โดย ประภาพร พงษ์ไทย  และ สิริแข พงษ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการชักนำให้กุหลาบหนูออกดอกในสภาพหลอดทดลอง โดยนำตาข้าง ของกุหลาบหนูไปฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาวและสารจับใบความเข้มข้นต่างกัน พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาว ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 25 นาที ตามด้วยสารฟอกขาวความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 25 นาที เป็น วิธีการฟอกฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถทำให้ตาข้างของกุหลาบหนูปราศจากเชื้อโรคได้สูงสุดเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีการรอดชีวิตสูงสุดเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำตาข้างของกุหลาบหนูไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0 และ 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA หรือ kinetin ความเข้มข้น 0 , 0.5 , 1.0 และ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 21 วัน พบว่าอาหารสูตร MS ที่เติม kinetin ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารชักนำให้ ตาข้างของกุหลาบหนูเกิดยอดได้สูงสุดเท่ากับ 85 เปอร์เซ็นต์ และความสูงเฉลี่ยของยอดเท่ากับ 1.15 เซนติเมตร จากนั้น นำยอดที่ได้ไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0 และ 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA หรือ TDZ หรือ zeatin ความเข้มข้น 0 , 0.5 , 1.0 , 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 45-60 วัน พบว่าอาหารสูตร MS ที่ เติม TDZ ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดต้นได้สูงสุดเท่ากับ 20 ต้นเฉลี่ย /ชิ้นส่วน และอาหาร สูตร MS ที่เติม zeatin ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้กุหลาบหนูออกดอกในสภาพหลอดทดลองได้ สูงสุดเท่ากับ 70 เปอร์เซ็นต์

DOWNLOAD : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการชักนำให้กุหลาบหนูออกดอกในหลอดทดลอง