Study and Design of a Small Germinated Brown Rice Machine for Home

โดย สุนัน ปานสาคร, ศราวุฒิ สุขนาค, เบญจวรรณ พงษ์ศักดิ์ และสุกานดา สนรัมย์

ปี 2553

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2553), หน้า 61-67

บทคัดย่อ (Abstract)

ข้าวกล้องงอกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและกำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด แต่ปัจจุบันขั้นตอนการผลิตข้าวกล้องงอกขาด การควบคุมกระบวนการผลิตที่ดี ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกที่มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้การบริโภคข้าวกล้องงอกสดหรือข้าวกล้องงอกที่ไม่ผ่านกระบวนการอบแห้งย่อมได้คุณค่าทางอาหารที่สูงกว่าข้าวกล้องงอกที่ผ่านการอบแห้ง ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้าวกล้องงอกสดที่มีคุณภาพสูง งานวิจัยนี้จึงเน้นถึงการออกแบบและสร้างเครื่องผลิตข้าวกล้องงอกขนาดเล็กในครัวเรือน รวมถึงการหากระบวนการที่เหมาะสมในการผลิตข้าวกล้องงอกโดยใช้เครื่องดังกล่าว ซึ่งพิจารณาจากคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมีของข้าวกล้องงอก จากการศึกษาพบว่าเครื่องผลิตข้าวกล้องงอกสามารถผลิตข้าวกล้องงอกได้ 8-9 กิโลกรัมต่อวัน และมีขนาด (ก x ย x ส) 40 x 60 x 40 เซนติเมตร ประกอบด้วย ตัวถังเครื่อง, ชุดควบคุมเวลา, ชุดท่อสเปรย์น้ำ, ชุดตะแกรงบรรจุตัวอย่างข้าวกล้อง และชุดควบคุมการเปิด-ปิดน้ำด้วยระบบโซลินอยวาล์ว เมื่อทำการผลิตข้าวกล้องงอกที่สภาวะบรรยากาศ (27 [plusmn] 2 องศา 60 [plusmn] 5%RH) พบว่า ได้คุณภาพของข้าวกล้องงอกที่ดีที่สุดทั้งกายภาพและทางเคมี เมื่อนำตัวอย่างข้าวกล้องแช่ในน้ำเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ร่วมกับการบ่มที่สภาวะเดียวกันเป็นเวลา 20 ชั่วโมง โดยที่ระหว่างกระบวนการบ่มมีการสเปรย์น้ำผ่านตัวอย่างข้าวทุก 4 ชั่วโมง ซึ่งที่สภาวะดังกล่าวนี้ให้ค่าปริมาณจุลินทรีย์ที่มีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการสเปรย์น้ำผ่านข้าว ในขณะที่กรณีดังกล่าวนี้ให้ค่าปริมาณสาร GABA เพิ่มมากขึ้นจากข้าวกล้องที่ไม่ผ่านการงอกประมาณ 4 เท่า และได้คุณภาพข้าวกล้องงอกหลังการหุงสุกที่มีกลิ่นหอมเนื้อสัมผัสนุ่มเหมาะแก่การนำไปบริโภค

Germinated brown rice product is rich in nutrients and it has gained a great deal of attention. Recently, the low quality of germinated brown rice product (GRB) was found, which cause lack in controlling process. Besides to consume fresh of GRB gave higher of nutrients than dry of GRB product. Thus resulting in higher qualities of GRB, the aim of this study was to design and construct of a small GRB machine for home. In addition, the optimum process of GRB was also investigated base on the physicochemical properties of GRB product. The capacity of GRB machine was 8-9 kg/day and the cubic size 40x60x40 cm. consisted of bucket, time controller, spray unit, baskets sample and solenoid valves for controlling water on-off. At room temperature condition (27 [plusmn] 2 degree Celsius 60 [plusmn] 5%RH) resulted in good physicochemical properties when soaked brown rice in water for 4 hr combined with incubate process at the same condition for 20 hr. During the incubation process, water was sprayed every 4 hr interval which showed lowest in growth microorganism, whilst there was 4 times greater for GABA content compared with brown rice. At this condition was observed in good quality of GRB after cooking such as good flavor and soft of texture.

Download : ศึกษาและออกแบบเครื่องผลิตข้าวกล้องงอกขนาดเล็กในครัวเรือน