The development of additional course on flood facing preparation for grade six students

โดย ปิยวรรณ ทองสุข

ปี 2557

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้า ท่วมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วม

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้ำ ท่วมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา จังหวัดนครนายก และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วม ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดหมาย ผลการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้า ท่วมสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The purposes of this study were 1) to develop an additional course on flood facing preparation for grade six students, 2) to compare students’ achievement both pre and post learning from the developed additional course on flood facing preparation for grade six students.

The samples were 30 grade six students of Malasawanphittaya School, Banna District, Nakhonnayok Province. The research instruments were the developed additional course on flood facing preparation for grade six students of Malasawanphittaya School Nakhonnayok Province and a learning achievement test. The data were analyzed by percent, mean, standard deviation, and t-test dependent.

The research findings were as follows: 1) The developed additional course on flood facing preparation consisted of philosophy, principle, objectives, learning outcome, course description, contents, time table, instructional media, media evaluation, and lesson plan on flood facing preparation. It was found out that the developed additional course was appropriate to classroom instruction. 2) The post-test of students’ learning achievement showed the higher performance than the pre-test with the statistically significant difference at the level of .01.

 

Download : การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6