Learning Objects Development on Geometric Affected Mathematical Creative Thinking of Phathomsuksa 5 Students

โดย วงเดือน คล้ายบุญมี

ปี 2556

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเลิร์นนิงอ็อบเจ็กต์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางด้านคณิตศาสตร์และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังการใช้เลิร์นนิงอ็อบเจ็กต์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์ ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีการใช้ตารางเลขสุ่ม (Random number table) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เลิร์นนิงอ็อบเจ็กต์ เรื่องรูปเรขาคณิตแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที_มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample)

ผลการวิจัยพบว่า เลิร์นนิงอ็อบเจ็กต์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 80.04/80.83 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 10.40 และมีค่า S.D. เท่ากับ 1.61 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.16 มีค่า S.D. เท่ากับ 1.12 มีค่า t-test ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 17.60 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของนักเรียนที_มีต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังการใช้เลิร์นนิงอ็อบเจ็กต์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04  อยู่ในระดับดี

This thesis aimed to develop learning objects for effective criteria of 80/80, the development of a learning object geometry affecting creativity of  prathomsuksa 5 students, and to study the satisfaction of the students on mathematics using the objects.

The samples of this study were 30 students in prathomsuksa 5 from Buengkaoyont School, Office Primary Educational Pathumthani 1 in the academic year 2555. The research tools were learning objects geometry,tests, the creativity evaluation for mathematics of the students, and satisfaction evaluation of the students in grade 5. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation. The obtained data were analyzed by independent Sample t – test.

The results showed that the learning objects were as effective as scheduled. Average basis equal to 80.04/80.83. The scores of achievement test used for posttest were higher than the pretest statistically significant at the 0.01 level. The mathematical creativity of the students was high, and the satisfaction of the students for mathematics after using the learning objects was at good level.

Download : การพัฒนาเลิร์นนิงอ็อบเจ็กต์ เรื่องรูปเรขาคณิตที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5