Mathematics learning outcomes on fraction problems for primary education 6 students by using student teams achievement division (STAD) and star learning methods

โดย อรษา เกมกาแมน

ปี 2559


 บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อวิธีการสอนแบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสว่างภพ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate efficiency of learning management plan of mathematics on fraction problems of the sixth grade students by using the combination of student teams-achievement divisions (STAD), a cooperative learning strategy, and STAR strategy, a stepby-step behavioral instruction and visual prompts using 75/75 criterion, 2) compare their learning outcomes before and after implementing the two learning methods, and 3) examine the student’s satisfaction on the application of the two instructional methods.

The samples of this study were 21 primary education 6 students selected via purposive sampling method from Wat Sawangphob School in Klong Luang District, Pathumthani Province under the Office of Pathumthani Primary Education Area 1 in the second semester of the academic year 2016. The research tools used in this study were 7 lesson plans of mathematics subject on fraction problems, a pre-posttest on fraction problems, and a questionnaire to find out the student’s satisfaction on applying the STAD and STAR strategies in the mathematics learning. The data were analyzed using mean, standard deviation, and t- test.

The results showed that: 1) efficiency of the mathematics learning management plan was higher than the criterion set at .05 level of significance which was consistent with the preset hypothesis, 2) the student’s post-test scores were higher than the pre-test scores at .05 level of significance which was consistent with the set hypothesis, and 3) the students were mostly satisfied with the combination of STAD and STAR learning methods at .05 level of significance which corresponded to the hypothesis set.

 

Downloadผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR