Influence of non ferrous in hydrodynamics deep drawing process

โดย ธัญญพัฒน์ เจียรละม่อม

ปี 2556

บทคัดย่อ

รอยย่น รอยฉีกขาด และความหนาที่ไม่สม่ำเสมอของชิ้นงานเป็นปัญหาที่สำคัญในด้านคุณภาพของกระบวนการลากขึ้นรูปลึกโลหะแผ่น ด้วยเหตุนี้จึงประยุกต์ใช้กระบวนการลากขึ้นรูปแบบไฮโดรไดนามิกส์ เพื่อลดปัญหาเหล่านี้และเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงาน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลในลากขึ้นรูปลึกโลหะนอกกลุ่มเหล็กด้วยกระบวนการไฮโดรไดนามิกส์ และเปรียบเทียบตัวแปรที่เกิดจากการลากขึ้นรูปลึกแบบปกติและการลากขึ้นรูปลึกแบบไฮโดรไดนามิกส์

วัสดุที่ใช้ในการศึกษานี้คือ ทองแดงเกรด C1100 และทองเหลืองเกรด C2801 ความหนา 0.5 มิลลิเมตร ชิ้นงานตัดเป็นแผ่นกลมมีขนาดเริ่มต้นเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 มิลลิเมตร ถูกนาไปขึ้นรูปโดยกระบวนการไฮโดรไดนามิกส์หลายตัวแปรการผลิตประกอบด้วย น้ามันไฮดรอลิกเกรด TIS 3 แรงดันน้ามัน 2.5 – 7.5 MPa. และแรงกดชิ้นงาน 3 ระดับ คือ 1.884 – 7.130 kN หลังการขึ้นรูปชิ้นงานถูกนาไปตรวจสอบค่าความหนา ความเครียด รอยย่นและรอยฉีกขาดของชิ้นงาน

ผลการทดลองพบว่า แรงดันน้ามันเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งต่อการลากขึ้นรูป การเพิ่มแรงดันน้ามันส่งผลให้แรงในการลากขึ้นรูปสูงขึ้นและความหนาสม่ำเสมอมากขึ้น ทองแดง C1100 ที่ยากต่อการลากขึ้นรูปแบบปกติ สามารถทำได้ด้วยกระบวนการไฮโดรไดนามิกส์ ทองแดง C1100 มีความหนาเพิ่มขึ้น 3.872% เมื่อแรงดันน้ามันมีค่า 5.0 MPa และแรงกดชิ้นงาน 7.130 kN ในขณะที่ทองเหลือง C2801 สามารถลากขึ้นรูปได้ทั้งแบบปกติและแบบไฮโดรไดนามิกส์ ที่ความหนาของชิ้นงานเพิ่มขึ้น 4.916 % ที่ แรงดันน้ามัน 7.5 MPa แรงกดชิ้นงาน 3.924 kN และไม่สามารถขึ้นรูปได้ที่แรงกดแผ่นชิ้นงาน 7.130 kN และแรงดันน้ำมัน 7.5 MPa

Download : Influence of non ferrous in hydrodynamics deep drawing process