Factors affecting mobile banking usage behavior in Bangkok  

โดย พัชริดา ไถ้ทอง

ปี 2559 

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้งานธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับการใช้งานธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการใช้งานธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่กับส่วนประสมทางการตลาด และวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการใช้งานธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่กับทัศนคติ การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ทั้งผู้ที่เคยใช้งานและไม่เคยใช้งานธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่อาศัย หรือทำงานอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 420 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการคือแบบสอบถาม สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติไค-สแควร์

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 15,001-20,000 บาท และใช้บริการธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่จากธนาคารกสิกรไทย การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ธนาคารที่ให้มีความหลากหลายช่องทางในการสอบถามรายละเอียด ได้รับความสนใจเป็นอับดับที่หนึ่ง รองลงมา คือด้านความปลอดภัยของการใช้งานแอพพลิเคชั่นและช่องโหว่ ด้านทัศนคติ คือ ประโยชน์ของการใช้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือ ช่วยการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร และ เทคโนโลยีมีความทันสมัยสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งานตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ส่วนประสมทางการตลาด และทัศนคติที่มีต่อการใช้ธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

This independent study aimed to study financial transaction via mobile phone, analyze demographic characters in accordance with financial transaction via mobile phone, analyze marketing mix in accordance with financial transaction via mobile phone and analyze attitude towards using financial application with financial transaction via mobile phone.

This study was a survey research. Population and samples were people who used and did not use financial transaction via mobile phone. Samples were those of 420 people who lived or worked in Bangkok metropolitan. A set of questionnaire was used as a research instrument for data collection. Descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation, along with hypothesis testing and Chi-square were used for data analysis.

The result of this study showed that most respondents were female, aged between 25 – 30, holding a bachelor degree or equivalent, working for private company with an average monthly income between 15,001 – 20,000 baht. Most of them used financial transaction via mobile phone with Kasikorn Bank. In marketing mix analysis, the important factors were several channels for the information inquiry, security and vulnerability respectively. In attitude towards using financial application on mobile phone analysis, cost reduction, modern and convenient use of technology were found respectively. The hypothesis testing indicated that the demographic, marketing mix, and attitude correlated with financial transaction via mobile phone.

 

Download : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร