By จุฑารัตน์ ทะสะระ, สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล และ ยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.531-537

 

Abstract

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอบปลาแห้งข้าวสาร โดยใช้ตู้อบแห้งที่มีลมร้อนและรังสีอินฟราเรดเป็นแหล่งพลังงาน โดยพิจารณาจลนศาสตร์การอบแห้ง และค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น ตลอดจนศึกษาปัจจัยของอุณหภูมิอบแห้งและความเข้มของรังสีอินฟราเรดต่อการลดความชื้น ทดลองอบแห้งในช่วงอุณหภูมิ 50-70 degree Celsius ความเร็วของลมร้อนที่เลือกใช้มีค่าเฉลี่ย 1.0+0.2 เมตรต่อวินาที กำลังของอินฟราเรด 500 และ 1000 วัตต์ ความชื้นเริ่มต้นและความชื้นสุดท้ายอยู่ในช่วง 150-155% มาตรฐานแห้ง และ 15.0+2.0% มาตรฐานแห้งตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าอัตราการอบแห้งจะสูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิอบแห้งและกำลังของรังสีอินฟราเรดเพิ่มขึ้น ในส่วนของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่นำมาอธิบายลักษณะเฉพาะของการอบแห้งปลาข้าวสารโดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ของสหสัมพันธ์ (R2) และค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (RMSE) พบว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของ Page เป็นรูปแบบที่ดีที่สุดที่จะนำไปใช้อธิบายจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งปลาข้าวสารด้วยลมร้อน และรังสีอินฟราเรดได้ดีที่สุดตามลำดับ ทั้งนี้ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นมีค่าเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิอบแห้งและกำลังของรังสีอินฟราเรด

Download: จลนพลศาสตร์การอบแห้งปลาข้าวสารด้วยลมร้อนและรังสีอินฟราเรด