Comparison of poster media for anti-animal cruelty campaign between positive and negative persuasions

โดย อังศุมาลิน กองสมัคร

ปี 2559 


บทคัดย่อ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อโปสเตอร์การรณรงค์การไม่ทารุณกรรมสัตว์ระหว่างการโน้มน้าวใจเชิงบวก และเชิงลบ และเพื่อเปรียบเทียบผลการโน้มน้าวใจต่อสื่อโปสเตอร์รณรงค์การไม่ทารุณกรรมสัตว์เชิงบวก และเชิงลบ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้มาโดยการใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์รณรงค์การไม่ทารุณกรรมสัตว์เชิงบวก และเชิงลบซึ่งได้จากการวิเคราะห์ระดับของความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และแบบสอบถามความโน้มน้าวใจที่มีต่อสื่อโปสเตอร์รณรงค์การไม่ทารุณกรรมสัตว์เชิงบวก และเชิงลบ มีจำนวนทั้งหมด 36 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ Dependent Samples t-test

ผลการศึกษาพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อภาพรวมความเหมาะสมของสื่อโปสเตอร์รณรงค์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดส่วนผลการโน้มน้าวใจของสื่อโปสเตอร์รณรงค์เชิงบวก และเชิงลบ พบว่า ด้านเนื้อหา และด้านการออกแบบมีความโน้มน้าวใจอยู่ในระดับมากเท่ากัน ส่วนด้านสื่อความหมาย มีระดับการโน้มน้าวใจที่แตกต่างกัน โดยมีความแตกต่างกันในส่วนของการโน้มน้าวใจต่อข้อความที่ใช้ และ การโน้มน้าวใจต่อภาพรวมทั้งหมดของสื่อโปสเตอร์ สรุปได้ว่าสื่อโปสเตอร์รณรงค์การไม่ทารุณกรรมสัตว์ระหว่างการโน้มน้าวใจเชิงบวก และเชิงลบ มีความแตกต่างกันต่อการโน้มน้าวใจของผู้รับสื่อในด้านของการสื่อความหมาย จากการใช้ข้อความและภาพที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract

This study was aimed to develop media posters, both positive and negative persuasive aspects, in the campaign of anti-animal cruelty and to compare the results of their persuasive potentials.

The participants of this study were 100 bachelor’s degree students, selected via the purposive sampling method, in the Faculty of Management Science, ChandrakasemRajabhat University. The research instruments were the media posters with both positive and negative persuasive types in the campaign of anti-animal cruelty which were analyzed and validated by three experts, and a questionnaire survey consisting of 36 items to examine the levels of persuasion of each type of the posters. The statistical tools used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test.

The major findings revealed that the experts’ opinions on the overview of the appropriateness of the two types of the campaign posters were at the highest level. The content and design of the both posters, in addition, could equally influence the viewers at the high level. However, the conveyed meanings indicated the different level of persuasion in terms of the messages and the overview of the posters. This meant that the two types of the media posters could influence the viewers from the meaning conveyed by using different messages and pictures with the statistical significance level at .05.

 

Downloadการเปรียบเทียบสื่อโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์การไม่ทารุณกรรมสัตว์ระหว่างการโน้มน้าวใจเชิงบวกและเชิงลบ