Electrically controlled transdermal drug delivery from natural rubber latex

โดย อภิสิทธิ์ บาลเพียร

ปี 2559


บทคัดย่อ 

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการขึ้นรูปยางโปรตีนต่ำที่มีพลาสติไซเซอร์ชนิดต่างๆ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้เป็นแผ่นแปะยาโดยน้ำยางเข้มข้นถูกนำมาลดโปรตีนด้วยกระบวนการสปอนนิฟิเคชั่นโดย ชนิดพลาสติกไซเซอร์ที่สนใจ คือ น้ำมันซิลิโคน ไดบิวทิลพาทาเลต เอทิลีนไกลคอล โพรไพลีน ไกลคอล พอลิเอทิลีนไกลคอล และ กลีเซอรีน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาผลของแรงดันไฟฟ้าต่อสมบัติทางกายภาพ ความเป็นพิษ และพฤติกรรมการแพร่ผ่านออกของยา โดยศึกษาด้วยการใช้ Modified franz diffusion cell ที่ pH 7.4 อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 72 ชั่วโมง ภายใต้การกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าแรงดัน 0 – 9 V ซูลินแดคถูกเลือกเป็นยามีขั้วต้นแบบ

ปริมาณธาตุไนโตรเจนเพื่อยืนยันความสำเร็จในการเตรียมน้า ยางโปรตีนต่ำโดยน้ำยางโปรตีนต่ำที่เตรียมได้นั้นมีปริมาณไนโตรเจนเหลือเพียง 0.01431 %w/w และน้ำมันซิลิโคนถูกเลือกเป็นพลาสติกไซเซอร์ต้นแบบในการขึ้นรูปแผ่นแปะยา เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมกว่าพลาสิติกไซเซอร์ตัวอื่น และไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ ในระบบที่ไม่มีการกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าจากภายนอก พฤติกรรมการซึมผ่านของยาซูลินแดคมีปริมาณยาที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแผ่นแปะยาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและคงที่เมื่อเวลาผ่านไป 20 ชั่วโมง ในระบบที่มีการกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าจากภายนอก ปริมาณและอัตราเร็วในการซึมผ่านยามากกว่าระบบที่ไม่มีการกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้า เนื่องจากเมื่อมีการกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าจากภายนอกเกิดแรงผลักทางไฟฟ้าผลักยาออกมา และขณะเดียวกันก็เกิดรูพรุนในยางธรรมชาติขึ้นด้วย เมื่อเพิ่มแรงดันทางไฟฟ้า แรงผลักทางไฟฟ้าและรูพรุนที่เกิดขึ้นก็มากขึ้นทำให้ยาที่ออกมามีปริมาณมากขึ้น

ดังนั้นปริมาณปริมาณยาและอัตราการซึมผ่านของยา สามารถควบคุมได้ด้วยการควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการกระตุ้นระบบนำส่งยาสำหรับประยุกต์ใช้เป็นแผ่นแปะยาที่ไม่เป็นพิษได้


Abstract

This research aimed to study the fabrication of deprotienized natural rubber (DPNR) latex using various types of plasticizer for drug patch application. This latex was deproteinized its protein by saponification process. The focus plasticizers were silicon oil, dibutyl phthalate, ethylene glycol, propylene glycol, polyethylene glycol, and glycerin. Besides, the effect of electrical potential on physical property, cytotoxicity and drug permeation was investigated by using modified franz diffusion cell at pH 7.4, 37°C for 72 hours with 0 – 9 electrical potential. Sulindac was selected as model anionic drug.

The successful of DPNR preparation was confirmed by the amount of nitrogen at 0.01431% wt. Silicone oil was selected as a suitable plasticizer model for transdermal drug delivery drug patch application because its physical property was more suitable and there was no toxicity on human cell. Without applying external electric field, the amount of Sulindac drug permeation rapidly increased and remained constant after 20 hours. Under the application of external electric field, the amount and rate of drug permeation were greater than non-electric field system. When the external electric field was applied, the repulsive force between electrode and anioic drug and pore formation in DPNR were generated. When increasing electrical potential, drug permeation and pore formation also increased resulting in greater amount of permeation drug.

Consequently, the amount and rate of drug permeation could be controlled by adjusting the electrical potential for drug delivery system used in nontoxic patch application.

 

Downloadการควบคุมการนำส่งยาผ่านผิวหนังจากน้ำยางธรรมชาติด้วยไฟฟ้า