Ubiquitous Learning according to the need of Secondary Schools under PathumThani Educational Service Area Office 2

โดย ภูริตา เบาเนิด

ปี 2555

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนแบบ ยูบิควิตัสของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัสตามความต้องการของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิวิตัสของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 16 คน ครู จำนวน 120 คน และนักเรียน จำนวน 240 คน รวมเป็น 376 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัสแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนการสอน คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยใช้วิธีแนะนำอ้างอิงแบบลูกโซ่ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัสของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) รูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัส และ 3) แบบรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัส โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านผู้ใช้ ด้านเทคโนโลยี ด้านเนื้อหาบทเรียนและด้านการประเมิน ซึ่งในทุกด้านมีความต้องการอยู่ในระดับมาก 2) ผลการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัสของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ามีความเหมาะสม

This study aimed 1) to study the need of Ubiquitous Learning of Secondary Schools under PathumThani Educational Service Area Office 2, 2) A proposed model of Ubiquitous Learning based on the need of Primary Schools under PathumThani Educational Service Area Office 2. Sample used in this study was categorized into 2 groups: 1) sample used in study of the need of Ubiquitous Learning of Secondary Schools under PathumThani Educational Service Area Office 2, which consisted of 16 school administrators, 120 teachers, and 240 students (376 samples in total), obtained by classifying random and 2) sample used in the proposed model of Ubiquitous Learning that was categorized into two groups contained of 18 educational technology experts and form of learning experts. The experts with required qualification were selected by snowball sampling method. Research instrument used in this study consisted of 1) questionnaire concerning to the need of Ubiquitous Learning of Secondary Schools under PathumThani Educational Service Area Office 2, 2) model of Ubiquitous Learning and 3) affirmation form for Ubiquitous Learning. Statistic used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The findings were as followed : 1) The need of Ubiquitous Learning of Secondary Schools under PathumThani Educational Service Area Office 2 were 4 aspects to be considered : 1) Users 2) Technology 3) Content of Lesson 4) Evaluation was in a high level and 2) The proposed model of Ubiquitous Learning of Secondary Schools under PathumThani Educational Service Area Office 2 experts agree was appropriate.

 

Download : รูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัสตามความต้องการของ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปทุมธานี เขต 2