The community collaboration model in early childhood curriculum quality management of Suan Dusit University Nakhonnayok  center

โดย ธารารัตน์ วรรณรัตน์

ปี 2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบความร่วมมือของท้องถิ่นในการจัดการศึกษาด้านคุณภาพหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้งนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ใช้หลักสูตรและผู้ปกครองนักศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับสูง (Well-known) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ใช้หลักสูตร และผู้ปกครองนักศึกษา ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( x̄  ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความร่วมมือของท้องถิ่นในการจัดการศึกษาด้านคุณภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้งนครนายกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 1) การกำหนด เป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักสูตร 2) การกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 3) การกำหนดเนื้อหารายวิชา 4) การออกแบบกระบวนการเรียนการสอน 5) การส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย 6) การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้และการวิจัย และ 7) การกำกับคุณภาพหลักสูตรโดยมีแนวปฏิบัติในการร่วมมือทั้งหมด จำนวน 58 ข้อ สำหรับรูปแบบความร่วมมือมีความเหมาะสมในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.08-4.12 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54

The research aimed to create and study the community collaboration model in early childhood curriculum quality management of Suan Dusit University Nakhonnayok Center. The sample in this study was composed of 1) 10 informants who were well-known university administrators, school administrators, curriculum users and parents, selected using purposive sampling method and 2) 316 school administrators, curriculum users and parents, selected using multi-stage sampling method. The structured interview was used as a research instrument for the former while questionnaires, with reliability of 0.98, were used for the latter. The data were analyzed using mean and standard deviation. The research showed that the community collaboration model in early childhood curriculum quality management which consisted of 58 guidelines in 1) goals and purposes setting, 2) desired characteristics of graduates, 3) subject contents, 4) designs of teaching and learning, 5) research promotion, 6) the provision of research and learning infrastructure, and 7) curriculum supervision was considered appropriate at a high level (mean = 4.08-4.12, SD = 0.54).

Download : The community collaboration model in early childhood curriculum quality management of Suan Dusit University Nakhonnayok center