Readiness of state enterprise officers to ASEAN economic community: a case study of head office electricity generating authority of Thailand in Nonthaburi province  

โดย วรุตม์ บุญมากมี

ปี 2558 

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ เพื่อศึกษาการรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ มีจำนวน 412 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 10,001-20,000 บาท อยู่ในสังกัดสายรอง รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า โดยกลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้ผลกระทบที่เกิดจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาพรวมและในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยอันดับแรกคือด้านการเปิดเสรีเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือและในส่วนของระดับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในภาพรวมและในแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยอันดับแรกคือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผลการทดสอบสมติฐานพบว่าปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษาที่แตกต่างกันจะมีผลต่อระดับการเตรียมความพร้อมของพนักงานแตกต่างกันในขณะที่ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ในส่วนของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและสังกัดสายรองที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความพร้อมของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน

The objectives of this study were to study the readiness of state enterprise officers in the Electricity Generating Authority of Thailand toward the ASEAN Economic Community (AEC) and examine state enterprise officers’ perception of the impact of entering the AEC. The research samples used in this study were 412 state enterprise officers. A questionnaire was used to collect data which was then analyzed using descriptive and inferential statistics.

The findings revealed that the majority of respondents were male aged 20-30 years with a Bachelor’s degree. They were working under a subordinate secondary line in the Deputy Governor Generation with an average monthly income of 10,001-20,000 baht. The level of their perception of the impact of entering the AEC was high both overall aspects and each single aspect, the aspect considered as the first order of importance was liberalizing the movement of skilled labor while the level of readiness toward AEC as a whole and on each side was moderate, the aspect with the first importance rank was the information technology and communications.

The result of the hypothesis test showed that the difference in demographic factors including gender, age, and education affected the level of readiness of state enterprise officers while the difference in demographic factors in the part of the average income per month and under a subordinate secondary line did not affect their availability of state enterprise officers in the Electricity Generating Authority of Thailand toward the AEC.

 

Download : การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ : กรณีศึกษา สำนักงานกลางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จังหวัดนนทบุรี