Phi Ta Khon : form and creative cultural products

โดย ศุภวิชญ์ มาสาซ้าย

ปี 2558

วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2558), หน้า 50-73

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวประเพณีผีตาโขนได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและประชาสัมพันธ์ให้คนภายนอกได้รับรู้มากขึ้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเที่ยวชมงานประเพณีในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจของที่ระลึกและการบริการ ดังนั้นสินค้าดังกล่าวจึงต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะจึงจะสามารถสร้างความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งการสร้างเอกลักษณ์หากมีการนำแนวคิดจากสิ่งที่สื่อจากเรื่องราวประเพณีวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น และในกรณีรูปแบบการละเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นประเพณีที่มีการแสดงออกของเครื่องแต่งกายที่สดใสสวยงามและมีเอกลักษณ์ เมื่อมีการนำมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ระลึกที่มีแนวคิดจากการผสมผสานทั้งการใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติจากท้องถิ่น กรรมวิธีการผลิตที่พัฒนาจากกรรมวิธีดั้งเดิมด้วยฝีมือชาวบ้าน การออกแบบด้วยการคำนึงถึงรูปแบบที่ทำสืบทอดกันมาในอดีต การคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย เพื่อให้รูปแบบมีลักษณะที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นจะทำให้ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมูลค่าเพิ่มขึ้น

Phi Ta Khon Festival is supported and publicized by the government, so people know it more. This attracts many tourists to visit different places of festivals. As a result, the local economy grows especially its souvenir business and services. Such products must be so unique that they can interest the tourists. If the concept of its uniqueness is arisen from tradition, culture and local wisdom, it will be more interesting. Phi Ta

Khon, a dance performance in Dan Sai District in Loei, signifies a performance in bright and beautiful costumes and it is unique. If this dance is transferred into souvenirs made from natural materials in the local mixing with original method by the local people and its design carried on various generations, this will create unique and valuable products.

 

Download : การละเล่นผีตาโขน : รูปแบบ และการสร้างสรรค์สู่ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม