The Instructional media for Primary School Year 5

จัดทำโดย เพ็ญสินี อเนกพิชญ์สิทธิ์, ธนพร วัฒนกุล และ สุดารัตน์ จอมสง่า

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้ได้จัดทำขึ้นตามหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีมัลติเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผู้จัดทำปริญญานิพนธ์ได้
จัดทำปริญญานิพนธ์ สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” ซึ่งมี
วัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อและพัฒนาสื่อเสริมประกอบวิชาศิลปะ ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังเรียน ผู้จัดทำปริญญานิพนธ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปริญญานิพนธ์ที่จัดทำขึ้นในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด และสามารถเป็นแนวทางในการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจหรือผู้ที่ต้องการศึกษา

วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลการทำสื่อ โดยศึกษาจากหนังสืออ้างอิงบทเรียนและเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาเขียนบท สร้างสตอรี่บอร์ด สร้างภาพเคลื่อนไหว จากนั้นทำการใส่เสียงดนตรี และบันทึกในรูปแบบ DVD แล้วนำไปทดสอบเพื่อประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วยด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่านและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จำนวน 3 ท่าน และทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหว่านบุญ จ านวน 30 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง

ผลการศึกษาพบว่า การผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” มีความน่าสนใจโดยผลออกมาโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง (?̅ = 20.4) แต่เมื่อชมสื่อแล้วอยู่ในระดับดีมาก (?̅ = 27.53) ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมินในด้านเทคนิคอยู่ในระดับดี (?̅ = 4.34) ส่วนในด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (?̅ = 4.67) โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” นั้นมีความเหมาะสมในการเป็นสื่อเสริมในการเรียนการสอนวิชาศิลปะของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้เป็นอย่างดีและทำให้ผู้เรียนมีความสนใจมากขึ้น

คำสำคัญ: สื่อมัลติมีเดีย, สื่อการเรียนการสอน, ศิลปะ


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตสื่อและพัฒนาสื่อเสริมประกอบวิชาศิลปะ โดยการผลิตสื่อในรูปแบบสื่อ
    มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป. 5”
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อ
    การเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” ของกลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตของงานวิจัย

งานวิจัยนี้ ต้องการวัดคุณภาพของการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ
โดยมีขอบเขตของงานวิจัยดังนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1. ขอบเขตเชิงประชากร คือ
    ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเขตจังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2558
  2. กลุ่มตัวอย่าง คือ
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหว่านบุญ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จ านวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คณะผู้จัดทำได้กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในศึกษา ดังนี้
    1. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนเรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5”
    2. แบบประเมินคุณภาพของการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการ
      สอนศิลปะ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
    3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนเรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” สำหรับกลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตด้านเนื้อหา

ศึกษาการสร้างสื่อการเรียนการสอนศิลปะเรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อหลัก ดังนี้

  1. วงจรสีและวรรณะสี โดยมีเนื้อหาทางด้านแม่สี การผสมสีของแม่สี
    ออกมาทั้งหมด 12 สี จึงเรียกว่า วงจรสี ส่วนวรรณะของสีมี 2 วรรณะ คือ 1) วรรณะร้อน 2) วรรณะเย็น โดยที่อธิบายความหมายพร้อมยกตัวอย่าง
  2. น้ำหนักแสงเงา จะควบคู่ไปกับระยะของภาพ โดยที่มีการอธิบายเรื่อง
    น้ำหนักของแสงเงาของสี โดยมีการแสดงภาพตัวอย่าง พร้อมกับการอธิบายเรื่องระยะของภาพ ที่จะแบ่งระยะกันจากน้ำหนักของสี

ขอบเขตเชิงเทคนิค

เทคนิคที่ใช้ในการทำ คือ เป็นรายการสอนศิลปะที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 10 ปี โดยที่ลักษณะ
งานการดำเนิน เป็นรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ที่จะเป็นการบทเรียนแต่ละบท โดยมีการอธิบายและเนื้อหาที่เด็กเข้าใจได้ง่าย โดยมีการใช้โปรแกรมการทำดังนี้

