E-business behavior affecting savings

โดย นนทวัฒน์ เยาวสังข์

ปี 2555

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านทัศนคติ และปัจจัยด้านพฤติกรรมการทา ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรในอำเภอพระนครศรีอยุธยาจำนวน 400 คน ใช้สถิติเชิงพรรณา คือร้อยละ ค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์และใช้สถิติเชิงอนุมาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติไค-สแควร์

จากผลการศึกษาพบว่า ด้านประชากรศาสตร์ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 25 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 10,001 ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ด้านทัศนคติพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออม การออมมีความสำคัญ ควบคุมการออมในแต่ละเดือน ตื่นตัวและเล็งเห็นความสำคัญของการออม ไม่คิดว่าการออมเป็นเรื่องที่ได้ยากลำบาก ด้านการทาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้และไม่ใช้บัตรเครดิตใกล้เคียงกัน ชำระและไม่ชำระค่าใช้บัตรเครดิตใกล้เคียงกัน ซื้อสินค้าและไม่ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่ไม่ใช้จ่ายบัตรเครดิตในวันธรรมดา แต่ใช้จ่ายวันหยุดแทน ไม่ใช้บริการ internet mobile banking ไม่โอนเงิน ชำระเงินผ่านเว็บไซต์ ไม่ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยการฝากเพื่อน แต่ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองมีเหตุผลที่ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพราะมีความสะดวกและค่าใช้จ่ายต่ำ ผลการทดสอบสมมุติฐาน ด้านประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออม ในส่วนของเพศ อายุ การศึกษา และ รายได้ ด้านทัศนคติพบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมในเรื่องความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออม และด้านพฤติกรรมการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมในส่วนของบัตรเครดิต การทำธุรกรรม และลักษณะการใช้งาน

Download : E-business behavior affecting savings