By สันธาร นาควัฒนานุกูล, วิชัย โอภานุกุล, อานนท์ สายคำฟู, วีระ สุขประเสริฐ, ทรงยศ จันทรมานิตย์, วัชรศิลป์ มักสุขเสริม และ อนุชา เชาว์โชติ

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.221-228

 

Abstract

จากการศึกษาสภาพพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 258 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ภาคกลาง 101 ตัวอย่าง ภาคเหนือ 80 ตัวอย่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 77 ตัวอย่าง พบว่าพื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่เป็นแปลงขนาดเล็ก ไม่เหมาะต่อการนำเครื่องเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งมีขนาดใหญ่ ราคาแพงเข้าไปใช้งาน ผลการสำรวจพบว่า การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวอ้อยในพื้นที่เหล่านี้มีประสิทธิภาพเชิงพื้นที่เพียง 30-50% จากการศึกษาพบว่า ถ้าจะให้ประสิทธิภาพเชิงพื้นที่ได้ 80% ขึ้นไป จะต้องทำการจัดรูปแปลงให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 500 ไร่ และมีแถวอ้อยยาวตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันมีเกษตรกรน้อยกว่า 5% ของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั้งหมดที่สามารถดำเนินการได้ การดำเนินการจัดรูปที่ดินสำหรับอ้อยโดยอาศัยแนวทางของสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำเอาเครื่องเก็บเกี่ยวอ้อยเข้ามาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน

Download: ศึกษาและพัฒนาแนวทางการจัดรูปที่ดินให้เหมาะสมต่อการใช้เครื่องเก็บเกี่ยวอ้อย