Production Of Electronic Book For The Public Relation Of Mutimedia Technology, Rajamangala University Of Technology Thanyaburi

โดย ธัญลักษณ์ แสงจันทร์

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2559


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีคุณภาพเพื่อศึกษาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วิธีการศึกษาทำโดย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลเกี่ยวกับสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกำหนดรูปแบบที่นำเสนอ โดยมีหัวข้อหลักคือ ประวัติคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สถานที่ตั้ง ห้องปฏิบัติการหลักสูตร และจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร โดยนำเสนอในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการผลิตสื่อเริ่มจากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นจัดเตรียมข้อมูลหัวข้อหลักและเนื้อหาสำคัญ ออกแบบรูปแบบหนังสือ ภาพ วีดีโอ และองค์ประกอบต่าง ๆ ของสื่อ ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop และโปรแกรม Adobe Premiere Pro นำข้อมูล วัตถุดิบ และองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าสู่โปรแกรม Adobe InDesign เพื่อทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แล้วทดสอบการทำงานเพื่อหาข้อผิดพลาดและนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง นำสื่อที่เสร็จเรียบร้อยไปประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญมีทั้งหมด 3 ท่านโดยเป็น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อ และวัดผลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนอุดมศีลวิทยา จังหวัดอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง

ผลการศึกษาสรุปว่า ผลการวิเคราะห์คุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อจากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ในด้านออกแบบกราฟิกพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14 ในด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 ในด้านภาพ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 ในด้านเสียงพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 ในด้านการใช้งานพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 และผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ในด้านเนื้อหาข้อมูลพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.6 ในด้านการออกแบบพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 ในด้านการนำเสนอสื่อพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 ในด้านการใช้งานพบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ขอบเขตการศึกษา

  1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดอยุธยา
    กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่ 5 โรงเรียนอุดมศิลวิทยา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
  2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    เนื้อหาเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีหัวข้อหลัก คือ ประวัติคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สถานที่ตั้ง ห้องปฏิบัติการ หลักสูตรและจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
  3. ขอบเขตด้านเทคนิค
    1. เทคนิคกำรทำสไลด์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
    2. เทคนิคถ่ายภาพระยะไกลให้มีมิติ
    3. เทคนิคการใส่เสียงในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรมรวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
  2. การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไปสู่กลุ่มประชาชน เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน องค์การ สถาบันกับกลุ่มประชาชนเป้าหมายและประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหวังผลในความร่วมมือ สนับสนุนจากประชาชน รวมทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีให้แก่หน่วยงาน องค์การ สถาบันด้วย ทำให้ประชาชน เกิดความนิยม เลื่อมใส ศรัทธาต่อหน่วยงาน ตลอดจนค้นหาและกำจัดแหล่งเข้าใจผิด ช่วยลบล้างปัญหา เพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น
  3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้ำจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. ทราบระดับผลความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่าง
  3. เป็นแนวทางสำหรับการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชา เพื่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

สรุปผลการประเมินคุณภาพของสื่อโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการศึกษาคุณภาพการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยี
มัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 3 ท่านสำหรับผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ ได้มีการแบ่งหัวข้อทั้งหมด 5 หัวข้อซึ่งได้สรุปในแต่ละส่วนดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านออกแบบกราฟิก
    จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านออกแบบกราฟิกพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14
  2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
    จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29
  3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพ
    จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านภาพพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33
  4. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเสียง
    จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านเสียงพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33
  5. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการใช้งาน
    จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการใช้งานพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38

สรุปผลความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง

ผลสรุปความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนอุดมศีลวิทยา จังหวัดอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นเยาวชนอายุ 16-17 ปี จำนวน 30 คน ได้ผลสรุปความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยจำแนกออกเป็นหัวข้อการสอบถามทั้งหมด 2 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง
    จากการสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คนพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 16-17 ปี
  2. ผลสรุปการประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง
    การสอบถามความคิดเห็นของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คนซึ่งได้สรุปในแต่ละด้านดังต่อไปนี้

