Audio Tales for Visually Impaired Student

นักวิจัย ศักดา ส่งเจริญ

ปีที่จัดพิมพ์ 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนานิทานเสียงเพื่อความบันเทิงโดยสอดแทรกความรู้และคุณธรรม สำหรับนักเรียนพิการทางการมองเห็น ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนพิการทางการมองเห็นที่มีต่อการฟังนิทานเสียง ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดย มีวิธีการวิจัยคือ ผู้วิจัยได้พัฒนานิทานเสียง โดยสังเคราะห์เสียงเอฟเฟค เสียงดนตรีประกอบ ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาประกอบในนิทานเพื่อสร้างอรรถรสในการฟัง และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนผ่านเสียงที่สังเคราะห์ขึ้น จากนั้นนำไปให้นักเรียนฟัง และสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการรับฟัง ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนพิการทางการมองเห็นที่มีต่อการฟังนิทานเสียงมี ค่าเฉลี่ย 4.58 อยู่ในระดับดีมาก

คำสำคัญ: นิทานเสียง, ผู้พิการทางสายตา, สังเคราะห์เสียง


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนานิทานเสียงเพื่อความบันเทิงโดยสอดแทรกความรู้และคุณธรรม ส าหรับนักเรียนพิการทางการมองเห็น
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนพิการทางการมองเห็นที่มีต่อการฟังนิทานเสียง ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6

ขอบเขตของโครงการวิจัย

  1. ด้านเนื้อหา นิทานเสียงมีทั้งสิ้น 20 เรื่อง ระยะเวลาเรื่องละ 5-10 นาที ขอบเขตของเนื้อหา นั้น เป็นนิทานเสียงที่แต่งขึ้นใหม่ทั้งหมดส าหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตามหลักการ สร้างนิทาน ที่ประกอบด้วยเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร เสียงบรรยาย เสียงพากษ์ เสียงประกอบ เป็นต้น โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ  เนื้อหาสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ เช่น ความกตัญญู พิษภัยของอบายมุข การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การยอมรับความเห็นต่าง การยอมรับในความต่างระหว่างบุคคล เป็นต้น
  2. ด้านเทคนิค ในการนิทานเสียงเพื่อปลูกฝังคุณธรรมด้านต่างๆนี้ กระบวนการผลิตจะไม่ ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ทั้งเนื้อหาและดนตรีประกอบ  จึงได้ผสมผสานเทคนิคต่าง ๆ ในการสร้างเสียง จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างเสียงเอฟเฟค ดนตรีประกอบ เสียงแบคกราวน์ เช่น การใช้ Instruments (Analog Drum Rack Operator Sampler etc.) การใช้งาน External Plug-Ins ต่าง ๆ ในการสร้างดนตรีประกอบ การปรับค่าต่าง ๆ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถสื่ออารมณ์จากดนตรีได้ดี
  3. การนำเสนอ อยู่ในรูปแบบของไฟล์โปรเจค ที่สามารถนำไปใช้ในงานอื่น ๆ ต่อไปได้อีก ทั้งนี้ นิทานเสียงที่ได้จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล โดยอัฟโหลดขึ้นไปบนเซิฟเวอร์เพื่อสตรีมมิงผ่านเว็บเซอร์วิสต่าง ๆ โดยกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเว็บสตรีมมิง
  4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากร คือ นักเรียนผู้พิการทางสายตาในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6
    2. กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนผู้พิการทางสายตาในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6  จำนวน 30 คน เลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
  5. ตัวแปรที่ใช้ในงานวิจัย
    1. ตัวแปรต้น คือ นิทานเสียงเพื่อความบันเทิงโดยสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรม
    2. ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของสื่อเสียง ความพึงพอใจของการฟังสื่อเสียง
  6. นิยามศัพท์เฉพาะ
    1. คนพิการทางสายตา หมายถึง คนที่มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยครอบคลุมถึงระดับสายตาเลือนลางจนถึงตาบอดสนิท  ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้พิการทางสติปัญญา
    2. นิทานเสียง หมายถึง นิทานที่แต่งขึ้นใหม่ตามองค์ประกอบของการแต่งนิทานโดยมีเสียงพากษ์ประกอบกับเสียงเอฟเฟค เสียงดนตรี เสียงประกอบต่าง ๆ ที่ทำขึ้นใหม่
    3. ความพึงพอใจ หมายถึง ระดับความรู้สึกหรือความประทับใจของคนพิการทางสายตาที่มีต่อสื่อเสียงสำหรับคนพิการทางสายตา

