Productivity Improvement for Cast Iron Burner Production Line A Case Study at TMN Machine and Foundry Co., Ltd.

โดย ยุทธณรงค์ จงจันทร์ และ ณฐา คุปตัษเฐียร

ปี 2553

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2553), หน้า 17-27

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลผลิตสายการผลิตเตาเหล็กหล่อจากปัจจุบัน 5,000 ชุดต่อเดือนเป็น 8,000 ชุดต่อเดือนตามความต้องการของลูกค้าที่สูงขึ้นโดยการกำจัดและลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ต่อตัวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ งานที่เป็นจุดคอขวด ความสูญเปล่าเนื่องจากการรอคอย การเคลื่อนไหวที่เกินจำเป็น งานเสีย งานที่ต้องนำกลับมาทำใหม่รวมถึงการลดระยะทางและเวลาในการขนย้ายวัตถุดิบ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือควบคุมคุณภาพทั้ง 7 สำหรับการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เทคนิคการจัดสมดุลสายการผลิต การปรับปรุงผังโรงงาน การศึกษาการทำงาน และหลักการ ECRS สำหรับปรับปรุงสายการผลิต ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าสามารถควบคุมรอบเวลาการผลิต ไม่ให้เกินจังหวะความต้องการของลูกค้าได้ทุกสถานีงาน ลดจำนวนสถานีงานได้ 14 สถานีคิดเป็น 40% ลดจำนวนพนักงานได้ 14 คน คิดเป็น 40% ลดรอบเวลาการผลิตรวมลง 17.55 นาที คิดเป็น 64.33% สัดส่วนของงานเสียเฉลี่ยทุกสายการผลิตเหลือ 0.16% ผังโรงงานที่ปรับปรุงใหม่ สามารถลดระยะทางการขนย้ายวัสดุได้ 253.5 เมตรคิดเป็น 72.53% โดยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 8,000 ชุดต่อเดือน ดัชนีผลิตภาพแรงงานสูงขึ้น 69.23% ดัชนีผลิตภาพวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น 3.85% ดัชนีผลิตภาพรวมเพิ่มขึ้น 13.04% และสามารถกำหนดเวลามาตรฐานในการทำงานให้กับพนักงานได้

Download : การเพิ่มผลผลิตสายการผลิตเตาเหล็กหล่อ กรณีศึกษา  บริษัท ที เอ็ม เอ็น แมชชีนแอนด์ฟราวน์ดรี้ จำกัด