Hmong Needlework Products : The Design for Creative Economy

โดย ทองเจือ เขียดทอง

ปี 2558

วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2558), หน้า 55-79

บทคัดย่อ

ผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้งเป็นงานภูมิปัญญาที่สำคัญในการแสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชนเผ่าม้ง ซึ่งหากมีการสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดด้วยกลยุทธ์ด้านการออกแบบ จะสามารถสร้างประโยชน์และเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจได้การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาลายผ้าปักม้ง 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้ง 3) พัฒนาลายและผลิตภัณฑ์จากผ้าปักม้งเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เครื่องมือวิจัยคือแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เก็บข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนามจากผู้รู้ 25 คน ผู้ปฏิบัติ 56 คน และผู้เกี่ยวข้อง 20 คน ตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า และนำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า งานภูมิปัญญาด้านผ้าปักของชนเผ่าม้ง มีการสืบทอดในครอบครัวและชุมชนเป็นภูมิปัญญาที่ติดไปกับการอพยพจนเป็นอัตลักษณ์ประจำเผ่าได้อย่างชัดเจน โดยจำแนกลายได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มลายผ้า ปักม้งโบราณ ที่มีที่มาจากธรรมชาติ และอักษรม้งโบราณ 2) กลุ่มลายสมัยใหม่ ที่มีที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในด้านกระบวนการผลิตมีการปักหลากหลายวิธี คือ การปักด้ายหรือไหม (Embroidery) ได้แก่ วิธีการปักลายขัดเดินเส้น วิธีการปักไขว้ (แบบครอสติค) การปักลายดอกเย้าเครื่องหมายบวก วิธีการปักลูกโซ่ การปักทึบ และวิธีการปักสอยเป็นภาพวิธีชีวิตชาวม้ง การปะสอย (Appliqué) ได้แก่ วิธีการปะสอยแบบรูปเรขาคณิต วิธีการปะ ปักสอยด้วยตัดผ้าเป็นลวดลายแล้วปะบนผ้าสีต่างๆ และวิธีการแบบผสม (Mixed technique) ได้แก่ วิธีการทำผ้าบาติกผสมการปะสอย สภาพปัญหาที่พบคือ งานผ้าปักม้ง ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ขาดผู้สืบทอด และขาดการพัฒนาลายใหม่ๆ แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้ง ควรเน้นที่คุณค่าและการสร้างมูลค่าเพิ่ม และควรมีการรวบรวมลายผ้าปักม้งเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาลายต่อไปได้ง่ายขึ้น มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้ง ผู้วิจัยใช้แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยกลยุทธ์การออกแบบรูปแบบร่วมสมัย วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ และวัสดุจากใยสังเคราะห์ ส่วนลายผ้าที่นำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของชาวเขาเผ่าม้ง และเน้นความงามร่วมกับประโยชน์ใช้สอยเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Hmong needlework products are the wisdom important for expressing identity of Hmong ethnic groups. They will be of greater benefit and added value to creative economy some design strategies. The purposes of this qualitative research were to: 1) study the wisdom of Hmong needleworks. 2) study the resolution guidelines for the development of Hmong needleworks and 3) develop ornament and product designs from Hmong needlework for the creative economy. The research tools included surveys, observation, focus group interviews, and workshops. The researcher collected secondary data and fieldwork data from 15 informants, 30 casual informants and 20 general informants and data was checked for accuracy using triangulation techniques, analyzed and presented by descriptive analysis method.

The results showed that the wisdom of Hmong embroidery was inherited from family and community, along with their migrations, and became evidently the identity of the tribe. Hundreds of needlework designs were found. The embroidery ornaments could be classified into two groups : the ancient Hmong needlework ornament and the modern Hmong needlework ornament Hmong needlework included a wide variety of techniques : embroidery, such as outline stitch cross-stitch “Yao” style in form of plus sign chain stitch satin stitch embroidery of the scenes from Hmong‘s ways of life; appliqué, such as appliqué with geometric patterns, appliqué with design on different color fabric; and mixed techniques, for example combination of stitch on batik fabric, lacing with other materials and combinations of the above techniques.

In developing of Hmong embroidery, the researcher used the contemporary design strategy. Natural fiber and synthetic materials are used. The Fabric used to express the identity of the Hmong and beauty with functionality to enhance the creative economy.

 

Download : ผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้ง : การออกแบบเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์