Effect of social environment management in science subject on grade 3 students’ opinions

โดย ปุญญิศา ผุสิตธโนดม

ปี 2557

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม วิชาวิทยาศาสตร์ ใน 2 ด้าน คือ ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน และด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ลักษณะการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ จำนวน 42 คน ในปีการศึกษา 2557 ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม วิชาวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นดังนี้ นักเรียนมีความคิดเห็นด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สรุปผลเป็นรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ 1) ครูมีกระบวนการสอนที่ชัดเจน ตั้งใจและเต็มใจถ่ายทอดความรู้ โดยใช้เทคนิคการสอนที่น่าสนใจนอกเหนือไปจากการบรรยาย 2) ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้ตามความสนใจของผู้เรียนอย่างเป็นกันเอง และ 3) ครูมีความยุติธรรมและผ่อนปรน ยืดหยุ่นได้ นอกจากนี้นักเรียนมีความคิดเห็นในด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สรุปผลเป็นรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ 1) นักเรียนมีความคิดเห็นว่าผู้เรียนให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2) ผู้เรียนมีการวางแผนร่วมกันก่อนที่จะทำ การทดลองหรือทำ กิจกรรมกลุ่ม และ 3) ผู้เรียนตระหนักถึงผลกระทบของการกระทำ ของตนเองต่อผู้อื่น

This qualitative research aimed to study the effect of social environment management in science classroom on grade 3 students’ opinions in two categories: 1) the interaction between teachers and students, and 2) the interaction between students and students. The sample in this study, selected using purposive sampling technique, was composed of 42 grade 3 students of prathomsuksa Thammasat School in the academic year 2014. The research instrument used for collecting data was questionnaires about social environment management. The data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation. The research showed that the effect of social environment management in science classroom on grade 3 students’ opinions in the category of the interaction between teachers and students as a whole was at the high level. The highest three aspects were 1) the teachers used clear instructions and good techniques, 2) teachers prepared friendly classroom environments, and 3) teachers were fair and flexible. In addition, the effect of social environment management in science subject on grade 3 students’ opinions in the category of the interaction between students and students as a whole was also at the high level. The highest three aspects were 1) the students were cooperative, 2) the students planned well before doing activities, and 3) the students realized the effects of their behaviors on other people.

Download : Effect of social environment management in science subject on grade 3 students’ opinions