    1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านข้อมูล
      จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านเนื้อหาข้อมูล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบน
      มาตรฐานเท่ากับ 0.60
    2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบ
      จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการออกแบบ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วย ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67
    3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอสื่อ
      จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการนำเสนอสื่อ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วย ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68
    4. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการใช้งาน
      จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการใช้งาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบน
      มาตรฐานเท่ากับ 0.92

อภิปรายผลการศึกษา

ในการศึกษาการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะ
เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายดังต่อไปนี้คือ

การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยี
สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษาและวัดผลคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ และได้นำสื่อไปทดสอบกับจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนอายุ16-17 ปีจำนวน 30 คน จากนั้นนำผลการประเมินคุณภาพของสื่อมาวิเคราะห์พบว่า ด้านการผลิตสิ่อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสื่อให้ผู้ใช้ทราบว่า เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องใด อยู่ในระดับมีคุณภาพดี เนื่องจากใช้ทฤษฎีการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และได้นำสื่อไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนอายุ 16-17 ปีจำนวน 30 คน โดยได้นำผลความคิดเห็นมาวิเคราะห์ จากการประเมินพบว่า ในด้านเนื้อหาข้อมูล มีการนำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก ในด้านการออกแบบ จัดวางองค์ประกอบหน้าจอได้สัดส่วนและเหมาะสมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก ในด้านการนำเสนอสื่อ ความสวยงามของสื่ออยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก และในด้านการใช้งาน การใช้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก เนื่องจากสรุปผลการประเมินสื่ออยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้เพื่อเป็นข้อมูลของสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในตอนต้น และทั้งนี้ การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สาขามัลติมีเดีย ซึ่งได้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสาขามัลติมีเดียมากขึ้น

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยี
สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตลอดจนการประเมินคุณภาพ จาก
ผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรค์ดังนี้

  1. ในการทำสื่อในแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาในการทำงานค่อนข้างมาก จึงทำให้เวลาไม่เพียงพอในการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ที่สุด
  2. การหาข้อมูลในการทำสื่อใช้เวลานานและข้อมูลนั้นหาได้ยาก จึงทำให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสร็จช้ากว่าที่กำหนดไว้และได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีสมบูรณ์ไม่มากนัก
  3. ทักษะและประสบการณ์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังมีไม่เพียงพอ จึงทำให้ได้หนังสือ
    อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสมบูรณ์ไม่มากนัก

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบกราฟิก
      การออกแบบโดยรวมใช้ได้ แต่ควรมีการปรับสีเพิ่มเติม
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
      เหมาะสำหรับการใช้งานสำหรับเยาวชน แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากขนาดตัวอักษรในบ้างหัวข้อมีขนาดเล็ก
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพ
      บางภาพควรจัดองค์ประกอบของภาพ
    4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียง
      เสียงไม่สามารถเปิดได้ในคอมพิวเตอร์บางรุ่น
    5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการใช้งาน
      ควรมีการใช้งานได้กับสื่อทุกประเภท
  2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาข้อมูล
      ควรเพิ่มรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก อย่างเช่น ค่าเทอมของแต่ละภาค (ปกติ,สมทบ,เทียบโอน)
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบ
      ออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายกว่านี้
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการนำเสนอสื่อ
      ควรปรับลูกเล่นให้มีความเร็วพอดีไม่ช้าและเร็วเกินไป
    4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการใช้งาน
      ความเร็วในการเปลี่ยนหน้าไม่ทันใจ
  3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้วิจัย
    1. การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
      คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีข้อจำกัดปัญหาทางด้านโปรแกรมที่ใช้ในการทำจะต้องศึกษาค้นคว้าความรู้ วิธีใช้งาน คำสั่งต่าง ๆ
    2. ต้องมีอุปกรณ์เหมาะสมและสนับสนุนในการใช้งานโปรแกรม
  4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    1. ตัวอักษรที่ใช้มีความหลากหลายมากเกินไป
    2. สีที่ใช้ไม่สอดคล้องกันเท่าที่ควร
    3. ปรับความเร็วการนำเสนอแต่ละหน้าให้เร็วขึ้น