The effect of school management according to the philosophy of sufficiency economy on the school’s readiness for ASEAN of schools under Pathumthani primary education service area office

โดย สิริรัตน์ สังสุทธิ

ปี 2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง 2) ระดับความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา และ 3) การบริหารตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี จำนวน 353 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา ได้แก่ ด้านเงื่อนไขความรู้ (x4) ด้านเงื่อนไขคุณธรรม (x5) ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี (x3) และด้านความพอประมาณ (x1) ส่งผลต่อความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 72.9 ส่วนด้านความมีเหตุผล (x2) สามารถพยากรณ์ได้แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

The purposes of this research were to study 1) the level of school management according to the Philosophy of Sufficiency Economy, 2) the level of the school’s readiness for ASEAN, and 3) the effect of school management according to the Philosophy of Sufficiency Economy on the school’s readiness for ASEAN of schools under Pathumthani Primary Education Service Area Office. The subjects of this study were multi-stage sampled 353 administrators and teachers of schools under Pathumthani Primary Education Service Area Office. The research instrument was a questionnaire, of which the reliability was .97. The descriptive statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression analysis by enter. Findings of the research revealed that 1) the level of school management according to the Philosophy of Sufficiency Economy as a whole was at the high level, 2) the level of the school’s readiness for ASEAN as a whole was at the high level, and 3) the school management according to the Philosophy of Sufficiency Economy in terms of knowledge factor, moral and ethics factor, self-immunity and moderation affected on the school’s readiness for ASEAN of schools at 72.9 percent of the variance. However, the reasonableness factor was predictable but had no statistical significance.

Download : The effect of school management according to the philosophy of sufficiency economy on the school’s readiness for ASEAN of schools under Pathumthani primary education service area office