A Study of Outcomes of Thai Cultural Learning through Virtual Museums

ผู้วิจัย ประทุมทอง ไตรรัตน์

โครงการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ชมที่มีต่อระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทย ผ่านระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตแบบเสมือนจริงของนักศึกษา 10 คณะวิชา โดยการสำรวจความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาคณะละ 30 คน รวม 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สื่อพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่มีอยู่ในโลกออนไลน์นำมาจัดรวบรวมเป็นเว็บไซต์ สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากการศึกษา พบว่า พิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์พบว่ามีพิพิธภัณฑ์ของไทยในรูปแบบสื่อเสมือนจริง (Visual tour) แบบภาพ สองมิติและสามมิติ ส่วนใหญ่สามารถแสดงผลได้บนจอคอมพิวเตอร์และ แทปเล็ต สมาร์ทโฟน ผลจากการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งานอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =3.67, [standard deviation]=0.54) ความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =3.53, [standard deviation] =069) ความพึงพอใจโดยรวมด้านเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =3.28, [standard deviation]=0.50)


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อศึกษาและรวบรวมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
  2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ชมที่มีต่อระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
  3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทย ผ่านระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตแบบเสมือนจริงของนักศึกษา 10 คณะวิชา

ขอบเขตของการศึกษา

ประชากรในการวิจัย คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 15000 คน

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 300 คน

คำนิยามศัพท์

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง หมายถึง พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บนโลกออนไลน์ ที่ผู้ชมสามารถเข้าชมได้ด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย

การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้วัฒนธรรมที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

ผลการเรียนเชิงวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดจากการชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ที่ทำให้ผู้ชมได้รับความรู้ด้านวัฒนธรรมไทย


สรุปผลการศึกษา

ในการศึกษาผลการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมไทยผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาและรวบรวมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ชมที่มีต่อระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทย ผ่านระบบนำชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตแบบเสมือนจริงของนักศึกษา 10 คณะวิชา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2558 จาก 10 คณะวิชา คณะ ละ 30 คน รวม 300 คน โดยสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

  1. พิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์พบว่ามีพิพิธภัณฑ์ของไทยในรูปแบบสื่อเสมือนจริง (Visual tour) แบบภาพ สองมิติและสามมิติ ส่วนใหญ่สามารถแสดงผลได้บนจอคอมพิวเตอร์และ แทปเล็ต สมาร์ทโฟน ที่ให้ความสะดวกในการรับชมได้เป็นอย่างดีในสถานที่มีอินเทอร์เน็ต และเช่น พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีเนื้อหาดังนี้ พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังบางประอิน พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พระราชวังสนามจันทร์ พระตำหนักปากพนัง ทั้ง 6 สถานที่นี้ใช้การแสดงภาพสถานเชิงวัฒนธรรมได้ 360 องศา และสามารถเลือกชมสถานที่ตามข้อมูลที่มีให้เลือกบนเว็บไซต์ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้
  2. ผลจากการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 10 คณะวิชา จำนวน 300 คน โดยได้แบ่งหัวข้อสำรวจเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้งาน ด้านการออกแบบ ด้านความรู้ที่ได้จากการชมด้านการใช้งาน
    1. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =2.85, [standard deviation]=0.92)
    2. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =4.10, [standard deviation]=0.56)
    3. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =3.03, [standard deviation]=0.67)
    4. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =3.10, [standard deviation]=0.82)
    5. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =4.35, [standard deviation]=0.53)
    6. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =4.00, [standard deviation]=0.73)
    7. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =4.00, [standard deviation]=0.73)
    8. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =4.10, [standard deviation] = 0.38)
    9. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =3.68, [standard deviation]=0.76)
    10. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งาน Visual Tour อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =3.68, [standard deviation]=0.76)ด้านการออกแบบ
    11. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =3.05, [standard deviation] = 0.84)
    12. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.76, [standard deviation] = 0.61)
    13. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 2.95, [standard deviation] = 0.62)
    14. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 3.04, [standard deviation] = 0.71)
    15. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.75, [standard deviation] = 0.73)
    16. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.97, [standard deviation] = 0.75)
    17. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.76, [standard deviation] = 0.76)
    18. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.91, [standard deviation] = 0.49)
    19. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.52, [standard deviation] = 0.60)
    20. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.52, [standard deviation] = 0.57)ด้านความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour)
    21. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนมีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 3.00, [standard deviation] = 0.73)
    22. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.72, [standard deviation] = 0.64)
    23. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 2.08, [standard deviation] = 0.60)
    24. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 3.06, [standard deviation] = 0.57)
    25. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 3.44, [standard deviation] = 0.64)
    26. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.96, [standard deviation] = 0.90)
    27. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.60, [standard deviation] = 0.86)
    28. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 2.54, [standard deviation] = 0.54)
    29. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =3.42, [standard deviation] = 0.74)
    30. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ที่ได้รับจากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =3.42, [standard deviation] = 0.74)ผลรวม 3 ด้าน ด้านการใช้งาน ด้านการออกแบบ ด้านความรู้ที่ได้จากการชม
    31. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนมีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 2.97, [standard deviation] = 0.82)
    32. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรมีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.86, [standard deviation] = 0.61)
    33. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 2.93, [standard deviation] = 0.63)
    34. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 2.93, [standard deviation] = 0.63)
    35. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.85, [standard deviation] = 0.70)
    36. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.98, [standard deviation] = 0.73)
    37. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =3.78, [standard deviation] = 0.79)
    38. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.52, [standard deviation] = 0.48)
    39. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] = 3.54, [standard deviation] = 0.67)
    40. กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] = 3.47, [standard deviation] = 0.58)ค่าเฉลี่ยรวมของกลุ่มตัวอย่างทุกคณะ แยกออกเป็น 3 ด้าน ด้านการใช้งาน ด้านการออกแบบ ด้านความรู้ที่ได้จากการชม

