By นันท์ชนก นันทะไชย และ อินทิรา ลิจันทร์พร

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.630-636

 

Abstract

การศึกษาผลของสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ 2 ชนิด คือ ไคโตซานและเมธิลเซลลูโลส ที่เข้มข้น 3 ระดับ คือ 0.1, 0.5 และ 1.0% ต่อโครงสร้างเซลล์เนื้อเยื่อลำไยแช่แข็ง พบว่าเนื้อเยื่อของลำไยแช่เย็นที่ 4 degree Celsius เกิดการแยกตัวของเซลล์เพียงเล็กน้อย ในขณะที่เนื้อเยื่อของลำไยแช่แข็ง ถูกทำลายตั้งแต่ที่ระยะเวลาเริ่มต้นของการเก็บรักษา เกิดการแยกตัวของเซลล์เห็นได้อย่างชัดเจน เซลล์เนื้อเยื่อของลำไยแช่แข็งที่เคลือบด้วยไคโตซาน 1.0% เกิดการแยกตัวของเซลล์เห็นได้อย่างชัดเจนและเกิดความเสียหายต่อเซลล์มากกว่าลำไยแช่แข็งที่เคลือบด้วยไคโตซาน 0.1 และ 0.5% สำหรับเซลล์ของลำไยแช่แข็งเคลือบด้วยเมธิลเซลลูโลสความเข้มข้น 0.1% นั้นถูกทำลายตั้งแต่ที่ระยะเวลาเริ่มต้นของการเก็บรักษา ในขณะที่ลำไยแช่แข็งเคลือบด้วยเมธิลเซลลูโลส 0.5 และ 1.0% มีความเสียหายของเซลล์เนื้อเยื่อน้อยมาก โครงสร้างของเซลล์และการแยกตัวของเซลล์ลำไยที่เคลือบด้วยเมธิลเซลลูโลสเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าการเคลือบด้วยไคโตซาน

Download: ผลของสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ต่อโครงสร้างเซลล์เนื้อเยื่อลำไยแช่แข็ง