Factors affecting perception of social media usage threat: A case study of ordnance materiel rebuild center military officers

โดย ธิติพันธุ์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา

ปี 2558

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการรับรู้เท่าทันภัยคุกคามในด้านข้อมูลที่มาจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับองค์กรที่มีผลต่อการรับรู้เท่าทันภัยคุกคามในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการทหาร วิธีการศึกษา ทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามที่จัดทำ ขึ้น จำนวน 124 ตัวอย่าง โดยทำการเก็บข้อมูลจากข้าราชการทหารที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธกรมสรรพาวุธทหารบก โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุต่ำกว่า 30 ปี มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นลูกจ้างประจำทำงานอยู่ที่กองโรงงานซ่อมสร้างรถยนต์ทหาร อายุราชการจะมากกว่า 15 ปี สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด คือ Facebook ในส่วนของปัจจัยเกี่ยวกับองค์กรพบว่า ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานที่ไม่ใช่กองฝ่ายอำนวยการและทำงานทางด้านซ่อมบำรุงยุทธโธปกรณ์ ทำงานอยู่ในองค์กรที่มีข้าราชการปฏิบัติงานตั้งแต่ 31 คนขึ้นไป อุปกรณ์ที่ใช้มากที่สุดคือสมาร์ตโฟนโดยส่วนใหญ่องค์กรมีเงื่อนไขในการใช้งานข้อมูลที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ และผู้บริหาร/หัวหน้า มีคำแนะนำในการใช้งาน ภาพรวมของข้าราชการทหารมีการรับรู้เท่าทันภัยคุกคามในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามลำดับ คือ ด้านความเป็นส่วนตัว ด้านมาตรการการป้องกันและด้านคุณธรรมในการใช้ข้อมูล

This independent study aimed to find out the perception of social media usage threat and to investigate individual and organization factors affecting military’s perception of social media usage threat. The questionnaire was distributed to 124 samples selected by stratified random sampling and they worked at Ordnance Material Rebuild Centre . The collected data was then analyzed by descriptive statistic and inferential statistics. The results revealed that the majority of the respondents was male employees under 30 years old and had been working at Ordnance Material Rebuild Center Military for over 15 years. Facebook was their most popular social media. In terms of organization factors, it was found that among the samples who were non-administrative and worked in Armed Force Vehicle Rebuild Workshop with over 31 government officials, smart phone was the highest preference. The conditions for accessing social media information were set up by the organization with the guidance from the administrators or heads. In overall, the militants had the highest perception of social media usage threat ranging from their privacy, recognition concerning measures and moral awareness of information use.

Download : Factors affecting perception of social media usage threat: A case study of ordnance materiel rebuild center military officers