Influences of die radius on rectangular cup deep drawing of automobile structural steel

โดย ไพศาล เอี่ยมมิ

ปี 2555

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออประยุกต์ใช้เทคนิคการผลิตแบบลีนในการปรับปรุงระบบการผลิตของสายการผลิตซาลาเปา ซึ่งปัญหาที่พบปัจจุบันคือมีปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงซึ่งมีมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 5,148,286 บาท เมื่อเทียบกับยอดการใช้จริงแค่ 2,562,458 บาท จากการสั่งซื้อเฉลี่ยต่อเดือนมากถึง 7,710,744 บาท ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงสายการผลิตไม่สมดุลส่งผลให้ประสิทธิภาพของสายการผลิตต่ำเพียงร้อยละ 61.88 จากเป้าหมายร้อยละ 90 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเทคนิคการผลิตแบบลีนเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าให้องค์กรขั้นตอนในการดำเนินงานเริ่มต้นจากการใช้แผนผังสายธารแห่งคุณค่ารวบรวมข้อมูลและระบุตำแหน่งของปัญหา ซึ่งพบปัญหาที่ฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายผลิต จากนั้นทำวิเคราะห์ปัญหาโดยแผนภูมิสาเหตุและปัญหา และนำเทคนิคการผลิตแบบลีนประกอบด้วยหลักการ ECRS การจัดการสินค้าคงคลัง การผลิตแบบดึง การศึกษาเวลาและการจัดสมดุลการผลิตมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการ

ผลการวิจัยพบว่าฝ่ายคลังสินค้าสามารถประหยัดยอดสั่งซื้อจากเดิมลงร้อยละ52.18 ทำให้ระดับสินค้าคงคลังลดลงร้อยละ82.57 ระยะเวลาการดำเนินการขอซื้อต่อครั้งของเจ้าหน้าที่ลดลงร้อยละ 80.66 ระยะเวลานำของวัตถุดิบลดลงร้อยละ 77.14 และที่ฝ่ายผลิตพบว่าสมดุลการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.64 ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.20 ชั่วโมงในการผลิตลดลงร้อยละ 48.41 และทำให้ประหยัดค่าแรงทางตรง 54,000 บาท จากยอดผลิตทุก 120,000 ลูก

Download : Influences of die radius on rectangular cup deep drawing of automobile structural steel