Study on the aggregation of Wi-Fi Links for IEEE 802.11n

โดย นิสิต ภูครองตา

ปี 2555

บทคัดย่อ

IEEE 802.11n เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้งานแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ยังพบปัญหาในเรื่องของแบนด์วิดท์ในการรับส่งข้อมูล เมื่อมีผู้ใช้จำนวนมาก ส่งผลทำให้ค่าปริมาณงานของการรับส่งข้อมูลลดลง

วิทยานิพนธ์นี้ จึงนำเสนอการนำ IEEE802.11n มาประยุกต์ใช้บน IEEE 802.3ad เพื่อเพิ่มแบนด์วิดท์ในการติดต่อสื่อสาร และลดความคับคั่งของการรับส่งข้อมูล รวมถึงการสำรองเส้นทางเมื่อเส้นทางหลักมีปัญหา โดยเปลี่ยนการรวมกลุ่มลิ้งค์จากเดิมที่เป็นสื่อกลางแบบสาย มาเป็นสื่อกลางแบบไร้สาย ทดสอบที่ความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ช่องสัญญาณ 20 เมกะเฮิรตซ์ ที่ช่อง 1 และ 11 แบบจุดไปจุด โดยมีการส่งข้อมูลแบบสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา อัตราถ่ายโอนข้อมูล 65 เมกะบิตต่อวินาทีโมดูเลชันแบบ 64-QAM และปรับลดค่าเวลาตามมาตรฐาน 0.8 ไมโครวินาที เพื่อประเมินผลค่าปริมาณงาน ค่า SNR และค่าเวลาของการรับ-ส่งแพ็กเกจ เมื่อใช้โพรโตคอลทีซีพี ส่งข้อมูลของแพ็กเกจที่ขนาดแตกต่างกัน

จากผลการทดสอบเมื่อรวมกลุ่มลิ้งค์ในระบบไร้สาย สามารถเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้เพิ่มขึ้นและลดความคับคั่งของการรับส่งข้อมูล รวมถึงสามารถสำรองเส้นทางเมื่อเส้นทางหลักมีปัญหา เมื่อค่าการรบกวนของช่องสัญญาณมีค่าน้อย จะส่งผลทาให้ค่า SNR เพิ่มขึ้น เป็นผลให้ค่าปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อรวมกลุ่มลิ้งค์ 2 ลิ้งค์ สามารถส่งข้อมูลได้ 40.10 เมกะบิตต่อวินาที เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.4 โดยใช้โพรโตคอลทีซีพีที่ขนาดของแพ็กเกจแตกต่างกัน และเมื่อส่งแพ็กเกจขนาด 1480 กิโลไบต์ สามารถส่งข้อมูลได้ 50.47 เมกะบิตต่อวินาที เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.84 ในสภาวะไม่มีโหลด และ 60.80 เมกะบิตต่อวินาที เฉลี่ยร้อยละ 0.16 ในสภาวะโหลดเต็มที่

The standard IEEE 802.11n is wireless technology that extensively used today. The problem of IEEE 802.11n standard is bandwidth for data transmission congestion while there is large number of users. Thus this problem needs to be managed in order to decrease the throughput of transmitting data.

This thesis proposes the application of using IEEE 802.11n on IEEE 802.3ad. The application improves bandwidth in communication and decreasing of the transmitting data congestion. The process is included reserving the redundant path when the main path has problem by changing the link aggregation. For testing frequency at 2.4 GHz with bandwidth 20 MHz on Channel 1 and 11 in mode point to point. Bridging transmission mode uses half duplex data rate at 65 Mbps, 64-QAM modulation type. The standard adjusts time value as 0.8 μs. There are applied for evaluating the throughput, SNR and round trip time. Protocol TCP is used for transmitting data at different packet size.

The experimental results show that the link aggregation in wireless system is increase the bandwidth and decreasing the data transmission congestion. It reserves the redundant path from problems of the main path. Nevertheless, results of interference power noise decreases in order to increasing SNR and throughput. Two link aggregations can be transmitted data up to 40.10 Mbps (increasing 5.4 %) by using TCP protocol with different packet size. And then, 1480 Kbytes of packet size can be transmitted data up to 50.47 Mbps (increasing 0.84%). For non-load condition can up to 60.80 Mbps (increasing 0.16%) in full-load condition.

 

Download : การศึกษาการรวมกลุ่มลิงค์ของวายฟาย สำหรับ IEEE 802.11n