The Digital Publishing Tourist Guide in Bangkok with Sign Language for Hearing Impairments People

โดย พงศ์ธร เพ็งดิลก

ปีการศึกษา 2557


บทคัดย่อ (Abstract)

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครด้วยภาษามือสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครด้วยภาษามือสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในด้านออกแบบ องค์ประกอบ เนื้อหา สื่อและเทคนิคมัลติมีเดีย ผ่าน Tablet

ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว การดำเนินการวิจัย คือ จัดทำแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจในวีดีทัศน์ภาษามือสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีซับไทยและอัดเสียงเพื่อรวบรวมข้อมูลในการจัดทำเนื้อหา ทำการออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรม Adobe InDesign CC 2014 และ Adobe Premiere Pro CC 2014 ในการออกแบบกราฟิกให้มีความสวยงาม และทำการตรวจสอบความพึงพอใจในการออกแบบ จำนวน 68 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการออกแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ผลการศึกษาพบว่า ได้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ขนาด 768×1024 px จำนวน 50 หน้า ได้เป็นไฟล์ .folio ที่สามารอ่านได้ผ่านโปรแกรม Adobe Content Viewer ได้รับความพึงพอใจเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก


สรุปผลการศึกษา

ในการศึกษาเรื่องการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครด้วยภาษามือ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และได้มีการประเมินผลจากกลุ่มกลุ่มตัวอย่าง สามารถสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอได้ดังนี้

จากผลงานการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ มีจำนวน 68 คน แบ่งได้แค่ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 นักศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับชั้น ปวช. ปี 1 – 3 มีจำนวน 24 คน แบ่งเป็นเพศชาย 19 คน เพศหญิง 5 คน กลุ่มที่ 2 นักศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับชั้น ปวส ปี 1 – 2 มีจำนวน 44 คน แบ่งเป็นเพศชาย 34 คน เพศหญิง 10 คน กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นแบบสอบถามในแต่ละหัวข้อซึ่งประกอบไปด้วย ด้านการออกแบบ ด้านองค์ประกอบ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อและเทคนิคมัลติมีเดีย โดยการออกแบบหนังสือดิจิทัลจะเน้นให้สื่อมีความน่าสนใจและสามารถดึงดูความสนใจได้ง่าย อีกทั้งยังมีรูปแบบภาพ panorama แบบภาพนิ่งมุม 180 และ 360 องศา วีดีทัศน์ภาษามือสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีซับไทยและอัดเสียงเพื่อให้คนปกติสามารถน่าสนใจเพื่อการศึกษาส่วนร่วมกับนักศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้ อีกทั้งยังมีรูปแบบที่แปลกใหม่และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี

การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครด้วยภาษามือ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่วนประกอบได้แค่สถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 7 แห่ง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แค่ 1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (พระแก้ว) 2.วัดพระเซตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) 3.วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) 4. วัดสุทัศนเทพวราชรามวรมหาวิหาร (วัดสุทัศน์เทพ) 5.เสาชิงช้า 6.ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร 7.ศาลเจ้าพ่อเสือ ใช้งานหนังดิจิทัลสำหรับ TABLET ขนาด 1024 x 768 px จำนวน 50 หน้า ได้เป็นไฟล์ .folio ที่สามารอ่านได้ผ่านโปรแกรม Adobe Content Viewer ได้รับความพึงพอใจเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลสรุปแบบสอบถามด้านความรู้ก่อนและหลังดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส่วนประกอบได้แค่ เนื้อหาข้อความ รูปภาพ วีดีทัศน์ภาษามือสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและบรรยายไทย

ผลงานประเมินการออกแบบหนังสือดิจิทัลทั้งกลุ่ม ปวช. และ ปวส. ทั้ง 4 ด้าน พบว่ารวมทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าด้านองค์ประกอบด้านสื่อและเทคนิคมัลติมีเดีย ด้านการออกแบบ ด้านเนื้อหา ทุกด้านมีความพึงพอใจระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

  1. การแสดงร่างกายเคลื่อนไหวแบบภาษามือธรรมชาติ คนหูหนวกเป็นผู้สร้าง และใช้ร่วมกันในชุมชนหรือในชาติไทย เป็นท่าเลียนแบบธรรมชาติ
  2. ภาษามือประดิษฐ์ ภาษามือที่อาจารย์ ผู้ปกครอง หรือญาติมิตรของคนหูหนวกคิดขึ้นแทน
    คำพูด และภาษาเขียนประจำชาติเพื่อ และภาษาเขียนประจำชาติเพื่อให้มีคำเพียงพอในการศึกษาแลการสื่อความหมายโดยเฉพาะเรื่องนามธรรม
  3. โครงสร้างของภาษามือ ประกอบด้วย 1.ท่ามือ 2.ตำแหน่งของมือ 3.การเคลื่อนไหวของมือ
    4.ทิศทางของฝ่ามือ
  4. การแสดงสีหน้าและการเคลื่อนไหวบนใบหน้าประกอบท่าภาษามือควรทำแต่พองามและสุภาพ
  5. ท่าภาษามือควรทำอย่างมีจังหวะ มีการเว้นระยะ ไม่ทำรวดเร็วหรือช้าเกินไป อยู่ในรัศมีที่
    สายตามองเห็นได้
  6. การทำท่ามือเดียวหรือสองมือขึ้นอยู่กับระดับสายตาที่มองเห็น
  7. การทำท่าภาษามือไม่มีการบังคับว่าต้องเป็นมือซ้ายหรือมือขวา ถ้าทำท่าสองมือ มือที่ถนัดเป็นมือที่เคลื่อนไหวส่วนอีกหนึ่งจะเป็นฐาน
  8. ภาษามือสำหรับคนหูหนวกใช้มือ สีหน้า และกริยาท่าทาง ประกอบในการสื่อสารความหมาย
    และถ่ายทอดอารมณ์แทนการพูด ภาษามือของแต่ละชาติมีความแตกต่างกันเช่นเดียวกับภาษาพูด ซึ่งแตกต่างกันตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และลักษณะภูมิศาสตร์ เช่น ภาษามือไทย
  9. อยากสนใจติดต่อต้องการการแลกเปลี่ยนแปลภาษามือไทยในแห่งประเทศไทย นำไปติดต่อกับคนที่ผู้มีความรู้ประสบการณ์ทางด้านภาษามือโดยตรงหรือผู้เชี่ยวชาญคนที่มีความรู้รอบเกี่ยวข้องภาษามือสำหรับผู้สูงอายุมาก