Collaboration patterns in construction industry for sustainable business alliance development

โดย พัดชา ชัยชนะพาล

ปี 2556

บทคัดย่อ

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมก่อสร้างได้มีการเติบโตขยายตัวขึ้นมากการทำงานในรูปแบบพันธมิตรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้โครงการประสบความสำเร็จ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน คุณสมบัติองค์กร รูปแบบความร่วมมือ และปัจจัยที่ส่งผลให้พันธมิตรธุรกิจในธุรกิจก่อสร้างมีความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารในธุรกิจก่อสร้าง จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้กลุ่มตัวอย่างระดับปฏิบัติการในโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 ตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าของโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาหลัก และผู้รับเหมารายย่อย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

ผลการศึกษาพบว่าเนื่องจากองค์กรมีสมรรถนะไม่เพียงพอ จึงมีความต้องการองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การกระจายความรับผิดชอบ การเพิ่มศักยภาพความน่าเชื่อถือ และการลดภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้เกิดขึ้นซึ่งคุณสมบัติขององค์กรในการพิจารณาเป็นพันธมิตรธุรกิจก่อสร้างประกอบด้วย มีสถานภาพทางการเงินดี ผลงานมีคุณภาพ มีศักยภาพด้านการทำงาน ราคาที่เหมาะสม โดยใช้รูปแบบความร่วมมือ 3 รูปแบบ ได้แก่กิจการร่วมค้า การร่วมมือเซ็นสัญญา พันธมิตรร่วมงาน ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของการเป็นพันธมิตรธุรกิจก่อสร้างประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนของผู้บริหารให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านจรรยาบรรณ ด้านการเงิน ด้านคุณภาพงาน ด้านการปฏิบัติงานและปัจจัยด้านเวลา ส่วนระดับปฏิบัติการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านเวลา ด้านคุณภาพงาน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านจรรยาบรรณ และปัจจัยด้านการเงินตามลำดับ

Many new construction businesses are setting up during the current fast growing construction industry, thus the business alliance is especially important and necessary for the success of the projects. The study was conducted to investigate the competitive advantage, organization qualifications, collaboration patterns, along with the factors affecting sustainable construction business alliance.

Mixed method was employed to this study. The data were collected through the in-depth interview method with 9 construction executives, and through the application of questionnaire gathered from 50 operation staff of the construction projects in Bangkok which consisted of project owners, project consultants, project designers, main contractors and subcontractors. The data were analyzed based on content analysis and descriptive statistics to find out the factors that affected the sustainable relationship of business alliance.

The results of the study demonstrated that due to the organization’s effectiveness was not sufficient, it was important to have the organization which possessed specific skills and had appropriate distribution of responsibility, effective ways to increase reliability and a reduction in investment costs in order to create competitive advantage. The organization qualifications which were considered for the construction business alliance consisted of good financial status, high quality performance, performance efficiency and appropriate costs and this could apply the 3 collaboration patterns, i.e. joint venture, consortium and partnering. The factors affecting the relationship of the successful sustainable business alliance could be classified into two parts, i.e. the part of the executives which was stressed on the factors of ethics, finance, performance quality, work performance and time, while the part of the operation level was focused on the factors of time, performance quality, work performance, ethics and finance respectively.

 

Download : รูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์กรในอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อพัฒนาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ยั่งยืน