Islation of effective bacteria for waste water treatment of starch hydrolyzed factory

โดย นุชจรินทร์ นนทรีย์…[และคนอื่นๆ]

ปี 2555

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการสร้างเอกตราเซลลูลาร์เอนไซม์ จากบ่อบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมคัดแยกแบคทีเรียได้จากตัวอย่างน้ำโรงงานแปรรูปแป้งมันสำปะหลัง 6 ไอโซเลต ได้แก่ 1W1, 1W2, 2W1, 2W2, 3W4 และ 3W5 จากตัวอย่างน้ำโรงงานผลิตสุราแช่พื้นบ้านจำนวน 4 ไอโซเลต ได้แก่ S1, S2, S3 และ S4 ผลการทดสอบความสามารถในการสร้างเอกตราเซลลูลาร์เอนไซม์ พบว่า ไอโซเลต 3W5ให้ผลการสร้างบริเวณใสบนอาหาร Starch Agar, Skim milk Agar และผลการเกิดตะกอนขุ่นขาวบนอาหาร  Tween 80 Agar โดยตรวจวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้สูงสุดเท่ากับ 1.2 เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 4.6 เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส และ 2.1 เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ผลการศึกษาสัณฐานวิทยาของ 3W5 พบว่า ใกล้เคียงแบคทีเรียในสกุล Bacillus ผลการเจริญของแบคทีเรียในอาหาร Nutrient Broth พบว่าไอโซเลต 3W5 มีการเจริญได้ดีในชั่วโมงที่ 6 – 15 ซึ่งเป็นการเจริญในช่วง log phase ผลการศึกษาการบำบัดสารอินทรีย์ในระบบบำบัดจำลอง พบว่าสารอินทรีย์ในน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมในชุดควบคุมลดลงเล็กน้อย ส่วนในชุดทดลองที่มีการเติมแบคทีเรีย พบว่า ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (BOD) และปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ออกซิเดชันสารอินทรีย์ (COD) มีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลการตรวจวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพของน้ำระหว่างการบำบัด พบว่า ปริมาณออกซิเจนละลายตรวจวัดได้ 6.43 มิลลิกรัมต่อลิตร อุณหภูมิอยู่ในช่วง 29.0 – 32.9 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง 7.3 ค่าการนำไฟฟ้า 5.88 ไมโครซีเมนต์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

Download : Islation of effective bacteria for waste water treatment of starch hydrolyzed factory