  1. โปรแกรมอะโดบี โฟโต้ช็อป ซีเอสหก (Adobe Photoshop CS6) ซึ่งใช้ด้านการแต่ง
    ตัวอักษรของเนื้อหาภายใน และตกแต่งภาพประกอบเพิ่มเติม
  2. โปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ซีเอสหก (Adobe Illustrator CS6) ซึ่งใช้ในการการ
    ออกแบบ
  3. โปรแกรมอะโดบี แฟลช ซีเอสหก (Adobe Flash CS6) ซึ่งใช้ในการท าภาพ เคลื่อนไหวชิ้นงานทั้งหมด
  4. โปรแกรมอะโดบี พรีเมียร์ โปร ซีเอสหก (Adobe Premiere Pro CS6) ซึ่งใช้ในการตัดต่อ เสียงพากย์ และใส่เสียงเอ็ฟเฟ็กและดนตรีประกอบ

ขอบเขตผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย 2 ด้าน ดังนี้

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนไหว จำนวน 2 ท่าน
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงประกอบ จำนวน 1 ท่าน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การศึกษาโครงงานครั้งนี้ คณะผู้จัดท าโครงงานคาดว่าจะได้รับประโยชน์ดังนี้

  1. ได้เผยแพร่การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ ให้แก่โรงเรียนที่
    สนใจ
  2. ส่งเสริมสื่อเสริมของการเรียนการสอนที่เสริมสร้างศิลปะพื้นฐาน
  3. การพัฒนาออกแบบสื่อการเรียนการสอนอาจช่วยให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มี
    ความรู้ทางด้านศิลปะเพิ่มมากขึ้น

นิยามศัพท์

  1. สื่อมัลติมีเดีย หมายถึง หากพิจารณาคำว่า Multimedia ตามพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ ซึ่งหมายถึง การใช้อุปกรณ์
    ต่าง ๆ เพื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลเป็นหลัก โดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเทคนิคการนำเสนอ เช่น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบนจอภาพคอมพิวเตอร์หรือบนจอรับภาพในรูปแบบอื่น ๆ (วนุชสนัน, 2555 :ออนไลน์)
  2. สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น – วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ – ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ – วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน – คำพูดท่าทาง – วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร – กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ (ไพฑูรย์มะณู, 2555 : ออนไลน์)
  3. สื่อการเรียนรู้ศิลปะ แยกออกเป็น 2 ความหมาย ดังนี้
    1. สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยผู้เรียนเกิดการ
      เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ คน สัตว์ สิ่งของ หรือแนวความคิดที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (คชานนท์, 2552 : ออนไลน์)
    2. ศิลปะของเด็ก หมายถึง เพื่อเติมพัฒนาการทางความคิดริเริ่ม ให้เกิดความ
      อิสระทางความคิดสู่จินตนาการสร้างสรรค์ มิใช่การคาดหวังว่าเด็กจะต้องวาดรูปให้เหมือนและสวยอย่างที่ผู้ใหญ่ทำได้ หรือจะต้องได้ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันหรือเตรียมตัวเพื่อเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในอนาคต หากเป็นการช่วย เสริมสร้างลักษณะนิสัยในทางสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อม ทั้งร่างกาย สติปัญญาอารมณ์ โลกทัศน์ และทางสังคมให้สามารถเรียนรู้วิชาการแขนงอื่นๆ ได้อย่างมี
      ประสิทธิภาพ (สถาบันสอนศิลปะ เดอะแกลเลอรี่มาร์เช่, 2553 : ออนไลน์)

 

อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษางานวิจัยครั้งนี้พบว่า สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” สื่อมีคุณภาพเหมาะสมในการนำไปประกอบการเรียนการสอนทั้งทางด้านเนื้อหาและเทคนิคการผลิตสื่อ โดยในการผลิตสื่อนั้นมีการศึกษาทฤษฎีของสี ศึกษาการรับรู้ของเด็กชั้นประถมศึกษา การใช้ภาพและเสียงในการประกอบการท าสื่อ การใช้ตัวอักษร การน าเสนอ การใช้ตัวละครในการดำเนินเรื่องซึ่งในการศึกษาขั้นตอนการผลิตเพื่อให้สื่อมีประสิทธิภาพในการนำไปประกอบการเรียนมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ ภัสฑรัช สายเส็น (2553) ได้ศึกษาประสิทธิผลและความคุ้มค่าในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนอนุบาลหนองทะเล โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูของโรงเรียนอนุบาลหนองทะเลทุกคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนในชั้นเรียนจำนวน 25 คน ได้ผลการวิจัยว่า ประสิทธิผลของสื่อการเรียนการสอนตามโครงการสื่อพี่สื่อน้อง สื่อตุ๊กตาหุ่นนิ้วมือมีประสิทธิผล มากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24 และหุ่นเชิด น้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 และเมื่อนำไปวัดผลสัมฤทธิ์แล้วพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอยู่ในระดับ ปานกลาง (20.4) แต่เมื่อทดสอบหลังเรียน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย ในระดับ ดีมาก (27.53) เนื่องจากสื่อมีเนื้อหาที่ครบถ้วนในหน่วยของการเรียนรู้ที่ 3 ในวิชาศิลปะของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ กมลทิพย์ หลิมวานิช (2554) ได้ศึกษาการปฏิบัติการพัฒนาครูจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนเทศบาล 2 พิบูลวิทยาคาร จำนวน 38 คน ผลการวิจัยพบว่า มีผลการปฏิบัติการพัฒนาด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย หลังการปฏิบัติการสูงกว่าการปฏิบัติการโดยผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัยหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการสังเกตพฤติกรรมการจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการนิเทศภายใน พบว่า หลังการนิเทศภายในสูงกว่าก่อนการนิเทศภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” มีการออกแบบที่มีการพัฒนาและออกแบบให้เด็กมีความเข้าใจในการรับรู้จากสื่อได้ง่ายโดยรับรู้ได้จากภาพและเสียงซึ่งทำให้เด็กนั้นมีความสนใจที่จะรับชมสื่อมากกว่าที่จะเรียนในหนังสื่อโดยในการออกแบบและทำสื่อนี้มีความสอดคล้องเช่นเดียวกับงานวิจัยของ สาวิตรี วุฒิสาร (2554) ศึกษาผลการเรียนรู้ที่สอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยครูและผู้ปกครอง เรื่องการอ่านสระลดรูป สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จากการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์หลังจากทดลองระดับความสามารถการอ่านคำคล้องจองสระลดรูปจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่สอนโดยครูและผู้ปกครองก่อนการทดลองอย่างมีทางนัยสำคัญ ในการเรียนรู้ของเด็กนั้นต้องมีความแปลกใหม่และเป็นสื่อที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้เด็กนั้นมีความสนใจในการเรียนการสอน เช่นเดียวกับงานวิจัยของ ศศิธร จันทมฤก (2554) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
    1. เสียงประกอบของสื่อควรมีความน่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ชม
    2. การจัดวางภาพประกอบควรให้มีความน่าสนใจมากกว่านี้
    3. ในการแสดงท่าทางของตัวละครในสื่อควรมีมากกว่านี้
    4. ควรมีเนื้อหาเพพิ่มเติมมากกว่านี้
  2. ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง
    1. สื่อควรมีแบบทดสอบให้ทำได้ในสื่อ
    2. อยากให้ทำสื่อการเรียนการสอนในบทอื่น ๆ
  3. ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย
    จากผลการศึกษา สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนศิลปะ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ศิลปะ ป.5” ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้

    1. ควรมีการวางแผนในการใช้วัสดุและอุปกรณ์มากกว่านี้ เพื่อความสะดวกในการทำงาน
    2. ควรมีการวางแผนและกำหนดเวลาอย่างรอบคอบมากกว่านี้เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน
    3. ในสื่อการสอนยังมีตัวอย่างน้อยเกินไปควรเพิ่มตัวอย่างให้มากกว่านี้เพื่อ
      ความเข้าใจมากขึ้น
    4. ควรมีการศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อนำมาสรุปเป็นกระบวนการในการทำสื่อให้มากกว่านี้

รับชมผลงาน