The computer assisted instruction lesson according to self-holistic knowledge skill in the visual elements and composition for Mathayomsuksa 1 students

โดย อาภากรณ์ เสถียรรัตน์

ปี 2559


บทคัดย่อ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามหลักความรู้แบบองค์รวม เรื่อง ทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) หาความพึงพอใจของนักเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามหลักความรู้แบบองค์รวม เรื่อง ทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample)

ผลการวิจัยพบว่า การสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามหลักความรู้แบบองค์รวมเรื่อง ทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80.67/80.11 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนเท่ากับ (= 24.03, S.D.=1.27) สูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ (=12.13, S.D.=1.76) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามหลักความรู้แบบองค์รวม เรื่อง ทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ (=4.81,S.D.=0.11)


Abstract

The purposes of this research were to 1) determine the effectiveness of the Computer Assisted Instruction (CAI) according to Self-Holistic Knowledge Skill in the Visual Elements and Composition for Mathayomsuksa1, 2) compare the students’ learning achievement before and after studying with CAI, and 3) to determine the level of satisfaction of the Mathayomsuksa1 on learning with CAI.

The samples of this study were 30 Mathayomsuksa students studying at Saraburi Wittayakhom School, Ampor Muang, Saraburi Province in the academic year 2016. The research instruments were lessons of CAI according to Self-Holistic Knowledge Skill in the Visual Elements and Composition, pretest and posttest of the students’ learning achievement before and after learning with CAI, and a questionnaire to evaluate student satisfaction towards the teaching of CAI with simulation. The statistical devices used in the study were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

The results showed that the effectiveness of teaching with CAI according to Self-Holistic Knowledge Skill in the Visual Elements and Composition had the efficiency of 80.67/80.11 which met the standard criteria. The scores of the posttest with an average of 24.03 and the S.D. of 1.27 were higher than those of the pretest with an average of 12.13 and the S.D. of 1.76. The t-test between the pretest and posttest scores was 30.47 which was significantly different at the 0.05 level. The student satisfaction towards learning by using CAI was at a high level with an average of 3.91.

 

Downloadบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามหลักความรู้แบบองค์รวมเรื่อง ทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1