรบนป้าย เครื่องหมายสัญลักษณ์ภาพและการจัดวางบนแผ่นป้ายสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับแนวความคิดของ ทองเจือ เขียดทอง (2542 : 85) ที่กล่าวว่าในการพิจารณาคุณลักษณะของเครื่องหมายที่ดี ควรจะพิจารณาในเรื่องของ เอกลักษณ์ของสี (Color individuality) ควรเลือกสีที่เหมาะสมกับธุรกิจ /การค้า และการกำหนดสีควรเป็นเอกลักษณ์และแตกต่างไปจากธุรกิจประเภทเดียวกันนอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึง ความสวยงามของคู่สี และความเด่นชัดสะดุดความสนใจสัญลักษณ์ควรมีความหมายหรือเนื้อหาและผู้บริโภคเข้าใจหรือรู้สึกที่ได้จากภาพที่ปรากฏและที่สำคัญคือความน่าเชื่อถือ (Reliability) รูปแบบของสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายควรให้คนมองแล้วเกิดความศรัทธา น่าเชื่อถือสัญลักษณ์ควรมีความหมาย หรือเนื้อหาและผู้บริโภคเข้าใจหรือรู้สึกที่ได้จากภาพที่ปรากฏ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ถิรา วีรกุล (2545: บทคัดย่อ) :ซึ่งได้ศึกษาการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับเด็กไทย โดยอาศัยทฤษฎีการเชื่อมโยงมโนภาพ เป้าหมายของงานวิจัยนี้ก็เพื่อหาแนวทางการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับเด็กไทยที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม และได้มาตรฐานสากล โดยอาศัยทฤษฎีการเชื่อมโยงมโนภาพ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยหลักความคิดและมโนภาพของมนุษย์ ในการวิจัย เช่นเดียวกับงานวิจัยของ รัฐธนินท์ พราหมณีนิล (2552: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ และเฟอร์นิเจอร์ถนนที่แสดงเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบุคลิกภาพและเอกลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดเพชรบุรี ศึกษาการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์และเฟอร์นิเจอร์ถนนที่แสดงเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี และประเมินผลการออกแบบกับประชากรศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เกี่ยวกับจังหวัดเพชรบุรีและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบการตอบแบบสอบถามจากประชาชนจังหวัดเพชรบุรีและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี

ในส่วนของความต้องการในการปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์นำทางของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีพบว่าในภาพรวมผู้ใช้บริการทั้งหมดมีความต้องการในการปรับปรุงป้ายนำทาง ภายในมหาวิทยาลัยในประเด็นที่สำคัญได้แก่เห็นว่า ในตอนกลางคืนควรมีไฟส่องสว่างชัดเจนที่ป้ายนำทาง คิดเป็นร้อยละ 89.91 , ป้ายนำทางควรมีสีสันสดใสคิดเห็นร้อยละ 81.27, และเห็นว่าป้ายนำทาง ควรมีมากกว่า 1 ภาษา คิดเป็นร้อยละ 81.03 และในภาพรวมเห็นว่าควรมีการปรับปรุงป้ายนำทาง ภายในมหาวิทยาลัยคิดเป็นร้อยละ 75.57 ทั้งนี้เนื่องจากป้ายนำทางที่ดีควรมีการสื่อสารกับผู้คน และสามารถอำนวยประโยชน์กับผู้คนที่สัญจรไปมาได้อย่างถูกต้องตรงกับแนวคิดของ เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา (2543) ที่กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ป้ายสัญลักษณ์มีประสิทธิภาพแบ่งออกเป็น รูปร่างของป้าย วัสดุสำหรับป้าย สีของป้าย อักษรบนป้าย เครื่องหมายสัญลักษณ์ภาพและการจัดวางบนแผ่นป้ายสัญลักษณ์ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สายชนนี รัศมีไพฑูรย์ (2547: บทคัดย่อ) ซึ่งได้ ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการออกแบบป้ายสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมจริยธรรมสำหรับวัยรุ่น ได้แก่ 1. ป้ายภาพสัญลักษณ์ 2. ป้ายข้อความ 3. ตัวอักษรตัวธรรมดาไม่มีฐานแบบตัวหนา 4. สี สีเหลือง เป็นสี พื้นป้ายสัญลักษณ์และสีตัวอักษรสีแดง เป็นสีขอบป้ายสัญลักษณ์และบริเวณที่ต้องการสร้างจุดเด่น สี ดำ เป็นสีรูปสัญลักษณ์และพื้นป้ายข้อความ ผลการทดสอบหลังการออกแบบพบว่า ผลงานออกแบบสามารถสร้างความเข้าใจและก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมต่อเด็กวัยรุ่นได้ดีเมื่อมีทั้งข้อความและภาพสัญลักษณ์ร่วมกัน และให้ประสิทธิผลตรงตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ คือ ป้ายสัญลักษณ์ที่นำเอาหลักของ จริยธรรมมาผสมผสานในการออกแบบ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีในเรื่องของจริยธรรมให้แก่เยาวชนได้เช่นเดียวกับการศึกษาของ สาธิมน พงษ์วัฒนาสุข (2544) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการหาทิศทางในภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการหาทิศทาง คือ การจัดระเบียบผังทางสัญจรการมองเห็นได้จุดอ้างอิง เนื้อหา และขอบแต่ละปัจจัยมีความสำคัญแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ ณ จุดตัดสินใจต่าง ๆ โดยสถานการณ์ที่กล่าว นั้นเกิดจากสภาวะทางกายภาพและสภาวะจิตใจของบุคคลต่อจุดตัดสินใจ ประกอบกับสภาวะทาง กายภาพและสภาวะทางจิตใจของบุคคลต่อจุดหมาย โดยผลสรุปสุดท้ายสามารถสรุปปัจจัยกายภาพที่สำคัญในแต่ละสภาวะและประมวลสถานการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด 54 สถานการณ์

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 

  1. ควรศึกษาวิจัยลึกลงไปในรายละเอียดของการออกแบบป้ายสัญลักษณ์นำทางในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการใช้สีที่เหมาะสม หรือ ด้านการใช้ตัวอักษรที่ทำให้อ่านง่ายและเด่นสะดุดตา
  2. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสร้างป้ายนำทางแบบอัจฉริยะที่สามารถพูดได้ หรือใช้รหัสผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เป็นต้น