The production of 2D traditional animation “Blue”

จัดทำโดย นลิน เอกมณีสุนทร

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2559


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue เบื้องต้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังรับชมสื่อ

วิธีการศึกษาทำโดยศึกษาข้อมูลการทำสื่อ โดยศึกษาจากหนังสืออ้างอิง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปเนื้อหากับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา แล้วนำมาเขียนบทภาพ ทำการพากย์เสียงบรรยาย สร้างสตอรี่บอร์ด สร้างภาพเคลื่อนไหว จากนั้นทำการใส่เสียงบรรยาย และบันทึกในรูปแบบวิดีโอ แล้วนำไปทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จำนวน 5 ท่าน และทดสอบความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 ที่สนใจในสื่อแอนิเมชั่นสองมิติ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง

ผลการศึกษาสรุปว่า โดยภาพรวมแล้ว ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมินในด้านเทคนิคอยู่ในระดับดี ([arithmetic mean] = 3.78) และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี ([arithmetic mean] = 4.15) หลังรับชมสื่อแล้วกลุ่มตัวอย่างสามารถทราบถึงแนวคิดถึงมุมมองและพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียได้เป็นอย่างดี สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue นั้นมีความเหมาะสมในการเป็นสื่อที่ให้ความรู้ได้เป็นอย่างดีและทำให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าใจถึงผู้ที่มีอาการซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียได้เป็นอย่างดี


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีแอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue โดยกลุ่มตัวอย่าง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue
  2. ได้รับทราบความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีแอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue จากกลุ่มตัวอย่าง

คำนิยามศัพท์เฉพาะ

  1. แอนิเมชั่น หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกัน ภาพนิ่งที่มองเห็นทั้งความยาวและความกว้าง โดยแต่ละภาพจะมีความแตกต่างจากภาพก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย โดยใช้เวลาควบคุมทำให้ภาพดูเหมือนเคลื่อนไหวได้ โดยนำภาพนั้นขึ้นมาแสดงบนจอทีละภาพและใช้ความเร็วสูงในการฉายภาพแต่ละภาพต่อเนื่องกันให้ดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว ซึ่งผู้สร้างจะเป็นผู้กำหนดเองว่าจะใช้กี่ภาพต่อวินาทีเพราะมาตรฐานของแอนิเมชั่นฝั่งตะวันตกและตะวันออกนั้นต่างกัน
  2. ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทาการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทาหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ความเร็วที่ใช้ในการถ่ายทำโดยทั่วไป คือ 24 เฟรม ต่อ 1 วินาที
  3. ความเศร้า เป็นอารมณ์ด้านลบซึ่งทางจิตวิทยาถือว่า เป็นสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย เมื่อเผชิญกับการสูญเสีย การพลาดในสิ่งที่หวัง การถูกปฏิเสธ และมักเกิดขึ้นร่วมกับความรู้สึกสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน
  4. ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย โดยเฉพาะการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นปฏิกิริยาทางจิตใจที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ จะมีอาการหลักคล้ายอาการของโรคซึมเศร้า คือ มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด เบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร นอกจากนี้อาจมีความรู้สึกผิด รู้สึกโกรธ ยอมรับความเป็นจริงของการสูญเสียไม่ได้

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue เป็นการถ่ายทอดมุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้ สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ ผ่านรูปแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติ
  2. ด้านเทคนิค
    การผลิตสื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue เป็นการนาเทคนิคเทคโนโลยีแอนิเมชั่นสองมิติ เพื่อให้เข้าถึงกับผู้คนได้มากขึ้น

    1. โปรแกรมสาหรับออกแบบตัวละครและฉาก Clip Studio, Adobe Photoshop CC
    2. โปรแกรมสาหรับการทำแอนิเมชั่น CACANi
    3. โปรแกรมสาหรับตัดต่อ Adobe After Effect CC
  3. ประชากร
    นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2559
  4. กลุ่มตัวอย่าง
    นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
  5. ผู้เชี่ยวชาญ
    ในการประเมินผลงานผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติ โดยมีผู้เชี่ยวชาญหนึ่งกลุ่มคือผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติ จำนวน 5 คนโดยคัดเลือกจากผู้ที่ประกอบอาชีพในด้านการออกแบบสื่อแอนิเมชั่นสองมิติที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 1 ปี

สรุปผลการศึกษา

จากการประเมินกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ว่า การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue อยู่ในระดับดี ซึ่งด้านเนื้อหานั้นทางผู้วิจัยได้มีการศึกษาและค้นคว้าจากบทความทางการแพทย์และวารสารทางการแพทย์เป็นอย่างดีจึงทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นสื่อที่ให้ความรู้เรื่องใกล้ตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้ชมสื่อ โดยสื่อสามารถทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้มุมมองและพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้ สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ ผ่านรูปแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue ด้านการแอนิเมชั่น สี การจัดวางฉาก การสื่อความหมายของเนื้อเรื่อง มีความเหมาะสม การใช้เพลง การพากย์เสียง มีความชัดเจนเหมาะสมกับรูปแบบของสื่อ ด้านฉากและการลำดับภาพ ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจได้ดี ตัวสื่อโดยรวมสามารถแสดงเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อความหมายได้ค่อนข้างชัดเจน