ขั้นตอนการวิจัย

  1. การพัฒนานิทานเสียงสำหรับคนพิการทางสายตา
    1. ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตนิทานเสียงเพื่อคนพิการทางสายตา หลักการและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ของคนพิการทางสายตา เสียงกับการสื่อความหมาย ดนตรีและ เสียงประกอบ เป็นต้น
    2. ศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาเสียง เช่น โปรแกรมสร้างเสียงสังเคราะห์ โปรแกรมตัดต่อเสียง การบันทึกเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงพากษ์ เสียงประกอบ เสียงเอฟเฟค เสียงดนตรี ตลอดจนเสียงธรรมชาติ
    3. ขั้นตอนการเขียนและพัฒนาบทสำหรับการผลิตสื่อเสียงสำหรับคนพิการทางการมองเห็น โดยให้มีเนื้อหาสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และความบันเทิง
    4. ขั้นดำเนินการพัฒนาสื่อเสียง การพากษ์ การออกแบบเสียงด้วยโปรแกรม การสร้างดนตรีและเสียงประกอบ เสียงเอฟเฟค ตลอดจนการบันทึกเสียง ตัดต่อเสียง จากนั้น Export ออกมาในรูปแบบไฟล์ และน าขึ้นเซิฟเวอร์ เพื่อเผยแพร่ผ่านระบบสตรีมมิง
    5. นำเสียงที่ได้ไปทดสอบกับผู้พิการทางสายตา บันทึกข้อมูล
    6. วิเคราะห์และประเมินผล
    7. สรุปผลการศึกษา
  2. การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ
    1. ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงออกแบบประเมินส าหรับการพัฒนาสื่อเสียง
    2. สร้างแบบประเมินความพึงพอใจของผู้พิการทางสายตาที่มีต่อสื่อเสียง โดยมี 5 ระดับ คือ ความพึงพอใจระดับ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด
    3. เมื่อสร้างแบบประเมินเสร็จแล้ว เมื่อนำไปใช้จริง วิธีการคือ อธิบายวิธีการกรอก แบบประเมินความพึงพอใจ โดยให้ผู้กรอกนั้นตอบคำถามด้วยปากเปล่า
    4. อ่านแบบประเมินความพึงพอใจให้กับกลุ่มตัวอย่างฟังและตอบคำถาม
    5. นำแบบประเมินความพึงพอใจมาวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประโยชน์ด้านวิชาการ
    1. ได้ศึกษาเทคนิคการผลิตสื่อเสียงด้วยวิธีต่างๆทั้งเสียงสังเคราะห์ และการบันทึกเสียง การบันทึก Foley เป็นต้น
    2. ได้ทราบความพึงพอใจของกลุ่มประชากร เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนา ปรับปรุงสำหรับ การทำงานวิจัยต่อไป
    3. ได้ศึกษาเทคนิค วิธีการสร้างสรรค์สื่อเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตา
    4. ได้สื่อเสียงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมสำหรับผู้พิการทางสายตา และบุคคลทั่วไป
  2. ประโยชน์ด้านนโยบาย
    1. ได้ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แก่กลุ่มประชากร
    2. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  3. ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์
    1. สื่อเสียงสำหรับผู้พิการทางสายตาชุดนี้ เป็นงานลิขสิทธิ์ทั้งเนื้อหา เสียงเอฟเฟค และเสียงดนตรีประกอบ ทั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการพาณิชย์ และสามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ผลงานได้
    2. ได้ทราบความต้องการสื่อเสียงจากผู้พิการทางสายตา โดยผู้วิจัยสามารถนำข้อมูลนี้ ไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยต่อไปในอนาคตได้
    3. หน่วยงานที่นำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ โรงเรียนสำหรับ ผู้พิการทางสายตาต่าง ๆ สถานีวิทยุต่าง ๆ หน่วยงานเอกชน องค์กรอิสระ รวมถึงประชาชนทั่วไป