ความพึงพอใจด้านการใช้งานของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการศึกษาความพึงพอใจด้านการใช้งานจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งานอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =3.67, [standard deviation] =0.54)

ความพึงพอใจด้านการออกแบบของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการศึกษาความพึงพอใจด้านการใช้งานจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ([arithmetic mean] =3.53, [standard deviation] =0.69)

ความพึงพอใจด้านเนื้อหา (ความรู้ที่ได้จากการชม Visual Tour) ของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการศึกษาความพึงพอใจด้านการใช้งานจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมด้านเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการชม Visual Tour) อยู่ในระดับปานกลาง ([arithmetic mean] =3.28, [standard deviation] =0.50)

อภิปรายผล

จากการประเมินผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง สามารถอภิปรายผลการศึกษาได้ดังนี้ ด้านการใช้งาน ได้รับความพึงพอใจมาก สามารถใช้งานได้ง่าย เมนูหลักเข้าใจง่ายและสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งาน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจที่จะกลับเข้ามารับชม Visual tour อีกในครั้งต่อไป ปัจจุบันสื่อในรูปแบบเสมือนจริงมีความสะดวกในการรับชมและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการรับชมและทำให้ผู้รับชมเสมือนกับได้เขาไปสัมผัสกับสิ่งนั้น ๆได้ และยังสามารถย่อ-ขยายภาพได้ตามความต้องการของการรับชมอีก เช่นเดียวกับด้านการออกแบบมีความพึงพอใจมากภาพประกอบที่ใช้มีความน่าสนใจ มีการออกแบบที่ดี รูปแบบของตัวอักษร ขนาด สีสันที่ใช้มีความสวยงามเหมาะสม มีการวางตำแหน่งสัญรูปสม่ำเสมอทำให้ใช้งานได้ง่ายและสามารถดูข้อมูลรวมไปถึงภาพประกอบได้อย่างชัดเจน การชมภาพ 3 มิติ เสมือนจริงทำให้ผู้ชมได้มีโอกาสชมภาพที่มีลักษณะเหมือนของจริงและสามารถชมได้เสมือนการเข้าไปชม ณ สถานที่จริงในส่วนด้านความรู้ที่ได้จากการชมมีความพึงพอใจปานกลาง มีเนื้อหาที่ให้ความรู้ทางด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามสอดคล้องกับข้อมูลของเว็บไซต์ เราจะเห็นได้ว่าการรับชมสื่อต้องใช้เวลาในการรับชมและในปัจจุบันสื่อที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมาก ดังนั้นในการรับชมถ้าเป็นกิจกรรมเสริมในการเรียนการสอนโดยผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนเข้ามารับชมและทำรายงานจากการชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจะเป็นการใช้พิพิธภัณฑ์เสมือนให้เกิดความคุ้มค่ากับการที่ผู้สร้างได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมาและขณะเดียวกันยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการเกิดทางเข้ามาชม ณ สถานที่จริงและยังเป็นการเก็บรวบรวมของมีค่าไว้ไม่ให้เกิดการเสียหายได้อีกทางหนึ่ง

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
    1. ผู้ที่ทำการออกแบบสามารถนำผลวิจัยไปใช้เพื่อออกแบบรูปแบบสื่อเสมือนจริงในการเรียนรู้ด้านอื่น เนื่องจากผลการวิจัยพบว่าการใช้งานของสื่อมีความสะดวกต่อการรับชม
    2. ผู้ที่ทำการออกแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนสามารถนำผลของการออกแบบไปปรับปรุงด้านเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเพิ่มบทบรรยายหรือเพิ่มเนื้อหาให้แก่ผู้ชม เนื่องจากผลการวิจัยพบว่าเนื้อหาในการให้ความรู้ยังไม่ไม่ครอบคลุมและละเอียดพอสำหรับการศึกษาด้านวัฒนธรรม
  2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
    1. ควรมีการแยกการศึกษาถึงประโยชน์ของพิพิธภัณฑ์เสมือนแต่ละชนิดเพื่อจะได้ทราบถึงรูปแบบที่เหมาะสมกับการเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์แต่ละแบบ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นของพิพิธภัณฑ์ในภาพรวมเท่านั้น
    2. ควรมีการวิจัยถึงรูปแบบที่เหมาะสมกับการออกแบบด้านอื่นที่ใช้ในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมของไทย เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเท่านั้น