จากการวัดความพึงพอใจโดยการทาแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 ที่สนใจในสื่อแอนิเมชั่นสองมิติ จำนวน 30 คน สรุปได้ว่า สื่อทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ถึง แนวคิดถึงมุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้ สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ในระดับ ดี ในรายข้อที่เราได้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจไว้ ซึ่งเป็นที่น่าพอใจเพราะผู้ชมส่วนใหญ่ได้รับรู้ถึงแนวคิดถึงมุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้เป็นอย่างดี

อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษางานวิจัยครั้งนี้พบว่า การผลิตสื่อภาพยนต์แอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue สื่อมีคุณภาพเหมาะสมในการนาไปเผยแพร่เพื่อให้ความรู้ ทั้งทางด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยก่อนการผลิตสื่อ ได้มีการศึกษาและค้นคว้าจากบทความทางการแพทย์ และวารสารทางการแพทย์เป็นอย่างดี เพื่อความถูกต้องของข้อมูล แล้วจึงนำมาสู่กระบวนการผลิตสื่อ โดยในการผลิตสื่อนั้นมีการศึกษาทฤษฎีของการออกแบบแอนิเมชั่นสองมิติ ทฤษฎีของการออกแบบตัวละคร ทฤษฎีสี และการกำกับภาพ เพื่อให้สื่อมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูลมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ รัชนู วรรณา (2557) ได้ศึกษาความชุกของการสูญเสียบุคคลสาคัญอันเป็นที่รัก อารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียของผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษาพบภาวะซึมเศร้า เล็กน้อย ร้อยละ 11.8 ซึมเศรา้ปานกลาง ร้อยละ 15 และ ซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 9.8 ส่วนใหญ่(ร้อยละ 69.7) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง จากผู้ป่วยนอกจิตเวช จานวน 843 คน

สำหรับการผลิตสื่อนี้ในการศึกษาขั้นตอนการผลิตเพื่อให้สื่อมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูลในรูปแบบแอนิเมชั่นสองมิตินั้นมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์ (2553) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นชุดขนาดสั้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นผ่านอินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและการรับรู้ของวัยรุ่นที่มีต่อสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นที่พัฒนาขึ้น เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องเพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้สื่อที่มีคุณภาพและเข้าถึงความต้องการของวัยรุ่นได้ สื่อการ์ตูนแอนิเมชั่นเป็นสื่อใหม่ชนิดหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นและได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่นเป็นอย่างมาก และในผลงานวิจัยในการผลิตสื่อแอนิเมชั่นสองมิติเรื่อง Blue พบว่า ด้านการนำเสนอเนื้อหาของสื่อสามารถทำผู้ชมเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะนำเสนอได้ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.15 ด้านการดำเนินเนื้อเรื่องมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.11 ด้านความเหมาะสมของภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 4.25 และผู้ชมสามารถรับรู้ถึง แนวคิด มุมมอง และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ที่มีอาการนี้และหนึ่งในวิธีที่ผู้ที่มีอาการนี้สามารถยอมรับ และเผชิญกับความจริงของการสูญเสียได้ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13 และโดยรวมผู้ที่รับชมสื่อมีความพึงพอใจหลังรับชมสื่ออยู่ในระดับ ดี โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.08

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
    1. การดำเนินเรื่องค่อนข้างเป็นเส้นตรงเกินไป
    2. การแอนิเมชั่นยังทำได้ไม่ดีพอ
    3. ปม หรือ ประเด็นในเรื่องยังดูไม่ชัดเจนพอ
    4. การใช้มุมกล้องยังมีความหลากหลายได้ไม่ดีพอ
    5. ฉากกับตัวละครยังไม่ค่อยเข้ากัน และไม่เข้าถึงอารมณ์ได้ดีพอ
  2. ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง
    1. ความสัมพันธ์ของตัวละครค่อนข้างไม่ชัดเจน
    2. การลงสียังมีความไม่เข้ากันของฉากกับตัวละคร
    3. มีบางฉากที่ลำดับภาพไม่ชัดเจน
  3. ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย
    1. ควรมีการวางแผนด้านเนื้อเรื่อง สตอรี่บอร์ด และทิศทางของการออกแบบให้รัดกุมและชัดเจน เพื่อที่จะทำให้ผลงานมีความสมบูรณ์ที่สุด
    2. ควรมีการวางแผนกาหนดเวลา และจำนวนของงาน ในสัมพันธ์กับจานวนผู้วิจัย เพื่อที่จะทำให้ได้ตามกำหนดการ
    3. ควรมีการออกแบบด้านเสียงให้ดีกว่านี้เพื่อจะได้สื่ออารมณ์ของงานได้ชัดเจน

รับชมผลงาน